Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PHUKET PRICE
•
ติดตาม
30 ต.ค. 2024 เวลา 08:22 • ข่าว
รัฐบาลเยอรมนีสนับสนุนโครงการพัฒนาเมืองแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำ
กับการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้นำร่องภูเก็ตขอนแก่นและเชียงใหม่รวมทั้งIMT-GT
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา ห้อง Ballroom2 โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อำเภอเมือง ภูเก็ตจังหวัดภูเก็ต นายสมาวิษฎ์ สุพรรณไพร รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิด พร้อมกับกล่าวปาฐกถา ในโครงการพัฒนาเมืองแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำและการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้ (Urban-Act: Integrated Urban Climate Action for Low-carbon & Resilient Cities) และ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินภัยและความเสี่ยง (hazard and risk assessment workshop) ครั้งที่ 1
โดยมี นายไฮน์ริค กูเดนุส (Heinrich Gudenus) ผู้อำนวยการโครงการ Urban-Act,องค์กรความร่วมมืระหว่างประเทศของเยอรมัน(GIZ) ประจำประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนกรมอุตุนิยมวิทยา หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมประชุมด้วย
นายสมาวิษฏ์ สุพรรณไพร รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวตอนหนึ่งว่าโครงการในภูเก็ตเป็นพื้นที่นำร่องเช่นเดียวกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งพื้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย(IMT-GT) ที่มุ่งเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วม และ สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2593
พื้นที่เมืองจะหนาแน่นไปด้วยกิจกรรมและประชากรที่เข้ามาอยู่อาศัยถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้เมืองจำเป็นที่จะต้องการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อประกอบกิจกรรม โดยเฉพาะภาคคมนาคมขนส่ง ดังนั้นเมืองควรมีการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรและเพื่อรองรับความเสี่ยงภัยต่างๆ เพื่อลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ จังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด คือศูนย์กลางการท่องเที่ยว การศึกษานวัตกรรมบริการ ในระดับมาตรฐานนานาชาติ และการพัฒนาที่ยังยืนและภายใต้โครงการ Urban-Act แนวทางการดำเนินงานของจังหวัดภูเก็ตมีดังนี้คือการ ส่งเสริมความสอดคล้องของการวางแผนและผังเมืองในทุกระดับ การกำหนดนโยบายและการนำไปปฏิบัติได้จริงทั้งโครงสร้างทางสถาบันและมาตรการทางกฎหมาย
การลดผลกระทบ (Mitigation) และสร้างการปรับตัว (Adaptation) ต่อการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศควบคู่กัน ทั้งภาคคมนาคมขนส่ง ทรัพยากรน้ำ และภาคส่วนการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
สำหรับ ผลลัพธ์การศึกษาจะได้การฉายภาพอนาคตเมืองภูเก็ต 2 รูปแบบ ได้แก่ภาพอนาคตของเมืองแบบปกติภาพอนาคตของเมืองแบบสุดโต่ง ภายใต้กรอบเวลา ปี พ.ศ. 2573 มีเป้าหมายการดำเนินงาน SDGs ของกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2580 กรอบดำเนินงานยุทธศาสตร์ชาติ 20ปีและปีเป้าหมายของผังเมืองรวมภูเก็ต และปี พ.ศ. 2593
ปีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของ NDC (Nationally Determined Contribution) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองที่เติบโตแบบคาร์บอนต่ำและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้และตนเห็นความสำคัญของโครงการที่จะช่วยพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ
หน่วยงานท้องถิ่นมีความพร้อมในการกำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับบริบทของเมืองและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและการบูรณาการวางแผนแบบองค์รวม และเพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อเมืองและการคมนาคมขนส่ง
นายไฮน์ริค กูเดนุส กล่าวว่า Urban-Act เป็นโครงการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศเยอรมนี ในระดับภูมิภาคเอเชียที่ดำเนินการใน 5 ประเทศ คือประเทศ สาธารณรัฐประชาชน จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในเรื่องปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง รวมทั้งการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหา ในเรื่องนี้แล้วอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศร้อนแห้งแล้งน้ำท่วม และปัญหาดินโคลนถล่ม ที่จังหวัดภูเก็ตโดยเฉพาะ และมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตความเป็นอยู่ และโอกาสทางเศรษฐกิจ
รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ส่วนผลที่ตามมาคือบริการพื้นฐานอาจหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดี และส่งผลกระทบต่อความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาที่ยั่งยืนในขณะเดียวกัน กำลังเห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการขยายตัวของเมืองทั่วทั้งเอเชียและในประเทศไทย ซึ่งทำให้เมืองต่างๆ ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาลในการที่จะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานและให้บริการที่ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ และในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงด้านความเป็นอัจฉริยะใน สังคม ประชากร สิ่งแวดล้อม และสภาพอากาศ ควบคู่กันไปด้วย
นายไฮน์ริค กูเดนุส กล่าวด้วยว่า จากรายงานการติดตามเศรษฐกิจไทยของธนาคารโลกเมื่อกลางปี 2567 ยังเน้นย้ำว่าเมืองรองและพื้นที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว กรณีจังหวัดภูเก็ต มีศักยภาพในการปลดล็อกการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในขณะเดียวกัน เมืองเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการบรรลุการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยคาร์บอนต่ำ และมีความยืดหยุ่นในประเทศไทย ตามแบบจำลอง BCG ของประเทศไทย
ส่วนเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนของประเทศและรัฐบาลเยอรมนีตั้งใจที่จะสนับสนุนการพัฒนาแผนการพัฒนาพื้นที่หรือเขตเมืองที่อ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศในด้านหนึ่ง และยังตั้งใจที่จะช่วยเหลือในการระบุแนวคิดโครงการที่เป็นรูปธรรมและเป็นไปได้ซึ่งมีโอกาสดีที่จะได้รับเงินทุนสนับสนุนและนำไปปฏิบัติ และยินดีที่จะทำสิ่งนี้ในภูเก็ตผ่านความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติหรือ ENTEC
wasanaphuketprice
30-10-2024
#BCG
#Phuketprice
#Phuketmeedee
#จังหวัดภูเก็ต
เศรษฐกิจ
ธุรกิจ
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย