26 ต.ค. เวลา 00:33 • ข่าวรอบโลก

สิทธิมนุษยชน เป็น พฤติกรรมที่เป็นข้อเท็จจริงที่ซึมซับอยู่ในจิตสํานึกและพร้อมแสดงออกมาในการปฏิบัติ

สิทธิมนุษยชนในอิสลามนั้น เป็น พฤติกรรมที่เป็นข้อเท็จจริงที่ซึมซับอยู่ในจิตสํานึกและพร้อมแสดงออกมาในการปฏิบัติซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการน้อมรับคําบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮ์) โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยอํานาจ กฎหมายหรือข้อตกลงทางสังคมบังคับใช้
สิทธิมนุษยชนได้กําเนิดเป็นทางการครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (หลังจากการเผยแผ่ศาสนาอิสลามนานถึง 7 ศตวรรษ) อันสืบเนื่องจากการปฏิรูปชนชั้นในยุโรป ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการในสหรัฐอเมริกา ในศตวรรษที่ 18 เพื่อเป็นการป้องกันการเหยียดผิวการตรวจสอบ
1 ในเหตุการณ์ความรุนเเรงท่ามกลางการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน
การใช้อํานาจรัฐและการป้องกันความอยุติธรรมในสังคม จนได้มีการยกย่องว่า ศตวรรษที่ 18 คือ ศตวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนองค์กรสิทธิมนุษยชนได้ก่อตั้งครั้งแรกโดยสหประชาชาติในปี ค.ศ.1945 และในปี ค.ศ.1948
ได้มีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หลังจากประชาคมโลกตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่สมัชชาสหประชาชาติได้ให้การรับรองและประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1948 ซึ่งถือเป็นวันสิทธิมนุษยชนสากลของทุกปี ประกอบด้วยข้อความ 30 ข้อ
อิสลามได้วางสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิสากลให้แก่มนุษยชาติ สิทธิมนุษยชนเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่อัลลออิสลามได้วางสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิสากลให้แก่มนุษยชาติ สิทธิมนุษยชนเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้รับรอบไว้ให้แก่มนุษย์ สิทธิ์นั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสร้างและให้เกียรติมนุษย์ ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ว่า “และโดยแน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม…” (อัล-กุรอาน 17/70)
สิทธิต่างๆ ที่อิสลามให้การรับรองประกอบด้วยสิทธิในการดำรงชีวิต สิทธิในการได้รับความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความปลอดภัย ความผาสุก เสรีภาพ และรวมถึงการเคารพต่อเกียรติและชื่อเสียงของสตรีเป็นสิ่งสำคัญ
อิสลามได้เน้นย้ำว่ามนุษยชาติก่อกำเนิดมาจากอาดัมและฮาวา ดังนั้น เรื่องเชื้อชาติ สีผิว เผ่าพันธุ์ จึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ใดมีสิทธิพิเศษหรือสิทธิเหนือผู้อื่น และด้วยเหตุผลนี้เอง อิมามอะลี(อ.) ได้กล่าวไว้ว่า “จงรู้ไว้ว่าคนเรามีสองประเภท คือถ้าพวกเขาไม่ได้เป็นพี่น้องร่วมศาสนากับท่าน เขาก็เป็นเพื่อนมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกันกับท่าน”
คำสอนของอิสลามเพียบพร้อมไปด้วยตัวอย่างของสิทธิมนุษยชนมากมาย ต่อไปนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นจากเรื่องราวของสิทธิมนุษยชน
1. การเคารพต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวว่า “ชีวิตและทรัพย์สินของพวกท่านเป็นสิ่งต้องห้าม (จากการละเมิดประทุษร้าย) ซึ่งกันและกัน ไปจนกระทั่งพวกท่านได้พบกับพระผู้อภิบาลของพวกท่านในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ”
2. เสรีภาพในการแสดงออก
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการคิดและแสดงออก แต่เสรีภาพนั้นจะต้องไม่ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสียหายและสร้างความเจ็บปวดให้แก่เพื่อนร่วมสังคม เพราะฉะนั้นเสรีภาพในการแสดงออกจึงไม่ใช่สำหรับผู้ที่ใช้ภาษาก้าวร้าวและหยาบคาย เพราะอิสลามได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องเกียรติยศและชื่อเสียงของผู้อื่น
3. เสรีภาพส่วนบุคคลบุคคล
อหนึ่งจะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกระทั่งศาลทางกฎหมายได้พิสูจน์แล้วว่าเขามีความผิด และคำพูดและการกระทำของบุคคลหนึ่งจะถือว่าเป็นความจริงอยู่จนกระทั่งได้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นอื่น จะไม่มีบุคคลหรือกลุ่มใดถูกลงโทษสำหรับการประกอบอาชญากรรมที่บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำ “และไม่มีผู้แบกภาระคนใดที่จะแบกภาระของผู้อื่นได้ และถ้าผู้ที่แบกภาระหนักอยู่แล้วขอร้อง (ผู้อื่น) ให้ช่วยแบกมัน ก็จะไม่มีสิ่งใดถูกแบกออกจากเขา ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นญาติสนิทก็ตาม” (อัล-กุรอาน 35/18)
4. สิทธิทางการเมือง
อัล-กุรอานสอนผู้ศรัทธาไม่ให้นิ่งเฉยต่อความอยุติธรรม การทุจริต ต่อผู้กระทำความชั่ว และต่อผู้กดขี่ อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า “และพวกท่านอย่าเห็น ชอบไปกับธรรมดาผู้อธรรม ไฟนรกจะสัมผัสพวกท่านได้” (อัล-กุรอาน 11/113)
ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่ให้ความช่วยเหลือต่อผู้กดขี่ในการกดขี่ของเขา ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพเขาจะถูกเขียนไว้บนหน้าผากของเขาว่า หมดหวังจากความเมตตาของอัลลอฮฺ”
5. เสรีภาพทางศาสนา
แนวคิดทางศาสนา ลัทธิ ปรัชญา ต้องไม่ถูกยัดเยียดให้แก่ผู้ใดโดยที่เขาไม่เต็มใจ ดังโองการจากอัล-กุรอานที่โด่งดังบทนี้ “ไม่มีการบังคับในศาสนา แน่นอน ความถูกต้องนั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด…” (อัล-กุรอาน 2/256)
สาวกผู้ปฏิบัติตามศาสนาและนิกายทั้งหมดมีสิทธิในการประกอบศาสนกิจของพวกเขาในบรรยากาศที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวถึงชาวเมืองผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิมในรัฐของมุสลิมว่า “ผู้ที่สังหารบุคคลหนึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้จะไม่ได้กลิ่นอายของสวรรค์”
6. สิทธิในการได้รับมาตรฐานในการครองชีพ
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค คนจนมีสิทธิในการได้รับการให้เครื่องยังชีพจากคนรวย “และในทรัพย์สมบัติของพวกเขานั้นได้ถูกรับรองสิทธิสำหรับผู้ขาดแคลนและขัดสน” (51/19)
สำหรับประเทศประชาธิปไตยอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกันโดยไม่คำนึงถึงระดับชนชั้นทางสังคม ไม่มีฐานันดรใดในอิสลามที่จะไม่ถูกลงโทษจากการกระทำผิดของเขา ไม่มีใครถูกยกเว้นภายใต้กฎหมาย มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน “…และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละคือผู้ปฏิเสธการศรัทธา”
รายงานสถานการณ์ทางด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกอิสลามเเละต่างประเทศ
ส่วนแรก เป็นคําปรารภที่กล่าวถึงหลักการสิทธิมนุษยชน ที่ว่ามนุษย์มีสิทธิในตนเอง มีศักดิ์ศรีมีความเสมอภาค ดังนั้นจึงห้ามเลือกปฏิบัติและควรปฏิบัติต่อกันเสมือนเป็นพี่น้อง สิทธิมนุษยชนนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุกประเทศที่จะสร้างหลักประกันแก่ทุกชีวิตด้วยการ เคารพหลักสิทธิเสรีภาพที่พึงปรากฏในปฏิญญาน
เพื่อให้สิทธิมนุษยชนเป็นมาตรฐานร่วมกันสําหรับการปฏิบัติของผู้คนในสังคมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ อันเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม แลสันติภาพในโลก
ส่วนที่สอง กล่าวถึง สิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and Political Rights)ประกอบด้วย สิทธิในชีวิต เสรีภาพและความมั่นคง สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก เสรีภาพสื่อมวลชน ในการชุมนุมการสมาคมรวมกลุ่ม และสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเขาถึงบริการสาธารณะ
ส่วนที่สาม กล่าวถึง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (Economic Social and Cultural Rights) สิทธิดังกล่าวได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรของรัฐและได้รับผลทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่จําเป็นต่อการพัฒนาตนเอง สิทธิในการศึกษา สิทธิในด้านแรงงาน สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ
สิทธิในสวัสดิการสังคม การคุ้มครองแม่และเด็ก สิทธิในการได้รับความคุมครองทางวัฒนธรรม ศิลป ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
ส่วนที่สี่ กล่าวถึง หน้าที่ของบุคคล สังคมและรัฐโดยที่จะต้องดําเนินการสร้างหลักประกันให้มีการคุ้มครองปรากฏในปฏิญญาน ให้ได้รับการปฏิบัติอย้างจริงจัง ห้ามรัฐละเมิดสิทธิมนุษยชนและจํากัดสิทธิของบุคคล มิให้ใช้สิทธิมนุษยชนละเมิดสิทธิของผู้อื่น สังคมและโลก
จากเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น
หลักประกันสำคัญสำหรับสิทธิมนุษยชนนั่น คือ ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ทรัพย์สิน เเละการรับรองจากรัฐในด้าน การศึกษา การรักษาโรค
โฆษณา