30 ต.ค. 2024 เวลา 10:24 • สุขภาพ

ประกันชีวิตคือการลดความเสี่ยงไม่ใช่การแสวงหากำไร

หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจ Concept ของการทำประกันชีวิต ลูกค้าแนนส่วนใหญ่ที่ถามเรื่องประกันจะชอบมีคำถามพ่วงท้ายมาว่าทำไมเบี้ยแพง? ทำไมได้เงินคืนน้อยจัง? ไม่เคลมทำไมไม่ลดเบี้ยให้บ้าง? ฝากเงินไว้ตั้งหลายปี..ควรได้เงินคืนเยอะกว่านี้นะ และอีกหลายๆคำถาม
วันนี้เรามาทำความเข้าใจ Cencept ของการทำประกันกันค่ะ หลักการของการทำประกันคือ วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วยกันเฉลี่ยภัยจากการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพ พูดง่ายๆก็คือการที่คนหลายคนเอาเงินมารวมกัน เพื่อเก็บไว้รักษาบางคนที่ป่วย เสียชีวิต หรือทุพพลภาพนั่นแหละค่ะ
เอ๊ะ!..แล้วยังไงต่อ หลักการมันมีแค่นี้จริงๆค่ะ เบี้ยประกันที่เราจ่ายไปรวมไว้ที่บริษัทประกัน มันคือเงินกองกลางสำหรับการชดเชยสินไหม เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดตามสัญญาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ไม่ว่าจะป่วย เสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ
แล้วทีนี้ให้เรากลับมามองย้อนคำถามที่แนนได้เกริ่นไปข้างต้น ยกตัวอย่างไปทีละข้อกันค่ะ
=>ไม่เคลมเลยทำไมไม่ลดเบี้ย?
สมมติเราจ่ายเบี้ยไป 10คน คนละ 10บาท รวมทั้งหมดเป็น 100บาท แล้วมี 1 ใน 10คนนั้นป่วยแล้วเคลมค่ารักษาไป 100บาท แบบนี้แหละค่ะที่เรียกว่าการถัวเฉลี่ยความเสี่ยง
ซึ่งในทางกลับกันถ้ามีคนเคลม 3คน คนละ 100บาท ก็แสดงว่าบริษัทประกันต้องหาเงินจากทางอื่นมาจ่ายสินไหม 300บาทค่ะ ฉะนั้นทุกอย่างมันมีกลไกของมัน เราต้องมองมุมกว้างขึ้นไม่ใช่มองแค่มุมที่เราไม่ป่วยไม่เคยเคลม ไม่แน่ในอนาคตเราอาจจะเป็นคนที่ใช้สิทธิ์เคลมนั้น ถึงวันนั้นอาจจะขอบคุณที่บริษัทไม่เก็บเบี้ยคนเคลมเยอะเพิ่มขึ้น (ตามกฎใหม่ New Health Standard ของ คปภ. บริษัทประกันจะไม่สามารถเพิ่มเบี้ยคนเคลมเยอะได้แล้วค่ะ ฉะนั้นบริษัทก็คงไม่ลดเบี้ยให้คนเคลมน้อย)
=>ทำไมเบี้ยแพงจัง?
แผนประกันแต่ละแบบ ถูกออกแบบและคำนวณจากพื้นฐานความเสี่ยงของการใช้ชีวิตคนเราอยู่แล้วค่ะ สังเกตุง่ายๆ เช่น
-เด็กแรกเกิด ป่วยง่าย = เบี้ยแพง
-วัยรุ่น ป่วยยาก = เบี้ยถูก
-อายุเยอะขึ้น ป่วยง่ายขึ้น = เบี้ยแพงขึ้น
-มีโรคประจำตัว = เบี้ยแพงกว่าคนวัยเดียวกัน (หรืออาจะถูกปฏิเสธไม่รับทำประกัน)
-ผู้หญิงเบี้ยแพงกว่าผู้ชาย = ความสามารถในการฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยช้ากว่าผู้ชาย ด้วยเหตุผลของโครงสร้างทางด้านร่างกาย
ดังนั้น ทุกอย่างมันมีเหตุมีผลของมันค่ะ เบี้ยประกันก็เหมือนกัน เบี้ยถูกคำนวณความเสี่ยงจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยและสถิติต่างๆอย่างสมเหตุสมผลแล้ว
=>ฝากเงินไว้ตั้งนานทำไมได้คืนน้อยจัง
ย้อนกลับไปที่หลักการของการทำประกันค่ะ ประกันไม่ใช่การลงทุน มันคือการเฉลี่นภัย ถ้าตั้งใจแสวงหากำไร แนนแนะนำให้แบ่งเงินอีกส่วนไปซื้อกองทุน ซื้อหุ้น หรือพันธบัตรจะดีกว่าค่ะ แต่ก็แน่นอนว่ามันต่างกัน การลงทุนในพวกนี่ก็ไม่ได้คุ้มครองหรือชดเชยสินไหมให้เราในกรณีที่เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตค่ะ ฉะนั้น
การทำประกัน ≠ การลงทุน
คุณแนน AXA
โฆษณา