Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AIA Thailand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
28 ต.ค. 2024 เวลา 12:00 • สุขภาพ
มนุษย์เงินเดือนควรมีอะไร นอกจากประกันสังคม?
เรื่องของเหตุไม่คาดฝัน สามารถเกิดได้กับทุกคนในแบบที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว และ ‘โรคร้าย’ ก็เป็นเหตุหนึ่งที่เราไม่อยากให้เกิด เพราะนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ก็ยังส่งผลต่อสุขภาพการเงินด้วยเช่นกัน!
ถึงแม้ว่ามนุษย์เงินเดือนจะมีสิทธิประกันสังคมที่ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ซึ่งสามารถใช้สิทธิรักษาโรคร้ายแรงตามข้อกำหนดของโรงพยาบาลตามสิทธิผู้ประกันตนได้ แต่หากมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หรือโรคร้ายแรงนั้นอยู่นอกเหนือสิทธิ ก็จะส่งผลอย่างมากต่อค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสวัสดิการประกันสังคมเพียงช่องทางเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป …และเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุทางปัญหาสุขภาพและการเงินดังกล่าว คำแนะนำที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น การมี ‘ประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง’ เพื่อใช้ในการรับมือการสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้การเลือกซื้อประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง ให้คุ้มค่าและเหมาะสมกับมนุษย์เงินเดือน มีหลายจุดที่ควรจะพิจารณา ซึ่งได้แก
✔️ ช่วงอายุการรับประกัน
การพิจารณาจุดแรกที่สำคัญคือช่วงอายุของการรับประกันที่ควรจะต้องสอดคล้องกับอายุของผู้ทำประกัน และสามารถที่จะขยายระยะเวลาความคุ้มครองได้นานที่สุด เพื่อที่จะช่วยให้การคุ้มครองมีประสิทธิภาพ โดยเราไม่ต้องรับความเสี่ยงไว้เอง
✔️ เบี้ยประกันอยู่ในระดับที่รับได้
เรื่องเงินเรื่องทองก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยส่วนใหญ่เบี้ยประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ เราจึงจะเป็นที่จะต้องประเมินความสามารถในการจ่ายเบี้ยระยะยาวของตัวเราด้วย เพราะหากไม่สามารถจ่ายเบี้ยได้ครบไปได้ตลอดอายุกรมธรรม์ จะส่งผลถึงความคุ้มครองและผลประโยชน์ที่เราจะได้รับด้วย
✔️ วงเงินความคุ้มครอง
การเลือกวงเงินคุ้มครองนั้นควรมองหาประกันที่ให้ความคุ้มครองสูง เพื่อให้ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งโรคทั่วไปและโรคร้ายแรง ทำให้เราอุ่นใจได้มากขึ้น
✔️ บริษัทประกันที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง
อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือควรเลือกพิจารณาบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับความไว้วางใจจากผู้เอาประกันภัย มีสถานะทางการเงินที่มั่นคง การทำประกันของเราจะได้ไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงอื่น ๆ ในภายหลัง
การมีประกันสังคมรองรับอยู่ย่อมเป็นเรื่องดี แต่จะให้ดีขึ้นไปอีก มนุษย์เงินเดือนทุกคนควรจะมีการวางแผนการเงินที่ดี ซึ่งจะช่วยให้เราอุ่นใจมากยิ่งขึ้น ประกันสุขภาพ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยวางแผนการเงินในเรื่องสุขภาพให้คุณได้ ประกันสุขภาพ AIA Health Happy ให้คุณ เหมาจ่ายแบบคุ้มๆ
😍 เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุด 25 ล้านบาท ต่อรอบปีกรมธรรม์ (1)(2) แม้ต้องแอดมิตชีวิตก็ยังแฮปปี้ได้
😍 คุ้มกับส่วนลดเบี้ยฯ สูงสุด 15% สำหรับลูกค้า AIA Vitality ที่รักและอยากดูแลสุขภาพให้ดี ทำให้มีเงินเหลือไปเก็บออมได้มากขึ้น
😍 คุ้มได้อีก เบี้ยฯ ที่จ่าย สามารถนำไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ (3)
สนใจ ติดต่อตัวแทนเอไอเอ หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 👉
https://www.aia.co.th/th/our-products/health/aia-health-happy
1. ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกรมธรรม์ เมื่อรวมผลประโยชน์หมวด 1-13 และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (ถ้ามี) ต้องไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดต่อรอบปีกรมธรรม์
2. การรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง จำกัดจำนวนวันการนอนในโรงพยาบาลและการปรึกษาแพทย์ ไม่เกิน 365 วัน และสำหรับหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในต่อครั้ง สำหรับการรักษาพยาบาลต่อเนื่อง ภายใน 30 วัน หลังออกจากการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน จำกัด 2 ครั้ง ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
3. เบี้ยประกันที่จ่ายเฉพาะส่วนที่เข้าเงื่อนไข สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เงื่อนไขเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
หมายเหตุ:
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครองของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่
https://www.blockdit.com/aiathailand
aiathailand
การเงิน
สุขภาพ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย