Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คาลอส บุญสุภา
•
ติดตาม
30 ต.ค. 2024 เวลา 08:14 • ปรัชญา
ความสอดคล้องระหว่างแนวคิดสัญชาติญาณ และโครงสร้างของจิตใจ (Id, Ego และ Superego)
เมื่อผมจะต้องสอนทฤษฎีของฟรอยด์ สิ่งแรกที่ผมจะต้องเริ่มต้นก็คือแนวคิดเกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพราะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด สิ่งที่ยากในการอธิบายทฤษฎีฟรอยด์ก็คือความซับซ้อนของมัน
ความเป็นนามธรรมที่ต้องทำความต้องใจโดยหลีกเลี่ยงอคติมากที่สุดแนวคิดเกี่ยวกับสัญขาตญาณประกอบไปด้วย สัญชาตญาณแห่งความตาย (Death Instinct) หรือเรียกว่า “แรงขับสู่ความตาย” และสัญชาตญาณแห่งการมีวิต (Life Instinct) หรือเรียกว่า “แรงขับสู่ชีวิต” แนวคิดนี้ถูกนำเสนอโดย ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในสาขาจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตเรียกว่า "Eros" เป็นแรงขับที่ส่งเสริมการมีชีวิต การเจริญเติบโต และความสุขของมนุษย์ ฟรอยด์มองว่าแรงขับนี้เกี่ยวข้องกับพลังงานทางจิตที่เรียกว่า Libido ซึ่งมีบทบาทในการขับเคลื่อนความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เช่น การกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ และความรัก
Eros (เอรอส) มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งความรักและความต้องการทางเพศในตำนานกรีก ซึ่งเป็นบุตรของเทพี Aphrodite (เทพีแห่งความรักและความงาม) ฟรอยด์ใช้คำว่า Eros เพื่ออธิบายถึงสัญชาตญาณแห่งชีวิต ซึ่งครอบคลุมถึงความต้องการในการมีชีวิต การสืบพันธุ์ ความรัก ความสัมพันธ์ และการสร้างสรรค์ เพราะ Eros เป็นพลังที่ส่งเสริมการเจริญเติบโต ความพึงพอใจ และการรักษาชีวิตมนุษย์
หน้าที่ของสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตคือสนับสนุนการอยู่รอดและการขยายพันธุ์ ส่งเสริมความรัก ความผูกพัน และความสุข กระตุ้นการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจ ตัวอย่าง การดูแลรักษาตัวเองและผู้อื่น ความรักและความผูกพันในครอบครัว
สัญชาตญาณแห่งความตาย (Thanatos) หรือเรียกว่า “แรงขับสู่ความตาย” เป็นแรงขับที่ฟรอยด์เชื่อว่ามุ่งสู่การทำลายตัวเองและความตาย แนวคิดนี้เป็นส่วนที่ซับซ้อนและขัดแย้งในทฤษฎีของฟรอยด์เอง ฟรอยด์มองว่าแรงขับนี้เป็นพลังที่ต่อต้าน Eros และเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่ทำลายตัวเองและผู้อื่น
Thanatos (ธาเนทอส) มาจากชื่อของเทพแห่งความตายในตำนานกรีก ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความสงบสุขของการตายและความเงียบสงบหลังความตาย ฟรอยด์ใช้คำว่า Thanatos เพื่ออธิบายถึงสัญชาตญาณแห่งความตาย ซึ่งเป็นพลังที่ขับเคลื่อนมนุษย์ให้กลับสู่สภาวะที่ไม่มีชีวิต การทำลายล้าง และการลดความตึงเครียด Thanatos เป็นพลังที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเอง ความเกลียดชัง การทำลายล้าง และการเสี่ยงภัย
หน้าที่ของสัญชาตญาณแห่งความตายคือ มุ่งสู่ความสงบและการสิ้นสุด แสดงออกผ่านพฤติกรรมที่ทำลายตัวเองและผู้อื่น เป็นที่มาของความก้าวร้าวและความรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น การแสดงพฤติกรรมที่ทำร้ายตัวเอง เช่น การติดสารเสพติด การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวหรือรุนแรงต่อผู้อื่น
ความสอดคล้องกันระหว่างสัญชาตญาณทั้งสองแบบและโครงสร้างของจิตใจ
