28 ต.ค. เวลา 03:44 • ความคิดเห็น
1. คุณไม่ผิด และพวกเขาก็ไม่ได้ผิด เราเพิ่งได้รับบทเรียนจากฝีปากของเรา ที่ไปตำหนิพี่สาว เรื่องที่นางซื้อขนมขบเคี้ยวใส่บาตรพระในวันเทโวโรหะนะ เราให้เหตุผลว่า ขนมขบเคี้ยวไม่ควรเป็นของที่พระภิกษุจะได้ฉัน ขนมของหวานจะกระตุ้นน้ำลายและความอยากอาหาร ไม่เกื้อหนุนต่อการปฏิบัติของพระภิกษุหรือนักบวช พี่สาวเราให้เหตุผลว่า อย่าเรื่องมาก! ประเดี๋ยวพระสงฆ์ท่านก็จะกระจายทานต่อให้ญาติโยมเอง
เราได้แต่บอกตัวเองในใจว่า ปล่อยเขาเถอะ คนเราย่อมมีความละเอียดของจิตไม่เหมือนกัน เราจะไม่พูดว่า คนเราย่อมมีสติปัญญาไม่เหมือนกัน เพราะนั่นจะเข้าทำนอง "ยกตนข่มท่าน" จริงไหม?
2. การที่กล่าวว่าพระหุงหาอาหารเองไม่ได้ เพราะผิดวินัยสงฆ์นั้นก็ไม่ผิด เพราะวินัยกำกับไว้เช่นนั้นจริง แม้แต่การต้มมาม่าก็ต้องอาบัติ แต่หากใคร่ครวญให้ละเอียดลงไป (ภาวนา) วินัยในเรื่องนี้มีเหตุสืบเนื่องจากที่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า การหุงหาอาหาร จะกระตุ้นกิเลสคือความอยาก ไม่เป็นไปเพื่อการละคลาย จึงทรงเน้นให้ออกบิณฑบาต เพื่อการหล่อเลี้ยงกายสังขาร
การออกบิณฑบาต พระภิกษุจะไม่สามารถเลือกรับหรือไม่รับของใส่บาตรจากญาติโยมได้ ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็จะเกิดการเข้าไปทำการยึดข้องอีก ไม่เป็นไปเพื่อการละคลาย ญาติโยมที่ใส่บาตร ย่อมมีตั้งแต่ขอทานยาจกไปจนถึงอภิมหาเศรษฐี ของสกปรกบูดใกล้เน่า ไปจนถึงเห็ดทรัฟเฟิลจากเศรษฐี ที่เป็นอาหารมื้อสุดท้ายของพุทธองค์ จริงหรือเปล่า?
3. การถอด หรือไม่ถอดรองเท้า ไม่ใช่สาระในการปฏิบัติ แต่มันคือสาระในการให้ความนอบน้อมต่อบุคคลที่อยู่ตรงหน้า รองเท้าคู่แรกของโลกใส่กันแบบหูหนีบ เกิดขึ้นกว่าหมี่นปี นั่นแสดงว่า ในสมัยพุทธองค์ก็มีการสวมรองเท้ากันแล้ว แต่การออกไปจากเรือนของพุทธองค์ ทรงละทุกอย่าง ทรงใช้เพียงผ้าห่อศพในการปกคลุมกายสังขาร เดินเท้าเปล่าธุดงค์ไปทั่ว เพื่อแสวงหาหนทาง หากคุณพบพุทธองค์ อยากจะใส่บาตรให้กับพุทองค์ คุณก็คงพ่ายแพ้ต่อพระบารมี คงต้องยอมใส่บาตรเท้าเปล่าโดยไม่ต้องมีใครมาบอก จริงไหม?
การให้ข้อความจริงต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งดีงาม
ในฐานะพุทธมามกะ คุณได้พยายามศึกษาและปฏิบัติ
แต่คุณลองจินตนาการว่า แม้แต่พุทธองค์
ที่ทรงต้องการปฏิรูปแนวความคิดความเชื่อของผู้คน
ยังต้องทรง ทั้งผจญ และเผชิญกับอะไรบ้าง
แม้แต่มหาบุรุษผู้มากบารมี มันก็ยังไม่ง่ายเลย
ขอโมทนาในความตั้งใจดีนะคะ
3
โฆษณา