Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungsri Asset Management
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
28 ต.ค. เวลา 11:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปภาวะตลาดประจำสัปดาห์ที่ 21 - 25 ต.ค. 2567
ภาพรวม
●
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดผสมผสาน ถูกกดดันจากผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดและ Bond Yield พุ่งแตะ 4.25% แต่ดัชนี NASDAQ ฟื้นตัวจากหุ้น Tesla
●
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง จากตัวเลขการจ้างงานและดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ดีกว่าคาด
●
JPMorgan คาดหากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งและพรรค Republican ครองสองสภา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (Bond Yield) อาจพุ่ง 40 Basis Points (bps)
●
ราคาน้ำมันและทองคำปรับขึ้น จากความตึงเครียดตะวันออกกลาง
●
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลง จากเงินเยนอ่อนค่า และ PMI Composite หดตัวครั้งแรก
●
ตลาดหุ้นจีนขาดแรงหนุน แม้ PBOC ลดดอกเบี้ยและมีมาตรการกระตุ้น ขณะที่กำไรภาคอุตสาหกรรมลด 27% YoY
สถานการณ์ตลาด
●
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดผสมผสาน โดยดัชนี Dow Jones -2.7%, S&P 500 -1.0% และ NASDAQ +0.2%
●
ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ
o ผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดของบริษัทชั้นนำ เช่น GE Aerospace, 3M, Honeywell, Boeing, McDonald’s
o การปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (US Bond Yield) อายุ 10 ปี สู่ระดับ 4.25% สูงสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง และผลสำรวจชี้ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวโน้มชนะการเลือกตั้ง
●
ช่วงท้ายสัปดาห์ ดัชนี NASDAQ ฟื้นตัวกลับมาทำจุดสูงสุด จากแรงหนุนหุ้น Tesla ปรับขึ้น 22% หลังรายงานกำไรสุทธิไตรมาสล่าสุด ที่ 0.72 ดอลลาร์ สูงกว่าคาดที่ 0.60 ดอลลาร์ โดยคาดการณ์การเติบโตของยอดส่งมอบรถยนต์ ที่ 30% ในปีหน้า
●
ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ
o จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ลดลง 15,000 ราย เหลือ 227,000 ราย ต่ำกว่าคาดที่ 242,000 ราย
o ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เพิ่มขึ้น 0.5 จุด สู่ระดับ 47.8 สูงกว่าคาดที่ 47.5 ขณะที่ PMI ภาคบริการ เพิ่มขึ้น 0.1 จุด สู่ระดับ 55.3 ดีกว่าคาดที่จะลดลง 0.2 จุด
o ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจของ Citigroup แสดงการฟื้นตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.
●
ราคาน้ำมัน WTI +4.5% และน้ำมัน Brent +4.1% ขณะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นจากความกังวลสถานการณ์ตะวันออกกลาง โดยช่วงท้ายสัปดาห์ อิสราเอลเข้าถล่มอิหร่านทางอากาศ แต่ไม่ได้โจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำมันของอิหร่าน หรือ โรงงานนิวเคลียร์
●
ปัจจัยที่กดดัน US Bond Yield ให้ดีดตัวขึ้นส่วนหนึ่ง คือการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พ.ย. โดยผลสำรวจล่าสุดชี้ว่า Trump มีคะแนนนำ Harris ซึ่งนโยบายด้านภาษีและการใช้จ่ายการคลังของ Trump จะกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อและอาจทำให้ Fed ไม่ต้องรีบลดดอกเบี้ย
●
คาดการณ์ของ JPMorgan Chase ด้านผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ต่อ US Bond Yield
o กรณีที่ไม่ส่งผลกระทบ คือ Harris ชนะ และแต่ละพรรคครองเสียงข้างมาก พรรคละสภา
o กรณีส่งผลให้ US Bond Yield อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น
∙ Trump ชนะ และแต่ละพรรคครองเสียงข้างมาก พรรคละสภา: คาดเพิ่มขึ้น 10 Basis Points (bps)
∙ Harris ชนะ และพรรค Democrat ครองทั้ง 2 สภา: คาดเพิ่มขึ้น 20 bps
∙ Trump ชนะ และพรรค Republican ครองทั้ง 2 สภา: คาดเพิ่มขึ้น 40 bps สู่ระดับ 4.6%
●
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
o ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว โดยเงินเยนอ่อนค่าสู่ระดับ 153 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งถูกกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่า และความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่ผลการเลือกตั้งทั่วไป ทางรัฐบาลญี่ปุ่นเสียเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี
o PMI Composite ลดลงสู่ระดับ 49.4 จาก 52.0 ในเดือน ก.ย. และเป็นการหดตัวครั้งแรกในภาคเอกชน เนื่องจากภาคการผลิตถดถอยและภาคบริการหดตัวครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)
●
ตลาดหุ้นจีน
o แกว่งตัวในกรอบแคบที่ระดับ +/- 1%
o ตัวเลขกำไรอุตสาหกรรม (Industrial Profit) ก.ย. ลดลง 27% YoY หากดูช่วง 9 เดือนแรก ลดลง 3.5% YoY เทียบกับ 8 เดือนแรกที่ขยายตัว 0.5%
o แม้จีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม แต่ยังไม่มีปัจจัยบวกขนาดใหญ่หนุนตลาดหุ้น ทั้งนี้ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR 1 ปี และ 5 ปี ลง 25 bps อยู่ที่ 3.1% และ 3.6% ตามลำดับ และยังคงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
นโยบายการลงทุนและคำเตือน
●
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
●
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
●
ผู้ลงทุนสามารถขอข้อมูลหนังสือชี้ชวนได้ที่สำนักงานของบริษัทจัดการ หรือจาก
www.krungsriasset.com
หรือตัวแทนสนับสนุนการขาย หรือเจ้าหน้าที่ขายหน่วยลงทุน
ติดตามกองทุนกรุงศรี อัปเดตข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ได้ที่
Website -
https://www.krungsriasset.com
Facebook -
https://www.facebook.com/krungsriasset.official
LINE -
https://lin.ee/e9u3LEL
YouTube -
https://www.youtube.com/c/KrungsriAssetManagement
Blockdit -
https://www.blockdit.com/krungsriasset.official
TikTok -
https://www.tiktok.com/@krungsriasset
X -
https://twitter.com/krungsriasset
#KrungsriAsset #กองทุนกรุงศรี #Weeklymarketview #สรุปภาวะตลาดรายสัปดาห์
การลงทุน
เศรษฐกิจ
ตลาดหุ้น
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย