MEDIA ALERT กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ศึกษาเปรียบเทียบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการระหว่างทีวีดิจิทัลไทย และบริการ OTT 2 แพลตฟอร์ม
ได้แก่ Netflix และ Prime Video ว่ามีความเหมือน ความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ใน 3 ประเด็น คือ 1) ระบบการจัดระดับความเหมาะสมในภาพรวม
2) ระบบการขึ้นคำเตือนของทั้ง 3 แพลตฟอร์ม และ 3) การจัดระดับความเหมาะสมจากตัวอย่างรายการที่ออกอากาศข้ามแพลตฟอร์ม หน่วยการศึกษา คือ ละครหรือซีรีส์ และภาพยนตร์ ที่เผยแพร่ทางทีวีดิจิทัล และบริการ OTT 2 ได้แก่ Netflix และ Prime Video ระหว่างวันที่ 15-30 ธันวาคม 2566 โดยใช้วิธีสุ่มเลือก
ระบบการจัดระดับความเหมาะสมในภาพรวม
การจัดเรตของรายการทีวีดิจิทัลในประเทศไทย และการจัดเรตเนื้อหาของ Netflix และ Prime Video ใช้หลักเกณฑ์คล้ายคลึงกันในการพิจารณา อาทิ เนื้อหาทางเพศ ความรุนแรง การใช้ภาษาไม่สุภาพ มีระดับการจัดเรตติ้งที่แบ่งตามความเหมาะสมของเนื้อหาสำหรับกลุ่มอายุต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
รายการทีวีดิจิทัลในประเทศไทย จัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาตามประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขณะที่การจัดเรตรายการของ Netflix และ Prime Video เป็นกติการ่วมกันของผู้ประกอบการ
ขณะที่ Netflix และ Prime Video มีมากกว่า 1 คำเตือนในแต่ละตอน เช่น การระบุถึงเซ็กซ์ที่รุนแรง ทารุณกรรมเด็ก การฆ่าตัวตาย ฯลฯ ที่ปรากฏในเนื้อหาละครตอนนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ เพื่อเตือนให้ทราบก่อนตัดสินใจรับชม
เช่นเดียวกับ Prime Video ที่มีการจัดระดับความเหมาะสมในทุกตอนของละครที่เป็นหน่วยการศึกษา ตามลักษณะของเนื้อหาที่ปรากฏจริง จึงทำให้ระดับความเหมาะสมของละครแต่ละตอนมีความแตกต่างกัน ส่วนเนื้อหาที่ยังไม่มีการกำหนดระดับความเหมาะสมจะขึ้นสัญลักษณ์ NR และคำเตือน เรตติ้งอายุ NR (Not Rated) ในรายการตอนนั้น ๆ