4 พ.ย. เวลา 08:52 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

โปแลนด์ใช้หอยกาบ 8 ตัว เป็นผู้พิทักษ์และตรวจวัดคุณภาพน้ำประปา

น้ำดื่มที่สะอาดถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตในเมืองใหญ่ประชากรหนาแน่น การตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญ และอาจไม่มีใครเชี่ยวชาญด้านน้ำสะอาดไปมากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยอยู่ในน้ำสะอาดตลอดเวลานั่น คือ หอยตลับ (Clams) หรือหอยกาบ
ในเมืองโปซนาน เมืองทางตะวันตกของประเทศโปแลนด์ ได้มีการนำหอยตลับ (Clams) หรือหอยกาบ มาใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำจากแม่น้ำวาร์ตา ในโรงบำบัดน้ำเดเบียคซึ่งถูกใช้ผลิตน้ำประปาให้กับเมือง ระบบตรวจสอบทางชีววิทยาและเทียมช่วยให้มั่นใจได้ว่าน้ำที่สูบผ่านท่อประปาในเมืองจะปลอดภัยต่อการดื่ม
ทีมงานได้อาศัยคุณสมบัติอย่างหนึ่งของหอยตลับ (Clams) ที่จะเปิดฝาขึ้นทันทีหากพบว่าน้ำมีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่ทำให้หอยเกิดการระคายเคือง โดยติดตั้งสปริงที่ส่วนปลายติดตั้งเซนเซอร์เอาไว้ เมื่อหอยเปิดฝาเซนเซอร์ก็จะถูกยกขึ้นและส่งสัญญาณไปยังระบบคอมพิวเตอร์
หลังจากทำงาน 2 สัปดาห์ ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมงานพบว่าหอยทั้ง 8 ตัว มีการขยับเปิดและปิดฝารวมกันกว่า 32,000 ครั้ง ซึ่งทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของน้ำประปาปิดการใช้งานชั่วคราวเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำเพิ่มเติม
"เราใช้การตรวจสอบทางชีวภาพเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของกระบวนการบำบัดน้ำ หอยแมลงภู่ที่เราใช้จากหอยตลับแม่น้ำสายพันธุ์ขอบแหลมที่มีความอ่อนไหวต่อมลพิษทางน้ำมาก และถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำวิสตูลาและทะเลสาบเซกเร" บริษัทผลิตน้ำประปาโวดอชองกี วาร์ซาฟสเก (Wodociągi Warszawskie) เปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์
การใช้สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำหรือสภาพอากาศไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยในอดีตการเหมืองถ่านหินในสหราชอาณาจักรมักจะมีการนำนกขมิ้นลงไปในเหมืองถ่านหินใต้ดินพร้อมกับมนุษย์ ไม่ใช่เพื่อฟังเสียงนกร้อง แต่เสียงร้องของนกจะเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้เป็นอย่างดี
หากนกขมิ้นหยุดร้องเพลงแสดงว่ากำลังมีระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากนกขมิ้นมีความไวต่อก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มากกว่ามนุษย์หลายเท่า ทำให้ชาวเหมืองรู้ว่าถึงเวลาอพยพออกจากเหมืองถ่านหินได้ทันเวลา
ที่มาของข้อมูล
ที่มาของรูปภาพ Julia Pełka / GRUBA KAŚKA via Reddit
#clams #น้ำประปา #หอยกาบ #น้ำดื่ม #TNNTech #TNNTechreports
โฆษณา