ผมเชื่อว่าผู้อ่านทุกคนอาจเคยได้ยินทฤษฎีโครงสร้างทางจิตใจที่ประกอบด้วย Id, Ego, และ Superego ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ทั้งหมดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจมนุษย์ที่มีบทบาทในการกำหนดพฤติกรรมและความคิดของเรา แนวคิดเรื่องสัญชาตญาณแห่งความตาย และสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตสอดคล้องและทำงานร่วมกับ Id, Ego และ Superego ดังนี้
Id เป็นส่วนของจิตใจที่อยู่ในจิตใต้สำนึกและทำงานบนหลักการแห่งความพึงพอใจ (Pleasure principle) เป็นแหล่งกำเนิดของแรงขับหรือสัญชาตญาณทั้งสอง (Life Instinct และ Death Instinct) และเป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรมพื้นฐานที่สุดของมนุษย์
สัญชาตญาณต้องการการระบายแรงขับสู่ความตายผ่านพฤติกรรมที่ทำลายล้างและการก้าวร้าว นอกจากนั้น Id ยังเป็นแหล่งกำเนิดของแรงขับสู่การมีชีวิตที่มุ่งสู่การสร้างสรรค์และการคงอยู่ของชีวิต ซึ่งต้องการการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหารและเพศสัมพันธ์
Ego เป็นส่วนของจิตใจที่ทำงานบนหลักการแห่งความเป็นจริง (Reality principle) ทำหน้าที่ควบคุมและปรับสมดุลระหว่าง Id และความจริงในโลกภายนอก Ego ต้องรับมือกับแรงขับสู่ความตายของ Id และหาวิธีการที่เหมาะสมในการระบายแรงขับนี้ในสังคม
อัตราจะพยายามที่จะจัดการกับแรงขับนี้โดยไม่ทำลายตัวเองหรือผู้อื่น นอกจากนั้น Ego ยังต้องจัดการกับแรงขับสู่ชีวิตของ Id โดยการหาวิธีการตอบสนองความต้องการพื้นฐานในลักษณะที่เป็นที่ยอมรับทางสังคม
Superego เป็นส่วนของจิตใจที่พัฒนาขึ้นมาจากการเรียนรู้และการรับเอามาตรฐานทางศีลธรรมและจริยธรรมจากครอบครัวและสังคม ทำหน้าที่ควบคุมและตัดสินพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่ของความถูกต้องและความเหมาะสม Superego อาจพยายามกดดันแรงขับสู่ความตายของ Id โดยการใช้ความรู้สึกผิดและความอับอาย
มาตรฐานทางสังคมต้องการให้มนุษย์ปฏิบัติตามมาตรฐานทางศีลธรรมและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำลายตัวเองหรือผู้อื่น นอกจากนั้น Superego ยังสนับสนุนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางศีลธรรมและการสร้างสรรค์ กล่องคือ Superego จะส่งเสริมให้เราปฏิบัติตามความต้องการพื้นฐานในลักษณะที่เป็นที่ยอมรับและไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
ความสอดคล้องกันระหว่าง Id, Ego และ Superego กับสัญชาตญาณแห่งความตาย (Death Instinct) และสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิน (Life Instinct) ทำให้เราเห็นภาพรวมของการทำงานของจิตใจมนุษย์อย่างชัดเจนขึ้น Id เป็นแหล่งที่มาของแรงขับทั้งสอง ที่ต้องการการระบายความต้องการพื้นฐานโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง
Ego ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการสัญชาตญานเหล่านี้ในลักษณะที่สังคมสามารถยอมรับได้ และ Superego มีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมโดยใช้มาตรฐานทางศีลธรรมและจริยธรรม พยายามกดดันแรงขับที่ไม่เหมาะสมและสนับสนุนพฤติกรรมที่สร้างสรรค์
ฟรอยด์มองว่าพฤติกรรมและความคิดของมนุษย์เป็นผลมาจากการต่อสู้และการประสานงานกันระหว่าง Id, Ego และ Superego รวมทั้งสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (แรงขับสู่ชีวิต) และสัญชาตญาณแห่งความตาย (แรงขับสู่ความตาย) ที่เป็นองค์ประกอบของ Id จึงไม่แปลกที่หลายคนจะเรียก Id ว่าสัญชาตญาณดิบ
อ้างอิง
Freud, S. (1961). Beyond the pleasure principle (J. Strachey, Ed. & Trans.). New York, NY: Norton. (Original work published 1920)
Freud, S. (1961). The Ego and the Id. W. W. Norton & Company. (Original work published 1923)
ปรัชญา
จิตวิทยา
แนวคิด
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย