26 ต.ค. เวลา 11:06 • ข่าว

องุ่นไชน์มัสแคท สรุปกินได้ไหม?

หลังจากมีข่าวพบสารตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท ทำให้หลายคนกลัวถึงอันตรายจากสารดังกล่าว และเกิดความกังวลในการบริโภคองุ่น
องุ่นไชน์มัสแคท (Shine muscat) มีขนาดใหญ่กว่าองุ่นทั่วไป และมีรูปร่างเป็นวงรีถึงขอบขนาน เติบโตเป็นช่อขนาดกลางแน่น ผิวตึง เรียบเนียน และมันเงา มีสีเขียวสดใส ประโยชน์ขององุ่นไซมัสคัสมีมากมาย เป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร และมีวิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และส่งเสริมการผลิตคอลลาเจนภายในผิวหนัง(เขาว่ามาแบบนี้)
แต่ในกระบวนการผลิต อาจมีการใช้สารเคมีบางอย่าง จนทำให้เกิดการปนเปื้อนขึ้น
หนึ่งในสารที่ว่าก็คือ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ซึ่งเป็นสารเคมีฆ่าแมลงในกลุ่ม
กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate compound) ซึ่งเป็นประเด็นมานานในเรื่องของความอันตรายต่อระบบประสาท โดยสารดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส (acetylcholinesterase) ในระบบประสาท
ทำให้ระบบประสาทถูกกระตุ้นมากเกินไป
ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย และหากได้รับในปริมาณที่สูงมาก เช่น จากการรั่วไหลหรืออุบัติเหตุ จะทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน ผู้ที่ได้รับสารพิษเข้าไปจะกลายเป็นอัมพาต เนื่องจากระบบประสาทหยุดทำงาน รวมไปถึงระบบการหายใจก็จะหยุดการทำงานเช่นกัน และอาจถึงแก่ชีวิต
ผลกระทบของยาฆ่าแมลงต่อสัตว์และคนได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี 1970 โดยมีการศึกษามากกว่า 2,000 ครั้ง และรายงานที่ตีพิมพ์ซึ่งประเมินผลกระทบของสารออกฤทธิ์ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์โดยเฉพาะในเด็ก
จากการศึกษาพบว่ายากำจัดแมลงศัตรูพืชคลอร์ไพริฟอสที่ใช้ในแปลงผักและผลไม้หลายหลากชนิดส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในระดับต่างๆ เช่น เป็นพิษต่อนกและแมลงรวมถึงผึ้งในระดับสูง เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำโดยเฉพาะกับปลาในระดับสูง คลอร์ไพริฟอสถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์ในระดับปานกลางโดยองค์การอนามัยโลกตามความเป็นพิษเฉียบพลันของมัน
1
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้คลอร์ไพริฟอสเป็นสารประกอบที่มีอันตรายในระดับปานกลางตามความเป็นพิษเฉียบพลันของมัน การได้รับสารชนิดนี้ที่สูงกว่าระดับที่แนะนำนั้น เชื่อมโยงกับผลกระทบทางระบบประสาท, ความผิดปกติของพัฒนาการแบบถาวร และความผิดปกติของภูมิต้านทานผิดปกติ การได้รับสารนี้ในระหว่างตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อพัฒนาการทางประสาทของเด็ก
การศึกษาจำนวนมากในมนุษย์ที่มีการติดตามผลระยะยาว ยืนยันว่าสารคลอร์ไพริฟอสสามารถส่งผ่านจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์ได้ทางสายสะดือ และส่งผลกระทบระยะยาวต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ของทารกและเด็กเล็ก ช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาเป็นช่วงที่สมองของทารกมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว
หากได้รับสารคลอร์ไพริฟอสแม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย สามารถทำให้สมองเสียหาย มีผลต่อเนื่องไปถึงช่วงวัยทารกในขวบปีแรกที่สมองยังคงมีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ ทำให้การเรียนรู้ ความจำ ความคิด ทักษะพื้นฐานและอื่นๆ ของเด็กที่เกิดมาเป็นไปช้ากว่าปกติ และอาจมีผลไปตลอดชีวิต
ส่วนเคสขององุ่นไชน์มัสแคทในไทย นอกจากตัวคลอร์ไพริฟอสแล้ว พบสารพิษตกค้าง 14 ชนิด เกินค่ามาตรฐาน แต่ตัวที่โดดเด่นสุดคือคลอร์ไพริฟอสดังที่กล่าวไป
แล้วแบบนี้องุ่นยังกินได้อยู่มั้ย คำตอบคือได้ครับ
1
ถึงแม้สารที่ว่ามาจะอันตราย แต่สารมารถถูกกำจัดออกได้ โดยแช่ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหล ถูลูกองุ่นไปมาเบาๆ ล้างผ่านน้ำสะอาดไหลซ้ำอีกไม่น้อยกว่า 30 วินาที กรณีล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟู/เบคกิ้งโซดา) ผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนชา ต่อน้ำสะอาด 4 ลิตร แช่ให้ท่วมองุ่น นาน 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด กรณีล้างด้วยน้ำเกลือ ผสมเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ลิตร แช่ให้ท่วมองุ่น 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เปิดเผยว่า อย. ได้ยกระดับการเฝ้าระวังผักผลไม้นำเข้าเชิงรุก โดยหากพบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินเกณฑ์ตามที่กฏหมายกำหนด จะถูกกักไม่สามารถนำเข้าได้และถูกดำเนินคดี และในปีงบประมาณ 2568 นี้ อย. ยังมีแผนร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการตรวจโรงคัดบรรจุผักและผลไม้ทั่วประเทศ และเก็บตัวอย่างผัก ผลไม้ ส่งตรวจวิเคราะห์หาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง จำนวน 1,530 ตัวอย่าง เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าใครอยากกินก็กินได้ครับ แต่ต้องทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ส่วนหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กเล็ก และกลุ่มเปราะบางต่างๆ แนะนำให้หลีกเลี่ยงไปก่อน และถ้าใครมีอาการที่ต้องสงสัยว่าเกิดจากการรับประทานสารพิษตกค้างจากองุ่นดังกล่าว ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลครับ
1
อ้างอิง
โฆษณา