Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Bulletin Thaihealth
•
ติดตาม
5 พ.ย. เวลา 04:15 • การศึกษา
สสส. สานพลัง ไซด์คิก เปิดตัว นวัตกรรมเชื่อมใจคนต่างวัย
ดีต่อใจ:หลังพบคนไทยเสียงซึมเศร้า 17.2% ชี้ 1 ใน 3 เป็นคนรุ่นใหม่อายุต่ำกว่า 20 ปี เปิดพื้นที่ให้เยาวชนพบผู้ใหญ่ที่แตกต่าง ปลดล็อค "วยาคติ" ผ่าน 4 พฤติกรรมเชื่อมวัย สู่การเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมที่มีต่อวัยได้อย่างแท้จริง ดัน
ปรับใช้นวัตกรรมสู่ภาคการศึกษาในอนาดต
เวลา 09.00 น. วันที่ 4 พ.ย. 2567 ที่ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ บริษัท ไซด์คิก จำกัด (Sidekick) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและภาคีเครือข่าย เปิดเวทีนำเสนอนวัตกรรมสานความเข้าใจระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ผ่านพฤติกรรมเชื่อมวัยภายใต้โครงการ "ประสบการณ์" เพื่อลดช่องว่างและทัศนคติระหว่างวัย
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ข้อมูลรายงานภาวะสังคมไทยโตรมาส 1ปี 2567 ที่รายงานการประเมินสุขภาพจิตคนไทย ทุกช่วงอายุ จาก Mental Health Check in ของกรมสุขภาพจิต
พบผู้เสี่ยงซึมเศร้า 17.2% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 10.6% และมีความเครียดสูง 15.4% โดยประชากรอายุ ต่ำกว่า 20 ปี มากถึง 1 ใน 3 เสี่ยงซึมเศร้าและเกือบ 1 ใน 4 เสี่ยงฆ่าตัวตาย อีกทั้งวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายสูงที่สุด คือ 116.81 รายต่อแสนประซากร
ขณะที่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุด สาเหตุมาจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ความเครียดจากเศรษฐกิจ เครียดจากการทำงาน ความคาดหวังสูงจากคนรอบข้าง การขาดปฏิสัมพันธ์แบบซึ่งหน้า ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมทั้งผู้สูงวัยมีความเหงาและโดดเดี่ยว"อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต คือ ปัญหาวยาคติ (ageism) หรืออคติระหว่างช่วงช่วงวัย
ที่รายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า วยาคติแพร่หลายมากที่สุดในอาเซียน อย่างประเทศไทย มาเลเซียและฟิลิปปินส์ หลายคนมักเข้าใจว่า แค่มีความคิดอคติระหว่างช่วงวัย ทำให้เสียความรู้สึก ขุ่นเคืองใจ จากการโดนตัดสินหรือเลือกปฏิบัติ แต่ความจริงแล้วส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ และความเป็นอยู่ที่ดี
การใช้ชีวิตในสังคม ทำให้ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองลดน้อยลง และเกิดภาวะซึมเศร้า หรืออาจส่งผลให้มีอาการซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น และที่ร้ายแรงที่สุด อาจเกิดความสูญเสียถึงชีวิตได้
สสส. ให้ความสำคัญกับกับการลดช่องว่างระหว่างวัย จึงสนับสนุนการศึกษาแนวทางและพัฒนารูปแบบนวัตกรรม เพื่อก้าวข้ามวยาคติ โดยคิดค้นนวัตกรรมช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย ส่งเสริมสุขภาพจิต และสร้างพื้นที่ให้คนต่างวัยได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมด้วยกันมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมสามารถนำไปขยายผลสู่ภาคการศึกษาต่อได้" ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
#สสส #สานพลัง #สร้างนวัตกรรม #สื่อสารสุข #สร้างเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคมสุขภาวะ #thebulletintthaihealth #thebulletinthailand #thebulletin #bulletin #สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ #สำนัก2 #ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ #การสร้างเสริมสุขภาพจิต #จิต
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย