30 ต.ค. เวลา 08:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

อัปเดตกองทุนหุ้นเวียดนาม และความน่าสนใจในครึ่งปีหลัง 2024

ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ธนาคารโลกได้เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ ซึ่งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะเติบโต 6.1% ภายในปี 2024 และ 6.5% ในปี 2025 โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้า การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว รวมถึงการบริโภคภายในประเทศที่คึกคัก
ในมุมมองของ BBLAM หากพิจารณาตั้งแต่ต้นปี 2024 เศรษฐกิจของเวียดนามมีการเติบโตที่ดี โดยได้รับแรงหนุนจากกระแสเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่แข็งแกร่ง โดยเม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่มุ่งไปที่การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เซมิคอนดักเตอร์ และพลังงานสะอาด
สำหรับภาคการผลิตและการส่งออกก็มีสัญญาณที่ดี เช่นเดียวกับภาคบริการที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ขณะที่การบริโภคภายในประเทศก็คึกคักขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการราว 30%
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของเวียดนามก็มีปัจจัยกดดันอยู่บ้าง อาทิ ความเสี่ยงด้านการดำเนินนโยบาย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในภาคการเมือง ซึ่งเรื่องนี้อาจทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในช่วงครึ่งปีหลังล่าช้าลงบ้าง ขณะเดียวกัน ปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ในภาคธนาคารก็ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม เนื่องจากจะมีการครบกำหนดของพันธบัตรจำนวนมากในช่วงครึ่งปีหลังนี้
BBLAM มองว่าการลงทุนในหุ้นเวียดนามช่วงครึ่งปีหลังนี้ยังคงมีความน่าสนใจอยู่ โดยมี 3 ปัจจัยที่น่าจับตา ได้แก่ กระแสเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน
ปัจจัยแรก BBLAM มองว่า ‘การเบิกจ่าย FDI’ ยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนสภาพแวดล้อมการลงทุนของประเทศเวียดนามที่เอื้อต่อนักลงทุนจากต่างประเทศ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2024 การเบิกจ่าย FDI อยู่ที่ 12,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 8.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2012
ปัจจุบัน การลงทะเบียน FDI ในเวียดนามอยู่ที่ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 10.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าการเบิกจ่าย FDI จะเติบโตที่ระดับ 10% ต่อปี ในอีก
ไม่กี่ปีข้างหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากนโยบายที่เป็นมิตรต่อนักลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญของเวียดนามนั่นเอง
ปัจจัยถัดมาคือ ‘อัตราเงินเฟ้อ’ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เฉลี่ยสำหรับ 7 เดือนแรกของปี 2024 อยู่ที่ 4.12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม ปี 2024 อยู่ที่ 4.36% อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ความกดดันจากเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ แต่จะมีแรงกดดันที่เบาลง เนื่องจากการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน
ปัจจัยสุดท้ายคือ ‘อัตราแลกเปลี่ยน’ โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ค่าเงินดอง (VND) แข็งค่าขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ซึ่งจุดนี้เป็นประโยชน์ต่อการเบิกจ่าย FDI และทำให้เกิดการเกินดุลการค้า สำหรับช่วงครึ่งปีหลังนี้ ค่าเงินดองของเวียดนามอาจต้องเผชิญกับความกดดันจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยอยู่บ้าง
แม้ว่าธนาคารกลางของเวียดนาม หรือ The State Bank of Vietnam (SBV) จะได้ทำการขายเงินสำรองไปแล้วกว่า 6,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อป้องกันการอ่อนค่าของเงินดอง แต่ในอนาคต SBV ก็จะมีตัวเลือกที่จำกัดขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการปกป้องค่าเงินดอง และอาจต้องพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในที่สุด
ในเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ นักลงทุนยังมีโอกาสในตลาดหุ้นเวียดนามหรือไม่ ? ต้องบอกว่าการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นเวียดนามนั้นมีความน่าสนใจ เนื่องจากความหลากหลายภายในกองทุน และความเชี่ยวชาญของผู้จัดการกองทุนที่จะคอยดูแล รวมถึงปรับสัดส่วนการลงทุนให้เท่าทันกับสถานการณ์ โดยกองทุน B-VIETNAM ของ BBLAM มุ่งเน้นการลงทุนในหุ้นเวียดนามที่มีการจัดการแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดที่ดี และมีงบการเงินที่มั่นคง
ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีความพร้อมที่จะรับมือกับต้นทุนการกู้ยืม เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในอนาคต รวมถึงการรับมือกับความผันผวนของตลาดได้ดี โดยผู้จัดการกองทุนของ B-VIETNAM คาดการณ์ว่าการเติบโตของกำไรนั้นจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า และได้ประมาณการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS Growth) อยู่ที่ระดับ 17-19%
ทั้งนี้ นักลงทุนที่กำลังมองหาโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม BBLAM ขอแนะนำ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนาม (B-VIETNAM) รวมถึงกองทุนประหยัดภาษีอย่าง B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF ซึ่งสามารถเลือกลงทุนได้ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 500 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ BBLAM
• โทร. 0 2674 6488 กด 8
• เว็บไซต์ BBLAM
• ลงทุนด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือแอป BF Fund Trading จาก BBLAM
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#BBLAM #กองทุนบัวหลวง #BFFundTrading #MobileBanking #ธนาคารกรุงเทพ #หุ้นเวียดนาม #ลงทุนเวียดนาม
โฆษณา