30 ต.ค. 2024 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์

ประโยชน์ที่สำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์ - 学历史的大用

: สรุปย่อ-ถอดความจาก TEDxTaipei 2014 โดย 呂世浩 (LǚShìhào-หลี่ว์สื่อห้าว)
ประวัติศาสตร์เรียนไปทำไม เรียนแล้วได้อะไร เรียนแล้วใช้ทำอะไรได้ มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมเรายังไง ที่สำคัญมันจะเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเราได้ยังไง???
จนผู้เขียนได้นั่งดูคลิป YouTube หนึ่งในช่อง TEDxTaipei
รูปภาพจาก YouTube
ชื่อหัวข้อ ประโยชน์ที่สำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์ - 学历史的大用
ในการบรรยายอาจารย์หลี่ว์ได้เริ่มไว้ประมาณว่า
-เวลามีใครถามว่าผมว่าสอบติดที่มหาวิทยาลัยไหน
-“ไถต้า” (มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน - ถ้าเข้าใจไม่ผิดก็คือมหาวิทยาลัยอันดับ1ของไต้หวัน”)
-ผู้ถามจะมีปฏิกิริยาประมาณ “ว้าว!”
-จากนั้นเขาถามต่อว่าแล้วเรียนคณะสาขาอะไร
-สาขาประวัติศาสตร์
-ผู้ถามกลับมีปฏิกิริยาประมาณว่า “โอ้?!”
นั่นทำให้ผู้บรรยายได้ทบทวนปฏิกิริยาดังกล่าวด้วยคำถามว่า
“แท้จริงแล้วเรียนประวัติศาสตร์ไปมีประโยชน์ยังไง?”
สมัยเรียนที่เราเรียนวิชาประวัติศาสตร์นั้นเราท่องจำมากมาย ชื่อสถานที่ ชื่อคน เรื่องราว
แล้วมันเป็นไปเพราะอะไร?
หลังจากที่เราสอบเสร็จแล้วเรายังจำได้อีกนานแค่ไหน?
สุดท้ายเลยมันมีประโยชน์ยังไงต่อเรา?
อาจารย์หลี่ว์ได้พูดต่อว่าในช่วงเวลาที่คบคิดปัญหานี้ได้ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจอยู่อย่างหนึ่ง
นั่นคือ
ในอดีต เหล่ากษัตริย์ ชนชั้นปกครอง จอมคนหลายๆคน
“ล้วนแต่เรียนประวัติศาสตร์ และก็รู้สึกว่าการเรียนประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อพวกเขามาก!”
แต่ในยุคปัจจุบันเราเรียนปะวัติศาสตร์ตั้งแต่เด็กเลยด้วยซ้ำ แต่กลับไม่รู้สึกว่ามันจะมีประโยชน์อะไร?
ทำไมมันถึงแตกต่างขนาดนี้?
อาจารย์หลี่ว์ได้คำตอบจากเรื่องนี้ว่า ไม่ใช่เรียนประวัติศาสตร์ไม่มีประโยชน์(แม้ในปัจจุบันมันก็ยังมีประโยชน์อยู่มาก)
“แต่วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของคนยุคก่อนนั้นแตกต่างจากเรานั่นเอง!”
วิธีการที่ว่าคือ คนยุคก่อนเวลาเรียนประวัติศาสตร์หรืออ่านหนังสือประวัติศาสตร์ เมื่ออ่านถึงจุดที่บุคคลในประวัติศาสตร์นั้นๆเผชิญต่อสถานการณ์ที่สำคัญที่จะต้องตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง
ณ เวลานั้นให้เราปิดหนังสือและถามตัวเองว่าหากเป็นเราเราจะทำอย่างไรหรือตัดสินใจต่อสถานการณ์นั้น โดยใช้เวลาคิดสะหน่อย คิดให้ถี่ถ้วนเท่าที่เราจะคิดได้ และค่อยเปิดหนังสือเพื่อดูว่าแล้วบุคคลในประวัติศาสตร์นั้นตัดสินใจอย่างไร เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์โดยใช้ “วิธีการวิเคราะห์“
การตัดสินใจนั้นเหมือนหรือต่างจากเราอย่างไร นำมาซึ่งผลอย่างไร ได้หรือเสียอะไรไป ด้วยวิธีนี้คนสมัยนั้นใช้วิธีนี้คบคิดและลับคมทางความคิด
แต่ในยุคปัจจุบันไม่ได้ใช้วิธีนี้ในการเรียนประวัติศาสตร์ เพราะการศึกษายุคของเราเป็นผลผลิตจากยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมการศึกษาจึงเป็นหน่วยหนึ่งในการผลิตกำลังคนเข้าสู่อุตสาหกรรมเป็นเป้าหมายหลักนั่นเอง
ดังนั้นการศึกษายุคนี้เป็นยุคของการเรียนรู้ที่มุ่งไปทักษะและเทคโนโลยีเป็นสำคัญ ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการเสริมสร้างปัญญา เหตุผลของมนุษย์ หรือการเผชิญหน้าปัญหาที่ยากลำบากของมนุษย์ การศึกษายุคอุตสาหกรรมจึงไม่ได้มุ่งเน้นในจุดนี้นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ในยุคของเราจึงเรียนประวัติศาสตร์ในมิติที่แคบ ด้วยวิธีการที่ท่องจำเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่สามารถบอกได้เลยว่าประวัติศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตเรา
ในอดีตการที่จะการบ่มเพาะกษัตริย์ ชนชั้นปกครอง จอมคนทั้งหลายจึงต้องใช้ “วิธีการวิเคราะห์“ เรียนประวัติศาสตร์
ในปัจจุบันเป็นยุคที่ต้องบ่มเพาะแรงงานเข้าสู่ตลาดจึงใช้วิธีการ “ท่องจำ” เรียนประวัติศาสตร์
เป้าหมายต่างกันวิธีการจึงต่างกัน
ต่อไปจะเป็นการใช้ตัวอย่างจากประวัติศาสตร์ในการเรียนของคนยุคก่อนโดยจะใช้เนื้อหาจากประวัติศาสตร์เป็นตัวอย่าง ในการบรรยายอาจารย์หลี่ว์ได้หยิบเนื้อหาจากบันทึกเอกสารประวัติศาสตร์ “สื่อจี้ -史记” (Shǐjì) คือตอน “จางเหลียงเก็บรองเท้า“ 《张良纳履》(Zhāngliángnàlǚ อ่านว่า จางเหลี่ยงน่าหลีู่ว์)
จางเหลียงก่อน คือยอดคน เป็นที่ปรึกษาให้กับหลิวปังตั้งแต่ที่ยังไม่ได้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นมา มีส่วนสำคัญที่ทำให้หลิวปังรวบรวมแผ่นดินจีนและตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้นมาได้ในภายหลังได้สำเร็จ เป็นหนึ่งใน 3 คนที่ได้รับการยอมรับจากปากของหลิวปังที่ว่าชีวิตนี้ได้ครองแผ่นดินเพราะใครบ้าง ร่วมกับ เซี่ยวเหอ-อัครเสนาบดีผู้ค้ำจุนบัลลังก์ฮั่น และ หานซิ่น-สุดยอดนักการทหารแห่งยุค
เรื่องราวก่อนเหตุการณ์ “จางเหลียงเก็บรองเท้า” เห็นเหตุการณ์ก่อนหน้าที่จางเหลียงจะพบกับหลิวปัน เรื่องมีอยู่ว่าจางเหลียงเป็นชาวแคว้นหาน (韩 Hán)และตระกูลของจางเหลียงเองก็ป็นขุนขางในแคว้นมาหลายรุ่น แต่แคว้นหานล่มสลายโดยการรวมแผ่นดินของจิ๋นซีฮ่องเต้
จางเหลียงมีใจอยากจะกอบกู้แผ่นดินคืนจากจิ๋นซีฮ่องเต้ จึงทุ่มทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดไปกับแผนการลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ ชนิดที่ว่าแม้แต่เงินจัดงานศพให้น้องชายก็ไม่มี แผนของจางเหลียงคือร่วมมือกับนักกล้ามจอมพลังคนหนึ่งที่มีอุดมการเดียวกัน ทรัพย์สินที่ว่าก็เอาไปสร้างอาวุธที่หนักกว่า 120 ชั่ง ประมาณ 70 กิโลกรัม ไม่ว่าจะเท่าไหร่แต่น่าจะต้องหนักเอามากๆ ไปลอบโจมตีขบวนเสด็จของจิ๋นซีฮ่องเต้
เมื่อปฏิบัติการเริ่มขึ้นนักกล้ามจอมพลังก็สามารถเหวี่ยงอาวุธนั้นใส่รถม้าของจิ๋นซีฮ่องเต้พังยับเยิน คนในรถถูกฟาดตายคาที่ แต่นั่นไม่ใช่รถม้าของจิ๋นซีฮ่องเต้ (เลือกฟาดผิดคัน)
แผนการล้มเหลว จางเหลียงหนีตาย กลายเป็นนักโทษประหาร เลยหลบหนีไปซ่อนตัวที่เมืองเซี่ยพี และเรื่องราว “จางเหลียงเก็บรองเท้า“ ก็จะเริ่มจากตรงนี้
ตามบันทึกในสื่อจี้ — 《史记》 - จางเหลียงเดินเล่นอย่างใจเย็นที่สะพานแห่งหนึ่งในเมืองเซี่ยพี เขาก็ได้พบชายชราคนหนึ่งนั่งอยู่บนสะพาน เมื่อชายชราคนนั้นเห็นจางเหลียงเดินมา ก็แกล้งทำรองเท้าตกไปยังพื้นใต้สะพาน ชายชราคนนั้นหันไปหาและบอกให้จางเหลียงลงไปเก็บรองเท้าคู่นั้นมาให้เขา
โอเคทีนี้เราหยุดถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งอ่านต่อไป ให้หลับตาและลองคิดตามดูว่าถ้าท่านเป็นจางเหลียงจะทำอย่างไร?
3
2
1
ตามบันทึกในฉื่อจี้บันทึกปฏิกิรยาที่ไม่คาดคิดไว้ว่า - จางเหลียงเป็นงง อยากจะไปทุบคนชรานั่น (คนหนุ่มมักเลือดร้อน ถ้าไม่บ้าบิ่นคงไม่จะไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้หรอกจริงมั้ย) เพราะเห็นว่าเป็นคนแก่ จึงได้แต่อดกลั้นอย่างที่สุด (ฉื่อจี้ใช้คำว่า 强忍 - qiáng rěn อดกลั้นข่มอารมณ์ไว้สุดๆ ด้วยสถานการณ์นั้นจางเหลียงได้แต่ต้องอดกลั้นไว้หากพลาดพลั้งไปทุบคนแก่คนนี้ให้ตายก็จะเป็นปัญหาไปอีก เพราะตัวเองก็มีคดีติดตัวอยู่)
เมื่อจางเหลียงเก็บรองเท้าขึ้นมาแล้วชายชราพูดสิ่งที่ทำให้งงไปอีกว่า
“ใส่ให้ด้วย!”
โอเคทีนี้มาหยุดตรงนี้อีกครั้งหนึ่ง อย่าเพิ่งอ่านต่อไป ให้หลับตาและลองคิดตามดูว่าถ้าท่านเป็นจางเหลียงที่เจอคนแก่ได้คืบจะเอาศอกล้ำเส้นเข้าไปอีกจะทำอย่างไร?
3
2
1
ตามบันทึกในสื่อจี้ — 《史记》จางเหลียง คุกเข่าลงและสวมรองเท้าให้อยู่นาน
ตัวผู้เขียนไม่มีความสามารถมากพอที่จะแปลประโยคนี้ให้ดีได้ แต่อาจารย์หลี่ว์บรรยายประมาณว่า จางเหลียงไม่ใช่แค่ช่วยสวมให้เฉยๆ ถ้าหากรองเท้านั่นมีเชือกก็จะผูกให้ด้วย จัดรองเท้าให้เข้าทรงด้วย ถ้าขัดให้ได้ก็จะขัดให้ด้วยคงจะประมาณนั้น เพราะในสื่อจี้ — 《史记》ใช้คำว่า 长跪 - cháng guì ที่แปลว่าคุกเข่าอยู่นาน
แล้วทำไมจางเหลียงต้องทำขนาดนั้น? ท่านผู้อ่านลองหยุดคิดตามสักครู่ดูก่อนได้
เพราะจางเหลียงกำลังเข้าใจที่ชายชราคนนั้นกำลังสอนว่า ชีวิตคนเราถ้าเลือกที่จะไม่ทนกับบางสิ่ง ไม่ก็ต้องทนกับบางสิ่งนั้นไปตลอด คนเราจะทำสิ่งใดถ้าไม่คิดจะทำก็ไม่ต้องทำ แต่ถ้าหากทำแล้วต้องทำให้ถึงที่สุด เช่นกันกับจางเหลียงที่เลือกอดทนอดกลั้นกับชายชรานับตั้งแต่ที่ชายชราแกล้งโยนรองเท้าลงไปใต้สะพานให้ไปเก็บ
ถ้าจะทนก็อย่าทนครึ่งๆกลางๆ จงทนให้ถึงที่สุด ในเมื่อตัดสินใจช่วยเขาเก็บรองเท้าแล้ว ก็ยังยอมจะสวมรองเท้าให้เขาแล้ว ทำไมไม่ผูกเชือก จัดทรง หรือขัดรองเท้านั้นไปด้วยเลยล่ะ นี่คือความสำคัญของคำว่า “อดทนอดกลั้น” ที่ชายชรากำลังจะสอนจางเหลียง
แล้วเหตุใดชายชราต้องสอนเช่นนี้?
เหตุการณ์ต่อจากนั้น ชายชราพึงพอใจ ยิ้มแล้วเดินจากไป จางเหลียงก็มองตามด้วยความประหลาดใจเป็นพิเศษอย่างมาก
จางเหลียงสตั๊นจังงังเป็นงงทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
อาจารย์หลี่ว์บรรยายว่า ยอดฝีมือประลองกัน ไม่พูดเยอะให้เจ็บคอ โวยวายแสดงกริยาไม่เหมาะสมนั่นเป็นเรื่องของคนไร้ระดับทำ ยอดฝีมือแค่มอง ไม่กี่คำพูด หรือกี่กระบวนท่าเพียงแค่นั้นก็รู้ระดับฝีมือความห่างไม่ห่างชั้นกันแล้ว
ชายชราขอให้จางเหลียงเก็บรองเท้า ตั้งใจแกล้ง จางเหลียงก็ไม่ตอบสนองไม่ดี ตกใจนิดหน่อย อดทนข่มใจ แล้วลงไปเก็บให้
จางเหลียงสวมรองเท้าให้คนชรา ตั้งใจเอาคืนให้ชายชรารู้สึกประหลาดใจ แต่ชายชราก็ไม่ได้รู้สึกประหลาดใจอะไร
ชายชราเพียงแค่ยิ้ม แล้วเดินจากไป ปฏิกิริยาคือ “จางเหลียงก็มองตามด้วยความประหลาดใจเป็นพิเศษอย่างมาก”
ในช่วงระยะเวลาสั้นๆทั้งสองปะมือกันไปแล้วสามกระบวนท่า ผลลัพธ์คือจางเหลียงแพ้หมดท่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม “จางเหลียงสตั๊นจังงังเป็นงง”
อาจารย์หลี่ว์อธิบายเพิ่มเติมว่า ทุกท่านต้องเข้าใจว่าจางเหลียงเป็นคนเก่งมีความสามารถนิสัยก็ห้าวเป้งพอตัว ได้รับบทเรียนที่ค่อนข้างหนักหน่วงเป็นครั้งแรก ในชีวิตที่ผ่านมามีแต่จางเหลียงที่เวลาไปทำคนอื่นเขาจะเป็นฝ่ายกดเขาไว้แล้วเป็นฝ่ายทุบเขาดังนั้นเขาจึงไม่สามารถไปอดทนอะไรได้ แต่มาตอนนี้มาเจอชายชรากลับเป็นฝ่ายที่กดจางเหลียงไว้แล้วกระหน่ำทุบไม่ยั้งเพื่อจะสอนให้รู้ว่า “เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือคนยังมียอดคน”
วัยรุ่นมีความกล้าหาญก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าไม่สามารถอดทนอดกลั้นต่ออะไรได้ ก็นับว่าเป็นคนไม่มีหัวคิด ดังนั้นนี่จึงเป็นบทเรียนสำคัญเรื่องแรกของเรื่องนี้ “อดทนอดกลั้น”
หลังจากที่ชายชราเดินจากไปสักพักหนึ่ง ก็เดินวกกลับมาแล้วพูดกับจางเหลียงว่า “เจ้าหนุ่มนี่สอนได้ หลังจากนี้อีก 5 วันเช้าแล้วให้มาเจอกันที่นี่อีกที”
จากบันทึกข้อความนี้ทำให้เราพอรู้ว่าชายชราคนนี้มาเพื่อที่จะสอนจางเหลียงก็เป็นไปได้
จางเหลียงพอจะทราบว่าชายชราคนนี้ไม่ใช้คนธรรมดาจึงตอบรับด้วยความสุภาพ “รับทราบครับ”
ห้าวันถัดจางเหลียงไปถึงสะพานตามนัดแต่เช้า แต่ชายชรารออยู่ก่อนแล้ว ชายชราหงุดหงิดจึงพูดไปว่า “ให้คนแก่มารอ มาทีหลังได้อย่างไร กลับไป อีกห้าวันตอนเช้ามาเจอกันใหม่”
ห้าวัดถัดมาจางเหลียงไปถึงสะพานตั้งแต่ไก่ขัน แต่ชายชราก็รออยู่ก่อนอีกแล้ว ชายชราหงุดหงิดอีกจึงพูดไปอีกว่า “มาที่หลังอีกแล้ว? กลับไป อีกห้าวันตอนเช้าให้มาเจอกันใหม่”
การบันทึกของทั้งสองเหตุการณ์ดูผิวเผินคล้ายกัน แต่อาจารย์หลี่ว์อธิบายว่าในทั้งสองเหตุการณ์นี้มี Keywords อยู่ 2 คำ นั่นคือ “ก่อน” และ “หลัง” เหตุใดชายชราจึงพยายามเน้นสองคำนี้ เพราะชายกำลังจะสอนพิชัยสงครามอยู่นั่นเอง ใครจึงสมรภูมิก่อนหลัง ถึงก่อนก็กุมความได้เปรียบ ถึงทีหลังก็จะเสียเปรียบ
และเป็นอีกสองครั้งที่จางเหลียงแพ้ให้แกชายชรา
ถึงตรงนี้ถ้าท่านคือจางเหลียงท่านจะทำอย่างไร
3
2
1
จางเหลียงมารอตั้งแต่เที่ยงคืน
หมายถึงว่าในคืนของวันที่ 4 ก่อนเข้าเที่ยงคืนของวันที่ 5 จางเหลียงก็มารอชายชราอยู่ก่อนแล้ว ณ จุดนี้จางเหลียงได้นำตัวเองไปอยู่ในจุด “ที่ไม่แพ้”(ลองอ่านบทความ: แพ้ ไม่แพ้ ไม่ชนะ ชนะ ทำทีละขั้นยังไงก็ชนะ https://www.blockdit.com/posts/64d740e078b9c00b18b0c9af) เพราะต่อให้ชายชราจะมาถึงก่อนจางเหลียงก็ไม่นับว่าชายชรามาถึงก่อนเพราะทั้งสองนัดกันในเช้าของวันที่ 5
จากนั้นชายชราก็มาถึง พร้อมพูดด้วยความดีใจว่า “ให้มันได้อย่างนี้” จากนั้นมอบตำราให้เล่มหนึ่งคือตำราพิชัยสงครามไท่กง (เป็นตำราพิชัยสงครามของเจียงไท่กง ที่ปรึกษาและเสานาธิการที่ช่วยราชวงศ์โจวโค่นล้มราชวงศ์ซางนั่นเอง)
ในส่วนนี้สอนอะไรเรา หรือชายชรากำลังสอนอะไรจางเหลียง นั่นคือความสำคัญของการ “ยึดก่อน”
ก่อนก็คือถึงก่อนคนอื่น ถึงก่อนเพื่อน ถึงก่อนคู่แข่ง แต่การ “ยึดก่อน” ที่แน่นอนในสงคราม คือการออกการตัดสินใจที่ไม่คาดคิดต่ออีกฝ่าย นั่นแหละถึงจะเป็นการ “ยึดก่อน” ที่แท้จริง
เหมือนอย่างชายชราเองก็คงไม่คาดคิดว่าจางเหลียงจะมารอเขาตั้งแต่เที่ยงคืน นี่คือบทเรียนที่สองที่ชายชราต้องการจะสอนแก่จางเหลียงและพวกเรา
อาจารย์หลี่ว์ตั้งประเด็นว่าแล้วทำอย่างไรเราถึงจะได้ “ยึดก่อน” นั้นได้? หรือการออกการตัดสินใจที่ไม่คาดคิดต่ออีกฝ่าย กลับไปบทเรียนแรก ก็คือ “อดทนอดกลั้น” อย่างถึงที่สุดนั่นเอง จนฝ่ายตรงข้ามไร้การเตรียมการป้องกัน นั้นจึงจะทำให้เราสามารถ ”ยึดก่อน“ ที่แน่นอนได้
ใน 2 บทเรียนสำคัญนี้ก็มีการอธิบายอย่างชัดเจนใน ”ตำราพิชัยสงครามซุนวูเช่นกัน“ (ลองอ่านบทความ: ชนะไม่ได้ ฝืนก็ไม่ได้ แล้วจะให้ทำอย่างไร? https://www.blockdit.com/posts/64b924a68e6561ccbbdc8aad)
”อดทน“ ให้เหมือนกับผู้หญิงที่ดูงดงามอ่อนโยน ฝ่ายตรงข้ามเห็นก็จะคลายความกังวล หย่อนการเตรียมการลง
”ก่อน” ให้เหมือนกระต่ายที่พุ่งทะยานไป ในจังหวะที่ประตูเปิด จนฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถปิดประตูได้ทัน
พิชัยสงครามก็พูดถึงสองหลักการนี้เป็นหลักนั่นเอง
เหตุใดจางเหลียงจึงสามารถช่วยเหลือหลิวปังให้ครองแผ่นดินได้นั่นก็เพราะว่า จางเหลียงส่งให้หลิวปังสามารถยึดกวานจง-關中 (บริเวณที่ตั้งเมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน)ได้ก่อน
แต่ว่าบริเวณทางใต้ของกวานจง-關中มีแม่ทัพเฝ้าด่านอยู่และมีความเข้มแข็งกว่าหลิวปัง ในตอนแรกหลิวปังอยากจะใช้กำลังเข้าบุกตีด่านนี้ แต่จางเหลียงคัดค้านเพราะเราไม่สามารถสู้เขาได้ในด้านกำลัง แล้วฉะนั้นจะทำอย่างไร?
จางเหลียงอธิบายว่าเคยได้ยินว่าแม่ทัพคนนี้เป็นคนละโมบโลภมากชอบทรัพย์สินเงินทอง เราสามารถไปติดสินบนแม่ทัพเฝ้าด่านคนนี้ได้ หลิวปังทำตามแผนที่จางเหลียงแนะนำผลลัพธ์ก็คือแม่ทัพเฝ้าด่านคนนี้ยอมรับสินบนดังกล่าว
ระดับแม่ทัพเฝ้าด่านยังรับสินบนฉ้อโกงแบบนี้ราชวงศ์ชิงจะไม่ล่มสลายได้อย่างไร จริงไหม?
เมื่อเป็นไปตามแผนของจางเหลียง ก็ดีใจสั่งให้ดำเนินการเดินทัพต่อ หมดปัญหาเรื่องแม่ทัพเฝ้าด่านแล้ว แต่จางเหลียงก็คัดค้านอีก แนะนำต่ออีกว่าให้รีบลอบโจมตีด่านนี้ทันที หลิวปังก็งงทันทีทำไมถึงต้องทำเช่นนั้น
จางเหลียงอธิบายว่าแม้แม่ทัพเฝ้าด่านรับสินบนของเราแล้ว แต่ลูกน้องที่อยู่ภายใต้สังกัดก็ยังเป็นคนแคว้นฉินอยู่ไม่ได้แปลว่าลูกน้องเหล่านั้นอาจจะเห็นด้วยกับแม่ทัพเฝ้าด่าน อาจทำการยึดอำนาจแม่ทัพเฝ้าด่านนั้นอีกทีก็ได้ แต่ตอนนี้เค้ารับสินบนของเราการป้องกันเตรียมการย่อมไม่มี ไม่หนาแน่น เราต้องรีบใช้โอกาสนี้รอบโจมตีทันที
หลิวปังเชื่อคำแนะนำของจางเหลียงจึงสามารถเป็นกองทัพแรกที่สามารถเข้าไปยังพื้นที่เมืองหลวงของราชวงศ์ฉินได้และราชวงศ์ฮั่นที่ยิ่งใหญ่ก็เริ่มนับมาแต่นั้น
นี่ก็คือการประยุกต์ใช้หลักการ “ อดทน” และ“ ยึดก่อน” ของชายชราที่สอนให้กับจางเหลียง
เราจะย้อนกลับถึงคำถามแรกของเราที่ว่าเรียนประวัติศาสตร์มีประโยชน์อะไร หรือชนชั้นปกครองและผู้นำในอดีตทำไมต้องเรียนประวัติศาสตร์
สองคำตอบ
เข้าใจพฤติกรรมคน
เพราะบันทึกประวัติศาสตร์นับร้อยนับพันปีก็คือบันทึกประวัติของคนตั้งมากมาย เล่าถึงช่วงเวลาแต่ละคนที่เผชิญหน้ากับคนด้วยกันและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ว่าเราประสบและผ่านไป เรื่องราวของพวกเขาไปด้วยการตัดสินใจแบบใดหรือการกระทำแบบใด เราเรียนรู้ตรงนี้คุณถึงจะเข้าใจว่าพฤติกรรมของคนเป็นอย่างไร
จุดประกายปัญญา
เราใช้เรื่องราวของบุคคลในอดีตมาเป็นหินลับคมมีดทางปัญญาของเรา หินลับมีดไม่สามารถตัดสิ่งของได้ มีดต่างหากที่ใช้ตัดสิ่งของได้ ใช้ขุมปัญญาของบุคคลในอดีตมาเป็นบทเรียนให้แก่เรานั่นเอง
แล้วทำไมเราต้องเข้าใจพฤติกรรมคนและจุดประกายปัญญา เพราะเราทุกคนจะต้องมีช่วงเวลาที่เผชิญหน้ากับปัญหายากในชีวิต หรือช่วงยากลำบากในชีวิต
“โปรดจงจำไว้ว่าเราไม่ใช่คนแรกในประวัติศาสตร์ที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาแบบนั้น”
เราจะสามารถดูได้ว่าบุคคลเหล่านั้นใช้สภาพจิตใจแบบใดไปเผชิญหน้ากับปัญหา และพวกเขาตัดสินใจปัญหาของพวกเขาอย่างไร
ผู้เขียนพอฟัง Ted Talk นี้จบ นึกถึงคำปิดท้ายจาก เดอะสแตนดาร์ดประวัติศาสตร์ 8 นาทีออนสเตจ ของเฮียวิทย์ สิทธิเวคิน ว่า
History inspires people to stand up
ประวัติศาสตร์สร้างแรงบันดาลใจให้คนยืนหยัดต่อสู้
#ประวัติศาสตร์ #จางเหลียง #จีน #ปัญญา #หลิวปัง #ฉิน #ฮั่น
หนังสือแนะนำ
ลองดู กลยุทธ์ยุทธวิธีผู้นำแบบซุนวู ที่ Shopee https://s.shopee.co.th/1LO8aJFGMz
โฆษณา