5 พ.ย. 2024 เวลา 17:00 • ธุรกิจ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จะเก็บกับธุรกิจบ้างประเภทเท่านั้นตามซื่อเลย แต่ธุรกิจบ้างประเภทนี้ล่ะ ที่ผู้อ่านอาจยังไม่รู้ว่ามีธุรกิจประเภทไหนบ้าง วันนี้ทาง Easy Finance จะมาขยายความเพิ่ม เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ
ภาษีธุรกิจเฉพาะคือภาษีที่เก็บจากกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษแยกจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บจากธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะด้วยแบบคำขอ ภ.ธ.01 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มกิจการ
(1) กิจการที่ต้องเสียธุรกิจเฉพาะมีอะไรบ้าง
  • 1.
    กิจการธนาคาร
  • 2.
    ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  • 3.
    การรับประกันชีวิต
  • 4.
    การรับจำนำ
  • 5.
    การประกอบการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่างๆ
  • 6.
    การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
  • 7.
    การซื้อและขายคืนหลักทรัพย์
  • 8.
    การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง โดยผู้ประกอบการธุรกิจแฟ็กเตอริ่งนั้นตกลงจะให้สินเชื่อรวมถึง การรับที่จะดำเนินธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ การบริหารลูกหนี้ การเรียกเก็บหนี้ เป็นต้น
(2) ฐานและอัตราภาษีสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะ
ฐานและอัตราภาษีสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะ
(3) วิธียื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการโดยใช้แบบภ.ธ.40 โดยแสดงประเภทกิจการ จำนวนเงินรายรับ จำนวนเงินภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีท้องถิ่นร้อยละ10ของภาษีธุรกิจเฉพาะ
2. ผู้ประกอบการมีหน้าที่ที่ต้องยื่นแบบไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือสามารถยื่นแบบทางออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรซึ่งได้รับสิทธิ ขยายเวลายื่นแบบและชำระภาษีออกไปอีก 8 วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบ
1
3. ภาษีในเดือนภาษีใด เมื่อรวมคำนวณแล้วมีจำนวนไม่ถึง 100 บาท ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น แต่ยังคงต้องยื่นแบบแสดงรายการตามปกติ
(4) เอกสารหลักฐานที่ต้องจัดทำ
1. รายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่าย โดยจัดทำเป็นรายวันและสรุปรายการทุกสิ้นเดือน
2. รายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่าย จัดทำเป็นรายสถานประกอบการและลงรายการให้เสร็จภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายรับ
3. จัดเก็บรายงานดังกล่าวและเอกสารประกอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันจัดทำรายงานแล้วแต่กรณี
(5) การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วย การประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
4. การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
ในกรณีที่มีปัญหาว่า กิจการใดเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าวนั้นก็ได้และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัย ภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยนั้นในราชกิจจานุเบกษา
6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือว่าเป็นทางการค้าหรือหากำไรตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้แก่การขายอสังหาริม ทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
(6) กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3. กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
4. กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5. กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
6. กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น
7. กิจการขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
8. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
9. กิจการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
10. กิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
11. กิจการของกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
12. กิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
13. กิจการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
14. กิจการของนิติบุคคลเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
14.1 กิจการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรับโอนทรัพย์สินจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น หรือการโอนทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
14.2 กิจการที่ได้รับโอนมาจากผู้โอนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร
14. กิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เฉพาะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการโอนทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือการรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ
15. กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบัน การเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะการประกอบ
16. กิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
17. กิจการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
18. กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินตามโครงการพัฒนาคนจนในเมือง
19. กิจการของสหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิก เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
19.1 ต้องเป็นสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโครงการพัฒนาคนจนในเมืองของการเคหะแห่งชาติ และได้รับเงินกู้ตามโครงการดังกล่าว
19.2 ต้องนำเงินที่ได้รับไปจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อให้แก่สมาชิกของสหกรณ์นั้น
20. กิจการของสถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะกรณีที่
20.1 สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมด ที่มีสิทธิออกเสียงหรือในกรณีที่สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้นไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง จะต้องมีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้น เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
20.2 เป็นรายรับที่ได้จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ เนื่องจากการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่มี สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมด ที่มีสิทธิออกเสียง หรือการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อใช้ใน การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินนั้น หรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้น ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
21.กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรเนื่องจาก
21.1 การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝาก หรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝาก โดยการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนด ได้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
21.2 การขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างการขายฝาก และระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกินห้าปี
22. กิจการของรัฐวิสาหกิจในส่วนของรายรับที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วน หรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
23. กิจการของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เฉพาะการประกอบ
กิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
24.กิจการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
25. กิจการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
26. กิจการของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีผลใช้บังคับ
27. กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
28. กิจการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
29. กิจการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอน เนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
30. กิจการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
31. กิจการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
32. กิจการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่เปิดทำการ ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นเป็นต้นไป
33. กิจการของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) เฉพาะการให้กู้ยืมเงินแก่รัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือ พัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
34. กิจการของสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
35. การโอนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการแยกกิจการประกันชีวิต และกิจการประกันวินาศภัยออกจากกัน ตามมาตรา 127 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 หรือตามมาตรา 121 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535
36. การขายอสังหาริมทรัพย์ขององค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงิน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหาร สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
37. การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการให้แก่องค์การฯ หรือบริษัทจำกัดตาม 36.
ข้อมูลอ้างอิง
ติดต่องานได้ที่
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
สินค้าที่นำเสนอขายมีในเฉพาะ "Shopee" เท่านั้น
สามารถซื้อสินค้าได้ที่นี่
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องชำระจากรายได้หรือกำไรที่ได้รับจากการดำเนินธุรกิจประเภทเฉพาะที่กฎหมายกำหนด
Easy Finance
โฆษณา