Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WEALTHELLING
•
ติดตาม
30 ต.ค. 2024 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินสำรองฉุกเฉิน🚨 สิ่งแรกที่สำคัญสุดของการเริ่มวางแผนการเงิน ทำยังไงถึงจะสะสมได้นะ❓
สวัสดี พี่โข่งเองน้า ช่วงนี้อากาศร้อนมากเลยถึงจะเข้าฤดูหนาวแลสวัสดี พี่โข่งเองน้า ช่วงนี้อากาศร้อนมากเลยถึงจะเข้าฤดูหนาวแล้วก็ตาม☀️😂
ตอนนี้พี่โข่งกำลังศึกษาเรื่องการวางแผนการเงินส่วนตัวอยู่ เพราะรู้สึกว่ารายจ่ายเยอะเกินไป ไม่ค่อยมีเงินเหลือเก็บให้ตัวเองในแต่ละเดือนเลย💸🥲
💡พี่โข่งก็ได้พบวิธีการวางแผนการเงินจนได้ เป็นการจัดการแบบง่ายๆ นั่นคือ เงินสำรองฉุกเฉิน🚨 จากที่คิดมาตลอดว่าแค่ออมเงินทั่วไปหรือไม่ก็แบ่งไปลงทุนสินทรัพย์ต่างๆ ก็จบแล้ว
นั่นก็ไม่ใช่วิธีที่ผิด เพียงแต่เงินสำรองฉุกเฉินคือสิ่งอันดับแรกที่เราควรให้ความสำคัญมากที่สุดสำหรับการวางแผนการเงิน
🗣️ถือเป็นโอกาสในการให้บรรยายครั้งแรกของพี่โข่งไปด้วยเลย เดี๋ยวพี่โข่งคนนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ เงินสำรองฉุกเฉิน🚨 ว่าทำไมถึงสำคัญขนาดนั้น ต้องเริ่มเก็บยังไงบ้าง ไปดูกันเลย Let's Go!!!
เงินสำรองฉุกเฉิน🚨 หรือ Emergency Fund คือเงินออมที่คอยเยียวยาชีวิตเราที่ประสบปัญหาการเงินจากสถานการณ์ต่างๆที่ไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นตกงาน วิกฤติทางการเงิน หรือเกิดเหตุร้ายแรงจนต้องนำเงินส่วนนี้มาชดเชย เพื่อไม่ให้สภาพคล่องของเราได้รับเหตุการณ์เหล่านี้มากนัก
❓แล้วเราจะเก็บเงินส่วนนี้อย่างไรดี? ไม่ยากเลย ตามปกติแล้วเราต้องเก็บประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน (สามารถกำหนดได้เองตามความสะดวกใจ)
🧐โดยเริ่มต้นจากตรวจสอบ บัญชีรายรับราย-รายจ่าย🧾 เป็นอันดับแรกกว่าเรามีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ในแต่ละเดือน แล้วนำไปคูณกับอัตรา 3-6 เท่าสำหรับเงินที่เราต้องการจะเก็บ
🧮อ่านตัวอย่างการคำนวณได้ในคอมเมนต์
🧘🏻อ๊ะ ขอเวลานอกแปบนึงนะ พอได้อ่านไปสักพักก็เริ่มรู้สึกง่วง มึนงง ตาลาย ไม่มีสมาธิที่จะอ่านต่อแล้วใช่ไหม งั้นพี่โข่งขอให้ผู้อ่านทุกคนหลับตา แล้วหายใจเข้าลึกๆ 5 วินาที จากนั้นหายใจออกมายาวๆ อีก 5 วินาที ทำแบบนี้จำนวนสามรอบ แต่ห้ามหลับนะ!! เตือนไว้ก่อน เพราะเมื่อกี้พี่โข่งก็เกือบหลับแล้ว😪
ถ้าทำครบสามรอบแล้ว พวกเราไปลุยกันต่อเลย อีกนิดดียวเท่านั้น Go!👏🏻
🗣️อีกอย่างเงินก้อนนี้สามารถนำไปฝากในสินทรัพย์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เราได้อีกด้วย อย่างเช่น
⭐️[กองทุนรวมตลาดเงิน] ที่มุ่งเน้นไปที่เงินฝากและตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี หรือ 367 วันความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง ได้รับเงินหลังการขายรวดเร็ว โดยมีสถาบันการเงินหรือธนาคารคอยดูแลเงินให้เรา
⭐️[บัญชีเงินฝากออมทรัพย์] ที่ให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ (ขึ้นอยู่กับประเภทบัญชีเงินฝากของแต่ละธนาคารที่เปิด)
จบไปแล้วกับ เงินสำรองฉุกเฉิน🚨 ถือว่าดีเลยใช่ไหมล่ะ ระหว่างที่ทุกคนกำลังอ่านบทความอยู่ พี่โข่งค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมมา ว่าเงินก้อนส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของบันไดขั้นแรกของสามเหลี่ยมพีระมิดทางการเงิน🔺 (Financial Planning Pyramid) ซึ่งมีประกันชีวิตอยู่รวมในนั้นด้วย ไว้พี่โข่งจะมาเล่าให้ฟังในคราวหน้า
💡ส่วนตัวพี่โข่งคิดว่ามันเป็นไอเดียที่ดีนะ ทำให้เราเข้าใจได้ว่าสิ่งแรกของการวางแผนการเงินส่วนตัวคือ 1.) เช็คบัญชีรายรับรายต่อเดือนของเราเอง 2.) สร้างเงินสำรองฉุกเฉินไว้สำหรับออมเงินบางส่วนที่แบ่งมาจากรายได้
👍🏻ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนทุกวัยที่สนใจหรือกำลังวางแผนการเงินส่วนตัว ก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้เลย ถือว่าเป็นการฝึกวินัยทางการเงินไปในตัวด้วย
🗣️เป็นยังไงบ้างกับการบรรยายของพี่โข่ง หากใครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดวางแผนการเงินอย่างไร สามารถคอมเมนต์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ใต้โพสต์นี้ได้เลยนะ
โพสต์ต่อไปจะเป็นเรื่องการเงินประเภทไหน ไว้พบกันใหม่ในโอกาสหน้าน้า👋🏻
#พี่โข่งWTL #Wealthelling #การเงิน #วางแผนการเงิน #เศรษฐกิจ #เศรษฐกิจโลก
References
Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข เขียนโดยโค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์
https://www.kasikornbank.com/th/credit-insight/pages/emergency-fund.aspx
https://makebykbank.kbtg.tech/articles/emergency-fund-why-it-matters
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/grow-your-wealth/emergency-fund.html
https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/1-precuation-saving-to-avoid-financial-problem
https://www.setinvestnow.com/th/glossary/money-market-fund
ช่องทางอื่นๆ สำหรับติดตามเพจ WEALTHELLING
Facebook:
https://www.facebook.com/share/pyqrxdKxQ2HCV6k5/?mibextid=LQQJ4d
Instagram:
https://www.instagram.com/wealthelling.wtl/profilecard/
...
Blockdit:
https://www.blockdit.com/wealthelling.wtl
ความรู้
เศรษฐกิจ
การเงิน
2 บันทึก
2
1
7
2
2
1
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย