โดยที่ลูกค้าสามารถชิมไอศกรีมได้โดยไม่ต้องรู้สึกเกรงใจร้าน ทั้งคู่เลยนำวิธีการขายแบบนี้มาใช้กับร้าน Guss Damn Good ของตัวเองด้วย
2. สร้างเรื่องราวให้กับทุกรสชาติ
หนึ่งในกิมมิกเด่น ๆ ของแบรนด์ Guss Damn Good ที่เรียกได้ว่าเป็นเหมือน DNA ที่อยู่ในไอศกรีมทุกรสชาติคือ Story To Flavor เป็นการสร้างเรื่องราวดี ๆ รอบตัวให้กับไอศกรีมทุกรสชาติ
โดย Guss Damn Good จะไม่ได้มองว่าไอศกรีมเป็นแค่ขนมหวาน แต่คือเครื่องมือในการสร้างประสบการณ์และอารมณ์ที่เฉพาะตัว
ยกตัวอย่างเช่น สมมติลูกค้าซื้อไอศกรีม 3 รสชาติ คือ รสช็อกโกแลต (Here's Your Damn Good Chocolate) รสมินต์ช็อก (SECRET ADMIRER) และรส Don't Give Up#18
การจัดเรียงของร้านคือ รส Don't Give Up#18 จะต้องวางไว้ข้างบนเสมอ เพราะถ้าลูกค้ากินไอศกรีมรสชาติอื่นก่อนแล้วค่อยกินรส Don't Give Up#18 จะทำให้รสชาติไอศกรีมของ Don't Give Up#18 ไม่อร่อย
เพราะรสชาติอื่นอาจจะมีความเข้มข้นมากกว่า มีส่วนผสมที่หลากหลายกว่า รส Don't Give Up#18 ที่มีส่วนผสมแค่นมสดกับครีมฝรั่งเศส
ซึ่งทุกองค์ประกอบที่แบรนด์สร้างมา ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ ชื่อไอศกรีม การออกแบบแพ็กเกจจิง หรือการดิไซน์รสชาติไอศกรีมให้ลูกค้า ล้วนเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวเดียวกันกลายเป็นคอนเซปต์และ DNA ที่ชัดเจนของแบรนด์ Guss Damn Good
สุดท้ายแล้ว แทนที่ Guss Damn Good จะมองว่าตัวเองขายไอศกรีม แต่ Guss Damn Good กลับมองว่าตัวเองกำลังขาย ประสบการณ์และความรู้สึก