31 ต.ค. เวลา 03:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Technology Trend 2025

สวัสดีครับ ก็พบกันอีกปี สำหรับการอัพเดทความเป็นมาของเทคโนโลยี รวมทั้ง Trend ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อๆ ไป ซึ่งเราก็หนีไม่พ้นที่คงต้องใช้ การวิเคราะห์ Trend ของ Gartner นะครับ ซึ่งก็สามารถอ่านได้ตาม Blog ของแต่ละสำนัก แต่สำหรับของเรา ผมก็ขอ สรุปใจความต่างๆ ให้ผู้ติดตาม ตามความเข้าใจของผมนะครับ ซึ่งปีนี้ ทาง Gartner ได้วิเคราะห์ Trend โดยแบ่งเป็น 10 หัวข้อใหญ่ ๆ ตามนี้
1. Agentic AI 
จะเป็น AI อัตโนมัติสามารถวางแผนและดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ผู้ใช้กำหนดไว้ และต้องมีรั้วกั้นที่แข็งแกร่งเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับความตั้งใจของผู้ให้บริการและผู้ใช้ ตัว Agentic AI เดี๋ยวทางผมจะมาอธิบายให้ในบทความต่อ ๆ ไปนะครับ
2. AI governance platforms
หลายหน่วยงาน จะมีการกำหนด โซลูชันด้านเทคโนโลยี เพื่อที่จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการประสิทธิภาพทางกฎหมาย จริยธรรม และการดำเนินงานของระบบ AI ได้
3. Disinformation security
ประเภทเทคโนโลยีใหม่ที่มุ่งเน้นการแยกแยะความไว้วางใจอย่างเป็นระบบ ลดการฉ้อโกงด้วยการเสริมสร้างการควบคุมเพื่อยืนยันตัวตน ป้องกันการยึดบัญชีผ่านการให้คะแนนความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง การรับรู้บริบท และแบบจำลองความน่าเชื่อถือที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างต่อเนื่อง และปกป้องชื่อเสียงของแบรนด์โดยการระบุเรื่องราวที่เป็นอันตราย
4. Post-quantum cryptography (PQC)
การป้องกันข้อมูล ที่อาจจะถูกการถอดรหัสด้วย Quantum computer และจะถือกำเนิดการประมวลผลของ Quantum และสิ่งที่ท้าทาย ก็คือ อัลกอริทึม PQC ไม่ใช่การทดแทนอัลกอริทึมอสมมาตรที่มีอยู่ในปัจจุบัน แอปพลิเคชันปัจจุบันอาจมีปัญหาด้านประสิทธิภาพ จำเป็นต้องทดสอบ และอาจต้องเขียนใหม่
5. Ambient invisible intelligence 
เทคโนโลยีผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างแนบเนียนเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติและใช้งานง่ายยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการจะต้องจัดการกับข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและต้องได้รับความยินยอมสำหรับการใช้ข้อมูลบางประเภท ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะปิดใช้งานแท็กเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว
6. Energy-efficient computing
หลายหน่วยงาน รวมทั้งสถานบันการศึกษา จะมีแนวทางในการเพิ่ม sustainability ผ่านสถาปัตยกรรม การเขียนโค้ด และอัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ฮาร์ดแวร์ที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพ และการใช้พลังงานหมุนเวียนในการรันระบบ และสิ่งที่ท้าทายคือ จะต้องมีฮาร์ดแวร์ใหม่ บริการคลาวด์ ทักษะ เครื่องมือ อัลกอริทึม และแอปพลิเคชัน การโยกย้ายไปยังแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ใหม่จะมีความซับซ้อนและมีราคาแพง ราคาพลังงานอาจเพิ่มขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากความต้องการพลังงานสีเขียว
7. Hybrid computing
รวมกลไกการคำนวณ การจัดเก็บ และเครือข่ายที่แตกต่างกันเพื่อแก้ไขปัญหาการคำนวณ บางทีการที่เราทำ service ไว้กับแพลตฟอร์มเรา ทั้งหมด อาจเป็นการเสียเวลา จะต้องมีการใช้ service ของผู้ให้บริการอื่นๆ เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น AI(GPU) as a Service หรือ เทคโนโลยี อื่นๆ
8. Spatial computing
ปรับปรุงโลกกายภาพในรูปแบบดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีเช่น ความจริงเสริมและความจริงเสมือน เพื่อมอบประสบการณ์ที่ได้สัมผัส เพื่อให้ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสำหรับประสบการณ์ที่ได้สัมผัสและโต้ตอบได้ในด้านเกม การศึกษา และอีคอมเมิร์ซ ตอบสนองความต้องการเครื่องมือการสร้างภาพที่ซับซ้อนเพื่อการตัดสินใจและประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และการผลิต
9. Polyfunctional robots
 การพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานหลายอย่างได้และสลับระหว่างงานได้อย่างราบรื่นตามต้องการ ซึ่งก็มีความท้าทายอย่างมาก โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานในเรื่องราคาหรือฟังก์ชันขั้นต่ำที่จำเป็น แต่ถ้าทำได้ ผลประโยชน์ที่ตามมาก็คือ ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่รวดเร็วขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม ซึ่งหมายความว่าการปรับใช้จะรวดเร็ว ความเสี่ยงต่ำและสามารถปรับขนาดได้ สามารถทดแทนหรือทำงานร่วมกับมนุษย์ได้
10. Neurological enhancement
การปรับปรุงความสามารถทางปัญญาด้วยเทคโนโลยีที่อ่านและถอดรหัสกิจกรรมของสมอง ในตอนแรกมีราคาแพง มีแบตเตอรี่และตัวเลือกสำหรับการเคลื่อนที่และการเชื่อมต่อแบบไร้สายจำกัด เป็นการรุกล้ำและมีความเสี่ยง UBMI และ BBMI เชื่อมต่อโดยตรงกับสมองของมนุษย์ ทำให้เกิดความท้าทายด้านความปลอดภัย มีความกังวลด้านจริยธรรม (เช่น การเปลี่ยนแปลงการรับรู้ความเป็นจริงของผู้ใช้)
โฆษณา