เมื่อวาน เวลา 00:07 • ข่าวรอบโลก

“หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง”

ต่อสู้กับอิทธิพลรัสเซียในแอฟริกาด้วยการสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย?
1
“จะหยุดเกมที่ทำลายเสถียรภาพของรัสเซียในแอฟริกาได้อย่างไร” ซิเนบ ริบูอา เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแอฟริกาเหนือของสถาบันฮัดสันของอเมริกาตั้งคำถาม และเธอได้เริ่มเล่าในบทความเผยแพร่ของสถาบันเมื่อ 27 ตุลาคม 2024 ว่า
กลุ่มทหารรับจ้างวากเนอร์ของรัสเซียในแอฟริกา ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองพลแอฟริกา (Africa Corps)” ต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ ความอัปยศอดสู และ “จุดอ่อนที่สำคัญ” ไม่รู้จบ แต่กลับสามารถ “ท้าทายระเบียบโลกในปัจจุบันภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา” ได้อย่างไร และไม่เพียงแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้นแต่รวมถึงฝรั่งเศสด้วย นอกจากนี้รัสเซียยังจัดการกับทั้งสองประเทศในแอฟริกาด้วยการใช้คำพูดลักษณะไหน
1
ซิเนบ ริบูอา เครดิตภาพ: UN Watch
“ทหารรับจ้างวากเนอร์ใช้ข้อมูลเท็จ การโฆษณาชวนเชื่อ และกลยุทธ์สงครามข้อมูลที่ได้รับมาจากสหภาพโซเวียตในการขับไล่ทหารฝรั่งเศสออกจาก บูร์กินาฟาโซ มาลี และไนเจอร์ได้สำเร็จ ทำให้ความสัมพันธ์ของฝรั่งเศสกับอดีตอาณานิคมในแอฟริกาที่พูดภาษาฝรั่งเศสอ่อนแอลง พวกเขายังสร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศในแถบซาเฮลและสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้ทหารอเมริกันถอนทหารออกจากฐานทัพอากาศที่ 101 ในไนเจอร์” เนื้อหาบางส่วนในบทความต้นเรื่อง
สรุปคือ รัสเซียใช้พลังของคำพูดที่โน้มน้าวใจชาวแอฟริกาให้ลุกขึ้นสู้กับชาติตะวันตกที่เข้ามาล่าอาณานิคมในอดีต
ผู้เขียนต้นเรื่องกล่าวต่อเช่น ชาติตะวันตกรับปากที่จะช่วยเหลือประเทศในแอฟริกาเฉพาะในเงื่อนไขที่ “ต้องมีการปฏิรูปประชาธิปไตยและด้านสังคม” ในประเทศเหล่านั้น รัสเซียตีความให้พวกเขาฟังว่าจะมีการจัดตั้งกองกำลังลับเพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงภายในโดยเข้าควบคุมชนชั้นสูงทางการเมืองในพื้นที่ ในขณะที่รัสเซียจะเป็น “ผู้รับประกันความปลอดภัยของระบอบการปกครองที่เชื่อมโยงกับมอสโกด้วยเหตุผลบางประการ โดยเพิ่มการพึ่งพาการสนับสนุนของเครมลิน”
เครดิตภาพ: Arsene Mpiana / AFP via Getty Images
นอกจากนี้รัสเซียได้สร้าง “สถาบันคู่ขนานที่ขัดขวางกิจกรรมทางทหารของประเทศที่เชื่อมโยงกับตะวันตก” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นี่คือวิธีการสร้างพันธมิตรรัฐซาเฮล (Sahel Alliance) ในแอฟริกาตะวันตก เพื่อให้แน่ใจว่า “มาลี” “ไนเจอร์” และ “บูร์กินาฟาโซ” มีกองกำลังป้องกันกลุ่มประเทศของตนเองร่วมกัน และทำหน้าที่เป็น “ตัวถ่วงดุลกับสถาบันที่ฝักไฝ่ฝ่ายตะวันตก”
เครดิตภาพ: wadr.org
โดยสรุปแล้วผู้เขียนบทความต้นเรื่องยังมั่นใจว่าจำเป็นต้องทำบางอย่างเกี่ยวกับอิทธิพลของรัสเซียในแอฟริกา แต่จะต้องทำอะไรบ้าง เธอชี้ให้เห็นว่ากองกำลังรัสเซียในแอฟริกาทำหน้าที่รับมือกับภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายได้ไม่ดีนัก “ผู้ก่อการร้าย กบฏ และกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทุกประเภทเริ่มมองพันธมิตรของรัสเซียกับหน่วยงานท้องถิ่นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของพวกเขา” แต่ก่อนพวกเขาจึงใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ โดยตัดกลุ่มพวกนอกศาสนาเป็นครั้งคราว
แต่แล้วคนรัสเซียก็ปรากฏตัวเข้ามาในแอฟริกา และด้วยเหตุผลบางประการพวกเขาจึงไม่ชอบธรรมเนียมโบราณนี้ และเรื่องราวก็ดำเนินไป “การมาถึงของทหารรับจ้างวากเนอร์จากรัสเซียมีส่วนทำให้กลุ่มญิฮาดเติบโตขึ้น” เป็นผลให้ “ภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้น”
และตอนนี้เพื่อต่อต้านอิทธิพลของรัสเซีย สหรัฐฯ และพันธมิตรนาโตจำเป็นต้องพิจารณาแผนยุทธศาสตร์เดิมสำหรับแอฟริกาอีกครั้ง และนำ “แนวทางการประสานงาน (กับใคร?) เพื่อขจัดภัยคุกคามทันทีในแอฟริกา” นั่นคือเริ่ม “ต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายด้วยตนเอง” ซึ่งมีเพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่ทำได้ และในเวลาเดียวกันก็เพิ่มรายชื่อองค์กรก่อการร้ายเข้าไปด้วย นั่นคือ กองพลแอฟริกาของรัสเซีย
เครดิตภาพ: ncmes.org
สรุปว่าเนื้อหาจากบทความของสถาบันฮัดสันดูเหมือนเป็นการเรียกร้องให้วอชิงตันเพิ่มความพยายามในการล้มล้างรัฐซาเฮล สร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่กับกลุ่มอิทธิพลเก่าในแอฟริกาตะวันตก เช่น กลุ่มญิฮาดจากจามาอัต นุสรัต อัลอิสลาม วัล มุสลิมีน (มีการระบุชื่อในบทความด้วย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของอัลกออิดะห์ (บอกเป็นนัยให้) ทุ่มเงินและอาวุธใส่พวกเขา ล่อพวกเขาเข้าโจมตีรัฐในแอฟริกาที่ “หลุดพ้นจากมือตะวันตก” เพื่อเข้าควบคุมทวีปแอฟริกาได้อีกครั้ง
3
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่าง
เรียบเรียงโดย Right Style
1st Nov 2024
  • เชิงอรรถ:
<เครดิตภาพปก: Al Jazeera>
โฆษณา