30 ต.ค. เวลา 01:09 • ประวัติศาสตร์

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตอนที่ ๓: สิ่งอันควรต่อการเคารพบูชาสักการะ และสิ่งอันควรต่อการรำลึกเทิดทูนยกย่อง

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
มีกิจกรรมให้คุณ
ทำได้หลาย ๑๐ อย่าง
มีสาระความรู้และเรื่องสนุก
ที่อัดแน่นเกิน ๑๐๐%
และรอให้คนไทยทั้ง ๗๐ ล้านคน
ได้แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตอนที่ ๓ นี้
จะขอพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก รับทราบ รับรู้ถึง
สิ่งอันควรต่อการเคารพบูชาสักการะ
และสิ่งอันควรต่อการรำลึกเทิดทูนยกย่อง
ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
สมเด็จพระเจ้าองค์ปฐมบรมจักรพรรดิพุทธมหาราชา
สมเด็จพระเจ้าองค์ปฐมบรมจักรพรรดิพุทธมหาราชา
ประดิษฐานอยู่บริเวณสวนป่าด้านทิศเหนือของ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ซึ่งบริเวณดังกล่าวฯ มีการการจัดแสดง
กลางแจ้งแบบถาวร
เกี่ยวกับกองทัพพายัพ ปืนใหญ่เสือภูเขา และการส่งกำลังบำรุงในพื้นที่ป่าเขา
บริเวณใกล้เคียงกับองค์พระฯ มีการจัดแสดงกลางแจ้งแบบถาวร
มหาราช ๑๐ พระองค์
มหาราช ๑๐ พระองค์
ท่านผู้อ่านที่สงสัยว่า รายพระนามของ
มหาราช ๑๐ ทั้งพระองค์ มีพระองค์ใดบ้าง
เรียนเชิญมาเยี่ยมเยือนที่
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ในส่วนของ อาคารภาพปริทัศน์ (โดมเตี้ย)
ฉลองพระองค์ และพระคฑาจอมพล
ฉลองพระองค์ และพระคฑาจอมพล แห่ง
ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙
ดิน ๑๐ สมรภูมิ
ดินสมรภูมิ : ดินที่ผ่านพิธีบวงสรวง
และขุดลงไปจนถึงชั้นดิน
ที่ได้รับการยืนยันจาก
นักธรณีวิทยาหรือนักประวัติศาสตร์
ว่าเป็นผืนดินในยุคที่เกิดมีสงครามหรือ
การสู้รบเพื่อปกบ้านป้องเมือง
ดินเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้
ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
คู่กับ ดวงโคมนิรันดร์ประภา
ดวงโคมที่เป็นเสมือนประหนึ่ง
จิตวิญญาณแห่งบรรบุรุษ
ที่คอยปกปักรักษาคุ้มครอง
ประเทศชาติบ้านเมืองไปจนชั่วนิรันดร์
ดวงโคมนิรันดร์ประภา
โขนเรือหลวงสุโขทัย (ลำที่ ๑)
โขนเรือหลวงสุโขทัย (ลำที่ ๑)
เรือหลวงสุโขทัย ถวายงานรับใช้ชาติและแผ่นดินมายาวนาน
ตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕
และ เรือหลวงสุโขทัยลำดังกล่าวนี้
ได้ปลดระวาง
ไปตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๑๔
ที่มาข้อมูล https://thaiseafarer.com/naval-museum/sukhothai/
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
รำลึกถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท
จวบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
อันเนื่องมาจากขณะที่ท่านได้ประกอบ
กรณียกิจแทนพระองค์
(ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙)
เฮลิคอปเตอร์ที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เสด็จไปนั้น
ได้ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ระดมยิง
เป็นเหตุให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วิภาวดีรังสิต สิ้นพระชนม์
หุ่นขี้ผึ้งที่จำลองขึ้นเพื่อแสดงถึง
ความกล้าหาญของบรรพบุรุษ
ทั้งชายหญิง เพื่อปกป้องมาตุภูมิ
แม้พวกท่านเหล่านั้นจะต้องแลกด้วย
หยาดเหงื่อ แรงกาย หรือ
แม้แต่ชีวิตของท่าน
เพื่อร่วมรักษาบ้านเมืองไว้ให้
พวกเราได้ทันเกิดมาเห็นถึงการดำรงอยู่
ซึ่งความเป็นชาติ จวบจนปัจจุบัน
ขอแสดงความเคารพ และระลึกถึงวีรกรรมของพวกท่าน
ภาพการจำลองเหตุการณ์
ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
ในกรณีพิพาทอินโดจีน
(ความขัดแย้งระหว่าง ไทย - ฝรั่งเศส)
ที่จำลองเหตุการณ์บน เรือหลวงธนบุรี
ซึ่งมี นาวาโท (หลวง) พร้อม วีระพันธ์
เป็นผู้บังคับการเรือ
เหตุการณ์จำลองบนเรือหลวงธนบุรี ขณะเข้าป้องกันการรุกล้ำอธิปไตยจาก กองเรือฝรั่งเศส
เพราะ มิได้มีแค่เพียง รศ.๑๑๒ เท่านั้น
ที่ฝรั่งเศสรุกรานสยาม
ดังที่ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ได้สักไว้ที่พระอุระว่า
**ตราด ๑๑๒**
และทรงนิพนธ์ เพลงดอกประดู่
ไว้ในท่อนที่มีเนื้อร้องว่า
"...พวกเราดูรู้ เจ็บแล้วต้องจำ..."
ด้วยเหตุที่ฝรั่งเศส รุกรานสยาม
เพราะในอีกประมาณ ๔๗ ปีต่อมา
(หลังวิกฤตการณ์ รศ.๑๑๒)
ฝรั่งเศสก็ส่งกองเรือที่นำโดย
เรือลาม็อตปีเก้ รุกล้ำน่านน้ำจนเกิดเป็น
ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
อันมีประจักษ์พยานในเชิงวัตถุ คือ
ป้อมปืนเรือและหอบังคับการของ
เรือหลวงธนบุรี ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็น
อนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี
ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงเรียนนายเรือ
จังหวัดสมุทรปราการ
ที่มาข้อมูล http://www.thainavyland.com/htms-thonburi/
อาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ผ่านการใช้งาน
และเมื่อปลดประจำการ
จึงนำมาตั้งแสดง ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
อาวุธยุทโธปกรณ์ที่จัดแสดงกลางแจ้ง
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้
เป็นเพียงตัวอย่าง เพราะ
ยังมีอีกหลากหลายสิ่งซึ่งเป็น
สิ่งอันควรต่อการเคารพบูชาสักการะ
และสิ่งอันควรต่อการรำลึกเทิดทูนยกย่อง
อาทิ
กำแพงหิน ที่สลักชื่อของ
พลเรือน ตำรวจ ทหาร
ที่สละชีพเพื่อ ความสงบสุขของ
ประเทศชาติบ้านเมือง
โดยกำแพงหินนั้นรายล้อมอยู่โดยรอบ
อาคารโดมสูง ของ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เปิดให้บริการเข้าชมพิพิธภัณฑ์
และนิทรรศการต่างๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน
** ยกเว้น วันจันทร์ และ วันพุธ **
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.
(ระบบ Interactive ต่างๆ จะเริ่มปิดเวลา ๑๕.๐๐ น.)
การเข้าชม "ไม่เสียค่าใช้จ่าย" ใดๆ
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดของ
ถนนพหลโยธิน และ ถนนวิภาวดีรังสิต
สามารถอ่านย้อนหลัง
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตอนที่ ๑
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตอนที่ ๒
ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ : https://www.thainationalmemorial.net/
และ ที่ขาดไม่ได้เลย คือ
ต้องขอกราบขอบพระคุณ
“ลุงโต” หรือ คุณ ชัยมงคล แย้มพงษ์
(ช่างวิจิตรศิลป์ ระดับ ๒)
ตลอดจน คุณ ศุภณัฐ เนตรทัศน์
(เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป)
ซึ่งทั้ง ๒ ท่านเป็นเจ้าหน้าที่ประจำของ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ILHAIR (กระผม, ผู้เขียนเพจนี้)
ได้แวะเวียนไปขอความรู้เชิงประวัติศาสตร์
และรายละเอียดเรื่องราวต่างๆ
ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ อยู่เป็นระยะๆ
ทั้งนี้ “ลุงโต” ก็ได้ช่วย ILHAIR
ในการตรวจความถูกต้องของข้อมูล
เพื่อนำมาเขียน
“อนุสรณ์สถานแห่งชาติ (ตอนที่ ๓)” นี้ด้วย
ขอกราบขอบพระคุณ “ลุงโต” อีกครั้งครับ
โปรดติดตามตอนต่อไปใน
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
เที่ยวฟรี มีกิจกรรมมากมาย (ตอนที่ ๔)
ขอบคุณครับ
โฆษณา