9 พ.ย. เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode 91: Kinesiology of the Wrist Complex #3 - Carpal tunnel ##

Carpal tunnel เป็นโครงสร้างที่สำคัญมากของข้อมือ เปรียบเหมือนเป็นอุโมงค์ที่มีโครงสร้างสำคัญหลายๆตัวลอดผ่าน ในบทความนี้ ผมจะอธิบายเกี่ยวกับ carpal tunnel ตั้งแต่ขอบเขตของโครงสร้าง โครงสร้างสำคัญที่ผ่าน ไปจนถึงภาวะ carpal tunnel syndrome ที่เราเจอกันได้บ่อยๆครับ
Carpal tunnel เป็นช่องทางผ่านของเส้นเอ็นและเส้นประสาทที่สำคัญหลายตัว ซึ่งจะวิ่งจากแขนลงมาสู่มือ โดยมีขอบเขตที่ชัดเจน ประกอบด้วยโครงสร้างกระดูกและ ligament ซึ่งทำให้เกิดเป็นอุโมงค์ที่มีลักษณะเฉพาะ
ขอบเขตของ carpal tunnel ประกอบด้วย
- ด้านหลัง (posterior): กระดูก carpal ทั้ง 8 ชิ้น โดยเฉพาะ scaphoid, lunate, triquetrum และ hamate ซึ่งจะเรียงตัวเป็นรูปโค้งคว่ำ
- ด้านข้าง (lateral): กระดูก scaphoid และ trapezium
- ด้านใน (medial): กระดูก pisiform และ hook of hamate
- ด้านหน้า (anterior): เอ็น flexor retinaculum (หรือ transverse carpal ligament) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งแรง ยืดจากกระดูก scaphoid และ trapezium ทางด้านนอก ไปยังกระดูก pisiform และ hook of hamate ทางด้านใน
ภายใน carpal tunnel มีโครงสร้างสำคัญที่ผ่านทั้งหมด 10 โครงสร้าง ประกอบด้วยเส้นเอ็น 9 เส้น และเส้นประสาท 1 เส้น โดยเส้นเอ็นที่ผ่านประกอบด้วย flexor digitorum superficialis 4 เส้น สำหรับการขยับนิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย, flexor digitorum profundus 4 เส้น เป็นเส้นเอ็นที่อยู่ลึกกว่า และ flexor pollicis longus 1 เส้น สำหรับนิ้วโป้ง
.
ส่วนเส้นประสาทที่ผ่าน carpal tunnel คือ median nerve ซึ่งเป็นเส้นประสาทสำคัญที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกบริเวณมือและนิ้วมือ
Carpal tunnel syndrome เป็นภาวะที่เกิดจากการกดทับของ median nerve ที่อยู่ภายใน carpal tunnel ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบวมของเส้นเอ็น การเปลี่ยนแปลงของ carpal bones หรือการหนาตัวของ flexor retinaculum การกดทับนี้ส่งผลให้เกิดอาการชา เสียวแปลบ หรือปวดบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งด้านนอกของนิ้วนาง ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกเลี้ยงโดย median nerve อาการมักจะแย่ลงในเวลากลางคืนหรือเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องงอข้อมือเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการกล้ามเนื้อฝ่ามืออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ thenar และมีความยากลำบากในการทำงานที่ต้องใช้การควบคุมการเคลื่อนไหวที่ละเอียด
ในการวินิจฉัย carpal tunnel syndrome นักกายภาพบำบัดจะใช้การซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก ประเมินการทำงานของมือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงการใช้ special test เช่น Phalen's test, Tinel's sign ร่วมด้วย
การรักษา สำหรับการรักษาทางกายภาพบำบัด เราสามารถใช้วิธีการต่างๆ เช่น การทำ nerve gliding exercises เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของ median nerve, การยืดกล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณข้อมือและมือ, การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและนิ้ว, การใช้เทคนิค manual therapy เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของ carpal bone, การให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับท่าทางการทำงานและการใช้มือในชีวิตประจำวันเป็นต้น
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/ หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/ ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2017). Kinesiology of the musculoskeletal system: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Drake, R., Vogl, A. W., & Mitchell, A. W. M. (2019). Gray's Anatomy for Students.
Moore, K. L., Dalley, A. F., & Agur, A. M. R. (2018). Clinically Oriented Anatomy. Wolters Kluwer.
Agur, A. M. R., Dalley, A. F., & Grant, J. C. B. (2013). Grant's Atlas of Anatomy. Lippincott Williams & Wilkins.
Gilroy, A. M., MacPherson, B. R., & Ross, L. M. (2020). Atlas of Anatomy (4th ed.). Thieme.
โฆษณา