Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
LGBTQ.TH 101
•
ติดตาม
3 พ.ย. เวลา 01:00 • ข่าว
22 มกราคม 2568 ประเทศไทยจะก้าวสู่ยุคสมรสเท่าเทียมแล้ว
ย้อนกลับไปวันที่ 24 กันยายน 2567 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567" (ป.พ.พ.) หรือที่รู้จักกันในชื่อ #กฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปิดโอกาสให้บุคคลทุกเพศสามารถเข้าจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมกัน
กฎหมายสมรสเท่าเทียม นี้เป็นการตอกย้ำถึงความก้าวหน้าของประเทศไทยในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกัน โดยมีใจความสำคัญคือ “การรับรองสิทธิในการสมรสของบุคคลสองคนโดยไม่จำกัดเพศ ทำให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ” กฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่มีกฎหมายลักษณะนี้ ต่อจากไต้หวัน และเนปาล และประเทศไทยยังเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
เนื้อหาสำคัญในกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ จะมีการยกเลิกการใช้คำว่า "ชายหญิง" แต่จะเปลี่ยนเป็น "บุคคลสองคน" แทน ซึ่งหมายถึงเพศใดก็ได้ การหมั้นจะใช้คำว่า "ผู้หมั้น" และ "ผู้รับหมั้น" การหมั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อทั้งสองฝ่ายมีอายุ 18 ปีขึ้นไป แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดไว้ที่ 17 ปีขึ้นไป นอกจากนี้กฎหมายยังให้ความคุ้มครองสิทธิของทั้งฝ่าย เช่น
●
การรับบุตรบุญธรรม: คู่สมรสทุกคู่สามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
●
สิทธิในการเรียกค่าทดแทน: ในกรณีที่เกิดความเสียหาย คู่สมรสมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้เท่าเทียมกัน
●
สิทธิในการหย่า: คู่สมรสมีสิทธิในการฟ้องหย่าได้ตามกฎหมาย
●
สิทธิการจดทะเบียนกับต่างชาติ: คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนี้ได้ โดยจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตในกรุงเทพฯ หรือทำในต่างประเทศ ณ สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ
หากคู่สมรสจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับกฎหมายฉบับอื่น ก็จะได้รับสิทธิตามกฎหมายด้วย เช่น สิทธิในการใช้นามสกุลของคู่สมรสในพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 สิทธิในการให้ความยินยอมรักษาพยาบาลในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 สิทธิในการบรรจุเป็นข้าราชการกรณีคู่สมรสเสียชีวิตจากการรบหรือการปฏิบัติหน้าที่ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
หากกฎหมายฉบับใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในทันที ก็จะต้องมีการเสนอแก้ไขกฎหมายด้วยการเสนอร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 180 วันนับแต่วันที่ป.พ.พ. แก้ไขใหม่บังคับใช้
ใครที่มีคู่เคียงกายแล้ว ไม่ว่าจะเพศเดียวกันหรือบุคคลต่างเพศ และตั้งใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน ก็เตรียมตัวจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมกันได้เลย
lgbtq
missiontothemoon
ข่าวรอบโลก
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย