8 พ.ย. เวลา 02:00 • ธุรกิจ

ออดิท ตรวจอะไรบ้าง? เรื่องน่ารู้วงการบัญชี 🧐

ในโลกของธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ การตรวจสอบบัญชีหรือที่เรียกว่า ออดิท นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถละเลยได้เลยนะคะ การตรวจสอบบัญชีเป็นกระบวนการสำคัญในการตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น ๆ ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกไปยังรายละเอียดของการตรวจสอบบัญชี และไขข้อสงสัยว่า ออดิท ตรวจอะไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจในเรื่องนี้ได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
🎯 ข้อกฎหมายบังคับใช้การตรวจสอบบัญชี
♟พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 11 วรรค 4 กำหนดให้งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่ จะเป็นงบการเงินซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท และสินทรัพย์รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
♟พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 38 ผู้ใดจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี
♟พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 56 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา 32 มาตรา 33 หรือมาตรา 34 จัดทำและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลดำเนินงาน
(1) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว
(2) งบการเงินประจำงวดการบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(3) รายงานประจำปี
(4) รายงานการเปิดเผยข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับบริษัทตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด
🎯ออดิทตรวจงบการเงินยังไงบ้าง?
การตรวจสอบงบการเงินหรือออดิท (Audit) มีขั้นตอนหลักๆ ที่ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่างบการเงินของบริษัทเป็นไปตามมาตรฐานและเป็นความจริงตามข้อมูลทางการเงิน โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนของการตรวจสอบจะเริ่มต้นจากการวางแผน ทดสอบระบบควบคุมภายในเพื่อประเมินระบบและให้ความเชื่อมั่นว่าระบบภายในที่มีสามารถเชื่อมั่นได้มากน้อยเพียงใด หลังจากนั้นทดสอบข้อมูลและหลักฐานทางการเงินโดยตรง เช่น ตรวจสอบยอดคงเหลือบัญชีที่สำคัญและระบุไว้ว่ามีความเสี่ยงสูงที่ต้องตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีจะวิเคราะห์แนวโน้มของข้อมูลทางการเงินการ ตรวจสอบรายละเอียดของบัญชีบางรายการ สุดท้ายสรุปผลและจัดทำรายงานต่อไป
🎯หน้ารายงานผู้สอบบัญชี
💎แบบที่ 1 ไม่มีเงื่อนไข หมายถึง งบการเงินถูกต้องสมบูรณ์ ผู้ตรวจสอบบัญชี ไม่พบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ
💎แบบที่ 2 มีเงื่อนไข หมายถึง มีข้อจำกัดบางประการแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของงบการเงิน มีลักษณะเหตุการณ์ทำให้การแสดงความเห็นของงบการเงินเปลี่ยนแปลง เช่น งบแสดงข้อมูลข้อต่อข้อเท็จจริง นโยบายไม่เหมาะสม นำนโยบายไปใช้ผิด เปิดเผยข้อมูลไม่เหมาะสมไม่เพียงพอ
💎แบบที่ 3 งบการเงินไม่ถูกต้อง หมายถึง มีลักษณะเหตุการณ์ทำให้การแสดงความเห็นของงบการเงินเปลี่ยนแปลง เช่นงบแสดงข้อมูลข้อต่อข้อเท็จจริง แต่ว่าต่างจากมีเงื่อนไขคือ ผลกระทบของการตรวจสอบที่เกิดขึ้น แผ่กระจายไปทั่วงบการเงินเลยค่ะ
.
💎แบบที่ 4 ไม่แสดงความเห็น หมายถึง ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน หมายถึง มีลักษณะเหตุการณ์ ไม่สามารถหาหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเพื่อการตรวจสอบได้
🎯สรุป
โดยตามกฎหมายแล้วได้กำหนดให้มีการตรวจสอบบัญชีขึ้นมาโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่จะเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็กสามารถใช้บริการเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้
โดยขั้นตอนของการตรวจสอบจะเริ่มต้นจากการวางแผน ทดสอบระบบควบคุมภายในเพื่อประเมินระบบและให้ความเชื่อมั่นว่าระบบภายในที่มีสามารถเชื่อมั่นได้มากน้อยเพียงใด หลังจากนั้นทดสอบข้อมูลและหลักฐานทางการเงินโดยตรง เช่น ตรวจสอบยอดคงเหลือบัญชีที่สำคัญและระบุไว้ว่ามีความเสี่ยงสูงที่ต้องตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีจะวิเคราะห์แนวโน้มของข้อมูลทางการเงินการ ตรวจสอบรายละเอียดของบัญชีบางรายการ
สุดท้ายสรุปผลและจัดทำรายงานต่อไป เป็นไปตามมาตราฐานการสอบบัญชี ทำให้ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียรายอื่น ๆ ว่าข้อมูลทางการเงินที่บริษัทเปิดเผยนั้นเป็นความจริง ถูกต้อง และเชื่อถือได้นั่นเองค่ะ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy
โฆษณา