Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
31 ต.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
ทีทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน
ตีนกบ กล้วยไม้ที่สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล
ตีนกบ Pecteilis susannae (L.) Raf. กล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล ความสูงจากระดับน้ำทะเล 350 - 2,500 เมตร
เป็นกล้วยไม้ดิน สูงได้ถึง 1.5 เมตร มีหัวใต้ดินรูปกลมขนาดใหญ่ ใบ แบน รูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ออกเรียงสลับ กว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอด จำนวน 5-7 ดอกต่อช่อ ดอกสีเขียวอมขาว หรืออมเหลือง กลีบปาก สีขาว ขอบกลีบสองข้างหยักเป็นริ้ว แฉกกลางแคบเรียว
ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม พบได้ในอัสสัม อินเดีย เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลาว จีน ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซีย บอร์เนียว ชวา หมู่เกาะซุนดาเล็ก เกาะโมลุกกะ และสุลาเวสี ประเทศไทยพบตามป่าผลัดใบ หรือป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ช่วงเวลาในการออกดอก กรกฎาคม - กันยายน
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
#ตีนกบ #กล้วยไม้ #ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ #สุราษฎร์ธานี #กรมอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติ
ธรรมชาติ
ดอกไม้
บันทึก
3
3
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย