28 ต.ค. เวลา 13:05 • ความงาม

รวมสาระเกี่ยวกับการแก้ฟิลเลอร์บวม หลังจากฉีดเติมเต็มใบหน้า

หากว่าเอ่ยถึงการฉีดฟิลเลอร์ ทุกคนคงรู้ดีอยู่แล้วว่านี่คือตัวเลือกการปรับรูปหน้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับคนที่ไม่ต้องการการผ่าตัด ไม่ต้องการเจ็บตัวและไม่มีเวลา ซึ่งการฉีดฟิลเลอร์เป็นการฉีดสารเติมเต็มในส่วนที่ต้องการหรือส่วนที่คนไข้ไม่มั่นใจ ทั้งหน้าผาก ขมับและคาง จัดได้ว่าเป็นการปรับรูปหน้าให้งดงาม ดูดี บุคลิกโดดเด่นแบบไม่ต้องศัลยกรรม โดยฟิลเลอร์จะเติมเต็มร่องรอยลึกในชั้นผิวให้กลับมาเต่งตึงได้อย่างง่ายดาย
ปัญหาฟิลเลอร์บวมเป็นก้อน คือปัญหาของการฉีดฟิลเลอร์ที่หลายๆ คนเคยได้ยินอย่างแน่นอน เพราะบางคลินิกนำฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐานมาฉีด การฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดผลข้างเคียงและข้อผิดพลาด รวมถึงฉีดแล้วฟิลเลอร์เป็นก้อน เกิดจากอะไรบ้าง จะแก้ฟิลเลอร์บวมอย่างไร มาดูพร้อมกัน
สาเหตุที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม
ปัญหาของการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนหรือบวม ส่วนมากแล้วเกิดจากปริมาณของฟิลเลอร์ที่ใช้ เทคนิคในการฉีด ลักษณะกล้ามเนื้อในบริเวณที่ฉีด ยกตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อมีความแข็งมากเกิน เมื่อฉีดฟิลเลอร์เข้าไปอยู่ในจุดนั้นอาจทำให้เกิดการดันฟิลเลอร์ขึ้นมาเป็นก้อนได้ โดยแพทย์รวบรวมสาเหตุของการฉีดฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนและบวมได้ดังต่อไปนี้
1.เลือกชนิดของฟิลเลอร์ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ฉีด
ฟิลเลอร์ที่ขนาดโมเลกุลหนาแน่นสูง จะต้องฉีดในผิวชั้นที่ลึก หากว่านำมาฉีดบริเวณผิวชั้นตื้นจะทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนและบวมได้ เช่นฟิลเลอร์ที่มีความแข็งหรือเหนียว หากว่านำมาฉีดบริเวณใต้ตา ฟิลเลอร์ก็อาจจะจับตัวเป็นก้อนแข็งใต้ตาได้นั่นเอง
2.การฉีดไม่ตรงกับตำแหน่งที่มีปัญหา
การฉีดฟิลเลอร์ไม่ตรงกับตำแหน่งที่มีปัญหา ยกตัวอย่างเช่นการฉีดริ้วรอยลึกเกินไป หรือฉีดเติมร่องลึกแต่ฉีดในจุดที่ตื้นมากเกินไป รวมไปถึงการใช้ปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะสมหรือเกินความจำเป็นในจุดที่ต้องการฉีด ส่งผลให้ฟิลเลอร์เป็นก้อน หรือเคลื่อนตัวไปผิดตำแหน่งได้
3.แพทย์ผู้ทำการฉีดไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์
ปกติแล้วแพทย์ที่ฉีดฟิลเลอร์จะต้องมีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับโครงสร้างหรืออวัยวะบนใบหน้า และมีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์แต่ละชนิดที่นำมาใช้ในการฉีด นอกจากนี้ยังจะต้องมีสายตาที่ชำนาญมองออกว่าต้องปรับรูปหน้าคนไข้แบบใดให้ได้ผลลัพธ์สวยงามที่สุด ซึ่งแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ ขาดประสบการณ์จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้ ต้องทำการแก้ฟิลเลอร์บวมในภายหลัง
4.ใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่มีมาตรฐาน
การใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานองค์การอาหารและยา อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากว่าฟิลเลอร์ปลอมไม่สามารถสลายได้ อีกทั้งยังมีราคาถูกและไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการจับตัวเป็นก้อน ฟิลเลอร์ไหลย้อยไม่เป็นทรง ฟิลเลอร์เน่า ซึ่งคนไข้ควรพิจารณาฟิลเลอร์อย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจฉีด เพราะหากฉีดไปแล้วจะไม่มีตัวยาใดที่ฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ ต้องผ่าตัดเพื่อขูดออกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การฉีดฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน
สำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วฟิลเลอร์เป็นก้อนขนาดไม่ใหญ่ ควรรอดูผลหลังจากฉีดประมาณ 3 วัน เพราะบางครั้งอาจเป็นเพียงผลข้างเคียงเล็กๆ น้อยๆ หลังจากฉีดฟิลเลอร์ หรืออาจเป็นอาการบวมตามปกติ สามารถหายบวมเองได้ และต้องใช้เวลาประมาณ 1 -2 สัปดาห์ ฟิลเลอร์จะค่อยๆ ผสานตัวรวมกับเนื้อเยื่อโดยที่ไม่ต้องกดหรือนวดแต่อย่างใด
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม สามารถแก้ฟิลเลอร์บวมได้หรือไม่
1.การฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวมจากฟิลเลอร์อักเสบและติดเชื้อ
หากฟิลเลอร์อักเสบหรือติดเชื้อ คนไข้จะมีอาการบวมและปวดมากกว่าปกติ บางครั้งอาจกดแล้วเจ็บมากบริเวณก้อนฟิลเลอร์นั้น หรืออาจกดเจ็บในบริเวณต่างๆ ของผิวที่อักเสบ
ซึ่งผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์อาจเจ็บและร้อนกว่าบริเวณอื่น ควรพบแพทย์เพื่อแก้ฟิลเลอร์บวมด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์จะดีที่สุด อาการที่แสดงให้เห็นเด่นชัดมีดังต่อไปนี้
- ปวดบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์มากกว่าปกติ
- ผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์บวมขึ้นเรื่อยๆ
- บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์แดงและคล้ำ
- บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ร้อน หากว่าลองใช้หลังมือแตะ
2.ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนแต่ไม่ใช่การอักเสบและติดเชื้อ
คนไข้ควรสังเกตอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่าฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนนั้นไม่ได้เกิดจากอาการบวมหลังจากฉีดฟิลเลอร์ซึ่งสามารถหายได้เอง โดยอาการที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดมีดังต่อไปนี้
- บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ผิวไม่เรียบเนียนและเป็นก้อน
- หลังจากฉีดฟิลเลอร์แล้วใบหน้าดูไม่เป็นธรรมชาติอย่างเห็นได้ชัดเจน
- หลังจากฉีดฟิลเลอร์แล้วคนไข้ไม่พึงพอใจในผลลัพธ์
การฉีดสลายแก้ฟิลเลอร์บวมคืออะไร
หลังจากที่ฉีดฟิลเลอร์แล้ว อาจมีคนไข้ที่มีปัญหาหลังจากฉีด หรือฉีดแล้วไม่พอใจในผลลัพธ์ ซึ่งการฉีดสลายฟิลเลอร์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ฟิลเลอร์ที่ใช้จะต้องเป็นฟิลเลอร์แท้ หรือสารเติมเต็มประเภทกรดไฮยาลูรอนิค เนื่องจากว่ามีความปลอดภัย สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ ไม่มีการตกค้างในร่างกาย ซึ่งระยะเวลาในการคงตัวของฟิลเลอร์จะมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของฟิลเลอร์และโมเลกุลของยี่ห้อฟิลเลอร์ที่เลือกใช้
ซึ่งปัจจุบันนี้ยี่ห้อฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาไทยและใช้กันอย่างแพร่หลายในคลินิกเสริมความงามชั้นนำได้แก่ฟิลเลอร์ Restylane, Juvederm, Belotero, Belotero
ฟิลเลอร์สลายเร็วด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์
สำหรับผู้ที่ต้องการให้ฟิลเลอร์สลายเร็วหรืออยากแก้ฟิลเลอร์บวม เพราะหลังจากฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดปัญหาเป็นก้อน บวม ย้อยจนใบหน้าผิดรูป เนื่องจากแพทย์ที่ฉีดไม่ทราบเทคนิคการฉีดหรือขาดความชำนาญ หรือหลังจากที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วไม่พึงพอใจกับผลลัพธ์ที่ได้ การฉีดสลายฟิลเลอร์จัดได้ว่าเป็นวิธีที่ทำให้ฟิลเลอร์สลายได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ดีแพทย์จะใช้เอนไซม์ไฮยาลูรอนิเดส สำหรับไปย่อยสลายฟิลเลอร์ แต่มีเงื่อนไขว่าฟิลเลอร์ที่อยู่ในตัวคนไข้จะต้องเป็นฟิลเลอร์ประเภทไฮยาลูรอนิก แอซิดหรือฟิลเลอร์แท้เท่านั้น
กระบวนการทำงานของเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส
เมื่อฉีดเอนไซม์เข้าไปแล้ว ฟิลเลอร์จะสลายทันทีหลังจากฉีดภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยเอนไซม์นี้จะเข้าไปทำหน้าที่ลดการกักเก็บน้ำ ไขมัน รวมไปถึงทำลายการยึดเกาะของฟิลเลอร์ ซึ่งมีผลต่อการปรับโครงสร้างที่เกี่ยวกับเนื้อเยื่อ รวมไปถึงปรับสมดุลของผิวในบริเวณที่มีฟิลเลอร์อยู่ให้เหมือนเดิมหรือใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด กรณีที่ฉีดครั้งแรกแล้วฟิลเลอร์สลายไม่หมด สามารถฉีดเพิ่มได้โดยที่แพทย์จะประเมินอีกครั้ง
สาเหตุที่ทำให้การฉีดฟิลเลอร์ไม่สวยและเป็นก้อน
หลังจากที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วอาจมีอาการบวมหลังจากที่ฉีดได้แล้วเช่นกัน แต่อาการบวมจะหายไปเองในระยะเวลา 14 วัน หลังจากนั้นหากว่าอาการบวมไม่หายไป หรือเป็นก้อนและแข็ง อาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
- แพทย์ฉีดฟิลเลอร์ไม่มีประสบการณ์มากพอ หรือใช้เทคนิคการฉีดที่ผิดพลาด ฟิลเลอร์ตื้นเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ผิวบาง ทำให้เห็นฟิลเลอร์เป็นก้อนได้
- ใช้ฟิลเลอร์รุ่นที่ไม่เหมาะสมกับจุดที่ฉีด หรือเอาฟิลเลอร์เนื้อแข็งมาฉีดที่ผิวชั้นตื้นๆ หรือจุดที่มีการขยับบ่อยๆ
- ใช้ฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากเกินไป
- จุดที่ฟิลเลอร์มีปัญหาเป็นก้อนบ่อย ได้แก่บริเวณใต้ตา หน้าผาก คางและริมฝีปาก
ดังนั้นการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องจะช่วยให้ฟิลเลอร์เข้าที่และยุบเร็วกว่าเดิม
สิ่งที่ต้องศึกษาก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์
1.ปริมาณของฟิลเลอร์ที่แพทย์ฉีดไปในครั้งแรก
การนำปริมาณฟิลเลอร์ที่ฉีดไปสำหรับคำนวณปริมาณยาที่ใช้สลายฟิลเลอร์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้การสลายฟิลเลอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนจะฉีดสลายควรมีการสอบถามข้อมูลของคนไข้ ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ฉีด Serial Number รวมถึงการตรวจสอบว่าเป็นของแท้หรือไม่ ฉีดในปริมาณกี่ซีซี และฉีดมานานมากแค่ไหน หากมีกล่องฟิลเลอร์มาด้วยจะยิ่งทำให้แพทย์สามารถฉีดสลายได้ง่ายกว่าเดิม
2.วิธีในการฉีดสลายฟิลเลอร์
สำหรับการฉีดสลายฟิลเลอร์สามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยการฉีดเอนไซม์ไฮยาลูรอนิเดสในจุดที่ต้องการแก้ไข ซึ่งการฉีดเอนไซม์ไฮยาลูรอนิเดสสามารถย่อยสลายกรดไฮยาลูรอนิคได้ และแต่ละเคสแพทย์จะต้องคำนวณปริมาณยาที่ใช้ในการฉีดสลายฟิลเลอร์ให้เหมาะสมกว่าเดิม
บทสรุป
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการฉีดแก้ฟิลเลอร์บวมเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปสำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่คนไข้เองก็ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญในการเลือกคลินิกผู้ทำการฉีดฟิลเลอร์ตั้งแต่ต้น พยายามมองหาคลินิกที่ได้มาตรฐาน ใช้ฟิลเลอร์ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ผลลัพธ์ของการฉีดฟิลเลอร์ออกมาตรงใจมากที่สุดโดยไม่ต้องแก้ฟิลเลอร์บวมนั่นเอง
โฆษณา