29 ต.ค. เวลา 13:00 • ปรัชญา

คุยธรรมะกับแม่เรื่อง : การเตรียมตัวการทำกาละ

ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เป็นเรื่องที่เราไม่ควรประมาทและทำตัวให้พร้อม
ช่วงมีชีวิตปกติ
ช่วงเจ็บป่วย
ช่วงทำกาละ
ผัคคุณะสูตร : เป็นธรรมที่ตถาคตแสดงต่อพระอานนท์
กรณีพระคุณะอาพาธหนัก
ครั้นทำกาละ(เสียชีวิต)แล้ว
ทำไมอินทรียผ่องใสยิ่งนัก
จิตหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ต่ำห้า
จากการฟังธรรมเพื่อไปสู่นิพพาน
ใคร่ครวญเนื้อธรรมแห่งกาลอันควรหกประการนี้
สรุปธรรมจากพระโอษฐ์ : ผัคคุณสูตร
อานิสงส์ในการฟังธรรมในกาลอันควร
1. เธอได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์อันพร้อมทั้งอัตถะทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำห้า หร้อมทั้งได้ฟังคำเทศนานั้น
2. เธอไม่ได้เห็นพระตถาคตเลย แต่ย่อมได้เห็นสงฆ์ของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงาม…
3. เธอไม่ได้เห็นพระตถาคต และไม่ได้เห็นพระสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งทำตามที่ได้ฟังได้เรียนมา จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำห้า
4. เมื่อได้ฟังธรรมในกาลอันควร จิตหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ในส่วนเบื้องต่ำห้า แต่ยังไม่น้อมไปเพื่อนิพพาน อันเป็นที่ยังไม่สิ้นไปจากอุปธิกิเลส ในเวลาใกล้ตายเธอได้เห็นตถาคตแสดงธรรม…จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันเป็นที่หาธรรมอื่นมืได้ เพราะได้ฟังคำเทศนานั้น
5. เมื่อได้ฟังธรรมในกาลอันควร จิตหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ในส่วนเบื้องต่ำห้า แต่ยังไม่น้อมไปเพื่อนิพพาน อันเป็นที่ยังไม่สิ้นไปจากอุปธิกิเลส ในเวลาใกล้ตายเธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ย่อมได้เห็นพระสาวกของพระตถาคตแสดงธรรม…จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันเป็นที่หาธรรมอื่นมืได้ เพราะได้ฟังคำเทศนานั้น
6. เมื่อได้ฟังธรรมในกาลอันควร จิตหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ในส่วนเบื้องต่ำห้า แต่ยังไม่น้อมไปเพื่อนิพพาน อันเป็นที่ยังไม่สิ้นไปจากอุปธิกิเลส ในเวลาใกล้ตายเธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย และไม่ได้เห็นพระสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึตรองเพ่งด้วยใจซึ่งทำตามที่ได้ฟังได้เรียนมา จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันเป็นที่หาธรรมอื่นมืได้ เพราะได้ฟังคำเทศนานั้น
สรุป
การฟังธรรมที่แท้จากพระตถาคตในเวลาใกล้ตายมีอานิสงค์มาก
ถ้าเราตอนปกติอยู่ ควรสั่งสมสุตะ ใคร่ครวญ ทำในใจตามธรรมของพระองค์ จิตย่อมมีอุปนิสัยน้อมไปสู่การละสังโยชน์การติดยึดเบื้องต่ำห้าได้
(ทำทุนไว้เพื่อการละกิเลสไม่ไปเกาะจิตไม่ดี)
ตอนเราใกล้ตาย มีโอกาสละสังโยชน์เบื้องต่ำห้าได้ ถ้าเราได้ฟังธรรมในเวลาอันควร จากพระพุทธเจ้า จากสาวกของพระองค์ หรือจากที่เราระลึกได้ เราจะได้ละสังโยชน์ต่ำห้าได้
(อันเป็นคุณสมบัติหนึ่งของพระโสดาบัน ไม่ต้องมาเกิดในภพนี้อีก และเกิดไม่เกินเจ็ดคราก็นิพพาน)
หรือถ้าเราปฏิบัติมาละสังโยชน์ได้แล้ว การฟังธรรมในกาลอันควร จะทำให้บรรลุไปสู่นิพพานเลย
สังโยชน์คืออะไร
การติดยึด
สังโยชน์ห้า
1. สักกายทิฐิ : คิดว่าขันธ์ห้าคือตัวตน (กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ_ ร่างกาย ความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ ความจำได้หมายรู้ ความคิดอนาคตปรุงแต่ง และอาการรู้แจ้ง)
2. วิกิกิจฉา : สงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส : ยึดมั่นในข้อห้าม ศิลหรือพิธีกรรมที่ผิด
4. กามราคะ : ยังติดหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
5. ปฏิฆ : ความหงุดหงิด ความขุ่นเคืองใจ
สังโยชน์ขั้นสูง _ หลุดพ้นสู่นิพพาน
6. รูปราคะ : ติดในรูปธรรม
7. อรูปราคะ : ติดในอรูปธรรม
8. มานะ : การถือตัว
9. อุจธัจจะ : ความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา : การไม่รู้ตามความจริง
บทธรรมจากพระโอษฐ์ที่ควรใคร่ครวญศึกษา
บทธรรมมีมากมาย พระตถาคตเน้นความจริงที่จำเป็นต่อการพ้นทุกข์ หรือพ้นจากสังสารวัฏ
ธรรมมีเยอะไม่ต้องรู้หมดแต่รู้ให้ถึงใจ แม้เพียงแค่เสี้ยวนำสู่ทางพ้นทุกข์
ที่เน้นๆคือ เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วไม่รู้ไม่ได้
อิทัปปัตตยตา : กฎธรรมชาติของสังสารวัฏ (กฎพื้นฐานของทุกข์สี่บรรทัด)
ปฏิจจสมุปปบาท : อริยสัจส่วนที่เป็นการเกิดและดับไปแห่งทุกข์ (กลไกแห่งทุกข์)
อานาปานสติ : การฝึกสติอยู่กับลมหายใจ ทำสติอยู่กับปัจจุบันรอคอยความตาย (หนทางแห่งการพ้นทุกข์ มรรคานิโรธาแปด)
สัญญาสิบประการ : ความจำได้หมายรู้ในยามเธออาพาธ อาการเธอย่อมทุเลา
ตถาคตคือกัลยาณมิตรที่แท้
พระพุทธเจ้าคือ ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง
ธรรมของตถาคต เน้นว่าเป็นธรรมที่มาจากพระโอษฐ์เป็น อกาลิโก เหนือกาลเวลา
ธรรมเป็นปัจจตัง เรียนรู้ได้ด้วยตน มีตนเป็นสรณะ
ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา
ตถาคตคือกัลยาณมิตร ธรรมคือกัลยาณมิตร
Download ไว้ก็ดีครับแม่
โฆษณา