4 พ.ย. เวลา 15:51 • ข่าว

มาสรุปดราม่า Subway ให้ฟังกันสั้นๆ

ก่อนอื่นขอ disclaim ว่าไม่ได้มีเจตนาจะหมิ่นประมาทใครนะครับ ข้อมูลอ้างอิงตาม link ด้านล่าง
Subway ได้มีการดำเนินการในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2546 โดยเริ่มต้นที่ 2 สาขา ก่อนจะมาเป็น 12 สาขาในเดือนพฤษภาคม ปี 2548 และเป็น 60 สาขาในปี 2561 จนในปี 2565 ทาง Subway ได้เซ็นสัญญากับบริษัท อะบาวท์ แพสชั่น จำกัด ที่เดิมทีก็เป็น Franchisee ของ Subway อยู่แล้วหลายสาขา ให้เป็น Master Franchisee ในประเทศไทย
ซึ่งมีแผนที่จะขยายสาขาจาก 130 สาขาให้เพิ่มขึ้น 5 เท่า อนึ่ง บริษัท อะบาวท์ แพสชั่น จำกัด เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คนหนึ่งคือ ธนากร ธนวริทธิ์ เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ที่เพิ่งล้มละลายไปเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567
ซึ่งข้อมูลตรงนี้ไม่ชัดเจน แต่เข้าใจว่า บริษัท ฟู้ด เจเนอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของร้าน Subway ส่วนใหญ่กว่า 100 สาขา ซึ่งข้อมูลตรงนี้ไม่ชัดเจน แต่เข้าใจว่าทาง Subway เองน่าจะได้รับเงินจากการขายสัญญากับร้าน Subway ต่างๆ ไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้ และเป็นเหตุที่ทำให้ Subway ต้องเปลี่ยน Master Franchisee ในประเทศไทย
ซึ่งทาง Subway ก็ได้เปิดให้มีการจัดหา Master Franchisee รายใหม่ ซึ่งก็มีผู้เข้าแข่งขันหลายราย แต่ในที่สุดทางกลุ่ม PTG ผู้ให้บริการปั๊มน้ำมัน PT และผู้ให้บริการร้านกาแฟพันธุ์ไทย ก็ได้ชนะในการเจรจา และเป็น Master Franchisee ใหม่ของ Subway ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมยายน 2567 โดยบริษัทได้แจ้งข่าวดังกล่าวให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบ ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
โดยบอกว่า บริษัทที่เข้าทำสัญญาคือ บริษัท โกลัค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ถือหุ้น 70% โดยบริษัท จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (GFA) ซึ่งถือหุ้น 99.99% โดยบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) อีกที และมีคุณเพชรัตน์ อุทัยสาง ผู้บริหารเดิมของบริษัท อะบาวท์ แพสชั่น จำกัด มาเป็นผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นของบริษัท โกลัค จำกัด ด้วย
แต่ทางบริษัท อะบาวท์ แพสชั่น จำกัด ก็ออกมายืนยันว่าบริษัทยังคงเป็นผู้รับสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์ของ Subway จาก Subway International B.V. (SIBV) อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 จนทางกลุ่ม PTG ต้องออกมาชี้แจงยืนยันสัญญาดังกล่าวอีกทีในวันที่ 1 เมษายน 2567
หลังจากนั้น บริษัท โกลัค จำกัด จึงได้ทยอยเซ็นสัญญากับ Franchisees เดิม แต่ร้านภายใต้การบริหารของบริษัท ฟู้ด เจเนอเรชั่น จำกัด จำนวน 105 สาขา ก็ไม่ได้ตกลงทำสัญญากับบริษัท โกลัค จำกัด ในขณะที่อีก 51 สาขายอมตกลงที่จะไปต่อกับบริษัท โกลัค จำกัด
ทาง Subway จึงได้ยุติความสัมพันธ์กับสาขาที่ไม่ได้ตกลงทำสัญญาใหม่กับบริษัท โกลัค จำกัด จึงได้เลิกการบริการวัตถุดิบ อุปกรณ์ และบรรจุภัณฑ์ทั้งหลายกับสาขาเหล่านี้ ทำให้สาขาที่ดำเนินการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายนี้ แทนที่จะปิดร้าน กลับไปเลือกหาวัตถุดิบ อุปกรณ์ และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เอง จึงมีคุณภาพไม่ได้ตามมาตรฐานของ Subway ดังที่เห็นเป็นข่าวว่า กระดาษที่ใช้ห่อมีสีเลอะออกมาเปื้อนมือ
ซึ่งในการดำเนินคดีกับสาขาเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของ Subway ที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากความผิดของร้านค้าเหล่านี้คือการละเมิดเครื่องหมายทางการค้า ซึ่งมีเรื่องจุกจิกมากมาย และบังคับทางกฎหมายยาก และการที่ร้านเหล่านี้ยังคงดำเนินการต่อไป ก็ส่งผลกระทบกับภาพลักษณ์ของ Subway ในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งทาง Subway อยู่ระหว่างการแต่งตั้งทนายเพื่อฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด
ส่วนทางบริษัท​ โกลัค จำกัดทำได้ก็คือ การเปลี่ยนโลโก้ของ Subway ใหม่ให้ชัดเจนว่าเป็นร้านที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง และประกาศรายชื่อของร้านค้าที่ถูกยกเลิกสิทธิ์ และร้านดำเนินการอย่างถูกต้อง และหวังว่า กระแสดราม่าดังกล่าวจะช่วยทำให้เกิดการดำเนินคดีกับร้านค้าที่ดำเนินการอย่างผิดกฎหมายในที่สุด
โดยร้านที่ดำเนินการอย่างถูกต้องได้แก่
1
1. พัทยากลาง (ใกล้หาด)
2. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารระหว่างประเทศ
3. สุขุมวิท 23
4. เอาต์เลตมอลล์ พัทยา
5. สยาม พารากอน
6. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารภายในประเทศ (1)
7. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารภายในประเทศ (2)
8. สนามบินดอนเมือง ระหว่างประเทศ
9. ฟอร์จูนทาวน์
10. บางจากสุขุมวิท 62
11. โรงเรียนนานาชาติ บางกอกพัฒนา
12. เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต
13. โรงพยาบาลเวชธานี
14. อมาติโอ ชิล ปาร์ค
15. ปั๊ม ปตท. เดอะ ดีล แจ้งวัฒนะ
16. หาดจอมเทียน
17. โรงพยาบาล เมคปาร์ค
18. มอเตอร์เวย์ (ขาเข้า)
19. สนามบินดอนเมือง อาคารเทอร์มินัล 2 ชั้น 1
20. เอ็มควอเทียร์
21. สนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารภายในประเทศ
22. ฮาบิโตะ
23. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 แอร์ไซด์
24. สนามบินเชียงใหม่-ชาร์เตอร์
25. สนามบินภูเก็ต-บริเวณเช็กอิน
26. มอเตอร์เวย์ (ขาออก)
27. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
28. ไมค์ ช้อปปิ้งมอลล์
29. ชาลีเพลส (ซอยบัวขาว)
1
30. คาลเท็กซ์ บางใหญ่
31. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า
32. สนามบินสุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
33. อาคารซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์
34. ตลาดรวมทรัพย์
35. เทอร์มินอล 21 (อโศก)
36. ไทม์สแควร์
37. พีที รัชดาภิเษก
38. สนามบินดอนเมือง อาคารเทอร์มินัล 2 ชั้น 4
39. สนามบินสุวรรณภูมิ ผู้โดยสารระหว่างประเทศ
40. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3
41. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4
42. ปั๊มบางจาก เกษตรนวมินทร์
43. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 (Concourse E)
44. ถนนเลียบหาดป่าตอง
45. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 อาคารใหม่ 1
46. เซ็นทรัล ฟลอเรสต้า
47. อ่าวนาง
48. นิมมานเหมินท์ ซอย 10
49. เมกา บางนา
50. ฮักมอลล์ ขอนแก่น
51. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 (Concourse C)
อ้างอิง:
โฆษณา