27 ต.ค. 2024 เวลา 10:49 • ธุรกิจ

เส้นทาง เจ้าพ่ออสังหาฯ “เสี่ยเจริญ” จากซื้อตึกเอ็มไพร์ ปี 40 สู่อาณาจักร Frasers

ถ้าพูดถึงชื่อ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ธุรกิจที่คนไทยคุ้นเคยคงจะเป็น ไทยเบฟเวอเรจ เจ้าของ เบียร์ช้าง
และอีกมุมที่หลายคนจะนึกถึงถัดมา น่าจะเป็นภาพการเป็นเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ เบอร์ต้น ๆ ของไทย
3
แล้วเส้นทางสู่การเป็นเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ในไทย ของเสี่ยเจริญ เริ่มมาอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ย้อนกลับไปในปี 2518 เจ้าสัวเจริญ เริ่มลงทุนในที่ดินผืนสำคัญ ในจังหวัดระยอง
6
โดยเวลาต่อมา หลังจากที่ธุรกิจโรงกลั่นสุรา ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ทำให้เสี่ยเจริญมีกระแสเงินสดมากขึ้น เขาจึงมุ่งเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มตัว
เริ่มด้วยการเริ่มซื้อห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ตรงแถวประตูน้ำ จากตระกูลบุญนาค เมื่อปี 2532
แล้วนำมารีโนเวตเป็น ห้างขายสินค้าไอทีครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย
ต่อมาในปี 2534 บริษัทในเครือของเสี่ยเจริญ ได้รับสิทธิ์ในการบริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่รัฐบาลเพิ่งสร้างแล้วเสร็จในปีนั้นพอดี
3
โดยศูนย์การประชุมดังกล่าว ถูกบริหารโดยบริษัทในเครือ TCC Group นั่นคือ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด
ต่อมาในขณะนั้น ประเทศไทยกำลังกลายมาเป็นจุดมุ่งหมายของเหล่านักท่องเที่ยว
เสี่ยเจริญเลยคว้าโอกาสเข้าไปลงทุนในธุรกิจโรงแรม
1
ด้วยการซื้อโรงแรมแม่ปิง เชียงใหม่ เข้ามาเป็นโรงแรมแห่งแรกในเครือ TCC Group ในปี 2534
ตามมาด้วยโรงแรมในเครืออิมพีเรียล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมดังอันดับต้น ๆ ของไทยในตอนนั้น
ทั้งหมด 7 แห่ง จากคุณอากร ฮุนตระกูล ในปี 2537
2
มาถึงตรงนี้ เราคงคิดว่าเสี่ยเจริญน่าจะต้องมีเงินสดเยอะมาก ถึงสามารถเข้าซื้อกิจการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ได้มากขนาดนี้
1
แล้วเสี่ยเจริญเอาเงินมาจากไหน ?
เงินทุนที่ใช้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ของเสี่ยเจริญนั้น มาจากกำไรของธุรกิจโรงกลั่นเหล้าเป็นหลัก
1
ส่วนหนึ่งเพราะ ระบบการค้าสุราในตอนนั้น ร้านค้าจะต้องวางเงินสดล่วงหน้า 1 เดือนให้กับเอเจนต์
ในการสั่งสินค้า
และธุรกิจค้าสุรา เป็นธุรกิจที่ได้มาร์จินหรืออัตรากำไรที่ดี สามารถผลิตกระแสเงินสดเข้ามาเป็นจำนวนมาก
เมื่อสามารถสะสมเงินทุนได้มากพอ
ทำให้เสี่ยเจริญสามารถซื้อกิจการต่อได้ แม้จะเป็นปีที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งก็ตาม
1
โดยในปี 2540 เสี่ยเจริญก็ซื้อตึกเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ในย่านสาทร ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครในตอนนั้น ต่อจากกลุ่มทุนฮ่องกง
1
พร้อมกับออกเงินสร้างสะพาน เชื่อมบริเวณแยกสาทร-นราธิวาส ใกล้ BTS ช่องนนทรีปัจจุบัน ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของย่านนั้น
1
ตั้งแต่ตอนนั้น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็ได้กลายมาเป็นเครื่องจักรทำเงิน
อีกขาหนึ่ง ต่อจากธุรกิจโรงกลั่นสุราและเบียร์ช้าง ของเสี่ยเจริญ
2
พอเป็นแบบนี้ ในปี 2546 เสี่ยเจริญได้ตัดสินใจ ยกระดับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
โดยการร่วมทุนกับกลุ่ม CapitaLand บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จากสิงคโปร์
เพื่อพัฒนาโครงการที่พักอาศัยใจกลางเมือง
และเดินหน้า เข้าซื้อกิจการบริษัทอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง
- ปี 2550 เข้าซื้อกิจการ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ หรือ UV บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของเมืองไทย
1
ซึ่งที่ผ่านมา UV ก็ได้พัฒนาโครงการดัง
อย่างเช่น อาคารสำนักงาน Park Ventures ย่านเพลินจิต และเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมแบรนด์ Grand Unity
- ปี 2555 เสี่ยเจริญก็ได้ใช้ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ เข้าไปซื้อ บมจ.แผ่นดินทอง พร้อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเมนท์ หรือ Goldenland ผู้พัฒนาโครงการอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ อย่างเช่น ตึกสาทรสแควร์
1
และในปีเดียวกันนั้นเอง กลุ่มบริษัทของเสี่ยเจริญ ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท Fraser and Neave หรือ F&N ซึ่งเป็นบริษัทของสิงคโปร์
1
โดยที่ F&N ได้ทำธุรกิจหลายอย่างมาก ตั้งแต่
- ธุรกิจเครื่องดื่ม โดยเป็นเจ้าของสิทธิ์การขายสินค้าของ Nestlé ในภูมิภาคอาเซียน
อย่าง นมตราหมี นมคาร์เนชัน
- ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
3
ซึ่งการซื้อกิจการในรอบนี้ เสี่ยเจริญก็ได้ร่วมประมูลผ่านกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ และบริษัท TCC Assets
จนสามารถคว้า 2 ธุรกิจหลักจาก F&N ด้วยมูลค่าเงินทุนกว่า 336,000 ล้านบาท
1
จุดนี้นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
เพราะเสี่ยเจริญได้รีแบรนด์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเครือ F&N
และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Frasers Property Group
หลังจากนั้นไม่นาน เสี่ยเจริญก็ได้ปั้น Frasers Property Thailand ขึ้นมา
โดยให้อยู่ภายใต้ Frasers Property Group อีกทีหนึ่ง
โดย Frasers Property Thailand ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร
ตั้งแต่อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า
1
ซึ่ง Frasers Property Thailand ก็ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยตัวย่อ FPT
ปัจจุบัน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ในเครือของเสี่ยเจริญ
มีทั้งหมด 3 บริษัทใหญ่ ๆ นั่นคือ
1
- Frasers Property Thailand หรือ FPT เจ้าของโครงการชื่อดัง
อย่างสามย่านมิตรทาวน์, สีลมเอจ, โรงแรม ดับเบิลยู กรุงเทพ และ FYI Center
1
นอกจากจะเป็นเจ้าของโครงการขนาดใหญ่ใจกลางเมืองแล้ว
ก็ยังมีธุรกิจหลักอีกขาหนึ่ง นั่นคือ เป็นเจ้าของโรงงาน และคลังสินค้าให้เช่า
ในพื้นที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ 11 จังหวัด และต่างประเทศคือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย
และยังมีโครงการหมู่บ้านจัดสรรกว่า 75 โครงการใน 13 จังหวัด ทั่วประเทศ
- Asset World Corporation หรือ AWC
เป็นบริษัทที่รวมเอาอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน
และโรงแรมต่าง ๆ ที่เสี่ยเจริญเคยซื้อ มาอยู่ภายใต้บริษัทเดียว
1
ซึ่งโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ Asset World ก็อย่างเช่น
ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า, ศูนย์การค้าเกทเวย์, ตึกเอ็มไพร์ สาทร, เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์, โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพ
โดยโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ปล่อยให้เช่าเป็นหลัก
- Univentures หรือ UV ทำธุรกิจสร้างคอนโดมิเนียม ภายใต้แบรนด์ Grand Unity
ซึ่งนอกจากทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แล้ว UV ก็ยังทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานด้วย
1
นอกจาก 3 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
เสี่ยเจริญก็ยังมีบริษัท TCC Assets ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น
2
ซึ่ง TCC Assets เป็นอีกหนึ่งบริษัท ที่ผลักดันโครงการใหญ่ ๆ บนถนนพระราม 4 เช่น โครงการ The PARQ
2
ไปจนถึงโครงการระดับเมกะโปรเจกต์ของประเทศไทยที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อไม่กี่วันนี้
คือโครงการ One Bangkok
1
One Bangkok ก็เป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ มูลค่า 120,000 ล้านบาท
ที่มีทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม ที่พักอาศัย และศูนย์การค้า บนพื้นที่รวมกว่า 1.83 ล้านตารางเมตร
1
โดยเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง TCC Assets กับ Frasers property Group
ทั้งหมดนี้ก็พอจะเป็นภาพรวมคร่าว ๆ ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในมือของเสี่ยเจริญ
ซึ่งก็มีทั้งการพัฒนาที่ดินเปล่า ไปจนถึงการเข้าซื้อกิจการของบริษัทอื่น แล้วนำมาพัฒนาธุรกิจต่อ
ทำให้เสี่ยเจริญ ขึ้นชื่อว่าเป็น เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย นั่นเอง..
References
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
โฆษณา