28 ต.ค. 2024 เวลา 10:48 • ความคิดเห็น
1. ถ้าเดิม ให้เงินลูกเป็นรายสัปดาห์อยู่
ก็เปลี่ยนเป็นให้แบบรายเดือน
โดยอธิบายถึงการรู้จักบริหารเงิน
(เช่น ใช้เงินเฉลี่ยต่อวัน หรือใช้เงินเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ได้เท่าไร)
ที่สำคัญ ต้องใจแข็ง ไม่ให้เงินเพิ่ม
หากลูกใช้เงินหมด ก่อนกำหนดที่ตกลงกันไว้
2. คล้ายที่ คุณ Chen Eing กล่าวไว้
คือ ถ้าอยากได้เงินเพิ่ม
ลูกก็ต้อง(ฝึกที่จะ)ทำงานบางอย่าง
~เงินข้อ 1. ควรให้ในระดับพออยู่ได้
ลูกจึงจะเห็นค่าของเงินในข้อ 2.
**แต่งานในข้อ 2.ก็ควรเป็นงานที่
ไม่เบียดบังหน้าที่หลัก ในการเรียนของลูก**
3. เมื่อถึงช่วงเวลาที่ลูกได้เงินพิเศษ
ตามเทศกาลต่างๆ (ถ้ามี)
อาทิ ตรุษจีน, วันเกิด ฯลฯ
ถ้าการออม เป็นเรื่องที่ลูกเข้าใจดีแล้ว
ก็ฝึกให้ลงแรง (หรือ ลงทุน)
**ถ้าเป็นการลงทุน ก็ควรหาอะไรที่ทำให้ลูกเห็นภาพ เข้าใจ จับต้องได้**
เช่น
3.1 ลงแรง : ทำขนมขาย , ซื้อของมาขายต่อ (เป็นกิจกรรมครอบครัวแบบ กลายๆ)
3.2 ฝากพ่อ/ฝากแม่ ไว้กับสหกรณ์
**สหกรณ์ที่ทำงานพ่อแม่ที่เชื่อถือได้จริง**
เพื่อรอรับปันผลสหกรณ์ (แม้จะดูเป็นการออมเงิน แต่มีรายละเอียดที่ต่างออกไป)
และ ฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย และสอนให้รู้จักพลังของดอกเบี้ยทบต้น (ไอน์สไตน์กล่าวไว้ & เห็นได้ถ้าฝากสหกรณ์นานเพียงพอ เช่น เกิน 5 ปี)
3.3 ##ถ้าองค์ความรู้พ่อแม่เพียงพอที่จะอธิบายให้ลูกเข้าใจได้จริง##
ลงทุนในกองทุนพันธบัตร หรือ ตราสารหนี้ภาครัฐ(ตั๋วเงินคลัง) เพื่อเปิดโลกทัศน์การลงทุน
**คหสต.ผม** อย่านำเงินลูกไปลงในกองทุนระยะยาว หรือ หุ้นสามัญ หรือ หุ้นกู้ ซึ่งถือได้ว่ามีความเสี่ยงสูง
ระลึกไว้ว่า... เงินลูก DOI ไม่ได้
ถ้า DOI เมื่อไร เราคงต้องควักเนื้อ
ทั้งนี้ กองทุนพันธบัตร หรือ ตราสารหนี้ภาครัฐ ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง
##ถ้าองค์ความรู้พ่อแม่เพียงพอที่จะอธิบายให้ลูกเข้าใจได้จริง##
โฆษณา