28 ต.ค. เวลา 05:06 • ความคิดเห็น
การใส่บาตร โยมไม่ต้องถอดรองเท้าก็ได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม โยมจะยืนสูงกว่าก็ได้ จะถือศาสตรา ถืออาวุธ ผ้าโพกหัว มือกางร่ม พระภิกษุสามารถรับบิณฑบาตได้ทั้งสิ้น
ไม่มีข้อห้าม
แต่...
ถ้าเป็นการฟังธรรม สวมรองเท้า สวมถุงเท้า ถืออาวุธ ผ้าโพกหัว มือกางร่ม นั่งที่สูงกว่า พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้พระภิกษุแสดงธรรมให้
สิ่งเหล่านี้คนทั่วไปไม่เคยทราบเลย
การที่พระภิกษุ เดินบิณฑบาตขออาหารกับผู้ให้อาหาร พระพุทธเจ้าจะไม่ตั้งเงื่อนไขกับผู้ให้ แต่เงื่อนไขจะอยู่ที่ตัวพระภิกษุทั้งหมดเลย คือจะต้องมีความสำรวมในละแวกบ้าน สำรวมวาจา มีสายตามองต่ำ นุ่งห่มเป็นปริมณฑล อย่าเดินแกว่งแขน
แต่เวลาแสดงธรรม เงื่อนไขจะไปอยู่ที่คนฟังธรรม พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ตามข้อความข้างบนเลยครับ
การใส่รองเท้า ผมคิดว่าเป็นการดี ป้องกันเศษแก้วหรือของมีคมทิ่มตำเท้าพระภิกษุ พระภิกษุควรจะใส่ไว้ ดีที่สุดครับ
หลายๆสิ่ง หลายๆอย่าง เราไม่รู้
ทำตามกันมาโดยที่ไม่ศึกษาใคร่ครวญ
เช่น การกรวดน้ำ ไม่ได้ช่วยอะไร สมัยพุทธกาลไม่มี นะครับ
พระภิกษุไม่ควรสะสมอาหาร เก็บไว้กินพรุ่งนี้ แบบนี้ไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นชาวพุทธต้องศึกษาให้ดีนะครับ การใส่บาตรอาหารแห้ง ทำได้ แต่ต้องเป็นอาหารที่ไม่จำเป็นต้องไปประกอบวิธีการทำอาหารอีก เช่น ปลากระป๋อง อาหารแห้งที่กินได้เลย ไม่จำเป็นต้องไปก่อไฟอีก แบบนี้ใส่ได้ครับ แต่ถ้าเป็นข้าวสาร หรือพวกกึ่งสำเร็จรูป แบบนี้ไม่ควรใส่บาตรนะครับ เพราะใส่บาตรไปพระก็ไม่ได้ฉัน เพราะพระหุงหากินเองไม่ได้ จะอ้างว่าเก็บไว้บริจาคทำบุญต่อให้กับผู้อื่น ก็ไม่ควรอ้างแบบนั้นนะครับ
ดังนั้นญาติโยมชาวพุทธทั้งหลาย ต้องศึกษาสิ่งที่ทำได้และทำไม่ได้ หากจะเป็นชาวพุทธที่ดีก็ต้องเรียนรู้ครับ
คำของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรเรียนรู้ที่สุด
ดั่งที่เราจะเห็นในภาพ
ญาติโยมกับพระภิกษุสามารถใส่รองเท้าได้ อาหารที่ใส่บาตรก็จะเป็นข้าวต้มมัด น้ำเปล่า อาหารแห้งที่กินได้ทันที หรืออาหารตามวิถีชาวบ้านในพื้นที่นั้นๆ
เมื่อไม่มีใครถวายจีวร พระภิกษุสงฆ์สามารถเรียนรู้ทำจีวรด้วยตัวเองตามพุทธบัญญัติ มีการสอนการใช้ผ้าย้อมน้ำฝาด
นี่แหละ พระที่เราควรจะกราบ ได้อย่างสนิทใจ
โฆษณา