Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WEALTHELLING
•
ติดตาม
6 พ.ย. เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
❓ไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผนการงินส่วนตัวยังไง สามเหลี่ยมพีระมิดทางการเงิน🔺 ช่วยได้
📢พี่โข่งกลับมาแล้วจ้าา ทุกคนเป็นยังไงกันบ้าง วางแผนการเงินราบรื่นดีไหม
วันนี้พี่โข่งก็จะมาเล่าเรื่องเนื้อหาการวางแผนการเงินเช่นเดิม นั่นก็คือบันไดทั้งสามขั้น🥇🥈🥉 ซึ่งเป็นโครงสร้างของ สามเหลี่ยมพีระมิดทางการเงิน (Financial Pyramid)🔺 มีใครรู้จักกันบ้าง🙋♂️
ถ้าไม่มีใครรู้จักสามเหลี่ยมทางการเงิน เดี๋ยวพี่โข่งจะเล่าให้ฟัง ส่วนใครที่รู้จักแนวคิดนี้อยู่แล้ว สามารถมาฟังพี่โข่งพูดได้เหมือนกันนะ ถือโอกาสทบทวนความรู้เราให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นไปด้วยเลย
งั้นอย่ารอช้า เราไปทำความรู้จักกับ สามเหลี่ยมพีระมิดทางการเงิน🔺 กันเลยดีกว่า👏🔍
🗣สามเหลึ่ยมพีระมิดทางการเงิน🔺 คือแนวคิดการวางแผนการเงินที่คอยชี้ให้เราเห็นว่าระหว่างกำลังวางแผนการเงินส่วนตัว เราขาดอะไรไปบ้างในแต่ละขั้นของแนวคิดนี้ โดยโครงสร้างของแนวคิดนี้ประกอบไปด้วยบันไดสามขั้น
🥇บันไดขั้นแรก เป็นฐานของพีระมิดทางการเงินหรือเรียกอีกชื่อว่า ขั้นพื้นฐาน (Basic Needs) ที่ชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐานจริงๆ แล้วที่เราควรมีก่อนที่จะนำเงินกระจายไปส่วนต่างๆ ก็คือ เงินสำรองฉุกเฉิน🚨 ที่ทำหน้าที่เป็นปราการหน้าด่านให้กับเราจากสถานการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งพี่โข่งเคยเล่าไปให้ฟังครั้งก่อน
(อ่านรายละเอียดเงินสำรองฉุกเฉินได้ที่:
https://www.facebook.com/photo?fbid=122103376436589001&set=a.122100852716589001
)
💡แต่เพียงแค่นั้นยังไม่พอ เรามีโอกาสที่จะได้ความเสี่ยงอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างเช่น เหตุการณ์ร้ายแรงจนถึงขั้นอาจเสียชีวิตได้ แถมยังมีโอกาสที่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกด้วย ฉะนั้น ประกันชีวิต❤️ ก็เป็นอีกสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเราด้วยเช่นกัน โดยเป็นการโอนพวกความเสี่ยงไปยังกลุ่มบริษัทประกันเพื่อให้ความคุ้มครองชีวิตของเรานั่นเอง
🥈บันไดขั้นที่สอง (Saving) พี่โข่งเดาว่าหลายคนคงมีแผนเงินออมมากมายไว้ในใจเรียบร้อยแล้ว แต่ยังสับสนอยู่ว่าควรออมเท่าไหร่ยังไง ควรออมกี่ปี ฉะนั้น พี่โข่งขอแชร์ทิปการวางแผนออมเงินให้นะ อย่างแรกเลย ให้ทุกคนวาดตารางการออมเงินออกมาสามช่องโดยมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี สองถึงห้าปี และห้าปีขึ้นไป
💡เริ่มจากช่องแรกให้เขียนรายการที่เราต้อองการออมเงินโดยมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี อย่างเช่น ชอปปิ้งทั่วไป ออกทริปเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถัดมาช่วงระยะเวลาสองถึงห้าปีอาจเก็บเงินสำหรับแต่งงาน ดาวน์บ้านหรือคอนโด ท้ายสุดอาจจะเป็นการวางแผนออมเงินสำหรับช่วงเกษียณ หากใครมีบุตร ก็อาจจะออมเงินการศึกษาเพื่อบุตรในแผนระยะเวลาห้าปีขึ้นไป
🥉สุดท้ายบันไดขั้นที่สาม (Investment) เรียกได้ว่าเป็นขั้นที่หลายคนชอบมาก แล้วพี่โข่งก็ชอบไม่ต่างกัน เป็นเพราะมันเกี่ยวกับการลงทุนกับสิ่งที่เราต้องการ (Want) หรือความฝันของเราที่วาดไว้ว่าจะเอาเงินไปทำอะไรในอนาคตนั่นเอง ไม่ก็เราอาจเลือกที่จะวางแผนส่งต่อมรดกของเราให้คนรุ่นหลังในครอบครัวของเราต่อ ซึ่งขั้นสุดท้ายตามปกติแล้ว จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราทำให้บันไดสองขั้นแรกแข็งแรงและมั่นคงเสียก่อน ถึงจะมาโฟกัสบันได้ขั้นนี้ได้โดยไม่กังวลเรื่องสภาพคล่องและสุขภาพการเงินของเรา
จากทั้งสามขั้นบันไดของสามเหลี่ยมทางการเงินก็จะมีสินทรัพย์สำหรับลงทุนของตัวมันเอง📊📈 ได้แก่ บันไดขั้นแรกเหมาะกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและสภาพคล่องสูง อย่างเช่น กองทุนรวมตลาดเงิน เงินฝาก
ถัดมาบันไดขั้นที่สองเหมาะกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ต่ำไปกลาง เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ของรัฐหรือเอกชน หุ้นกู้
และส่วนบันไดขั้นที่สามเหมาะกับสินทรัพย์ตั้งแต่ความเสี่ยงระดับกลางไปสูง ซึ่งถือเป็นวิธีการลงทุนในสิ่งที่เราต้องการด้วยเงินเย็นเช่นกัน ได้แก่ หุ้น ทองคำ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ของสะสม คริปโตเคอรร์เรนซี่ อนุพันธุ์ และอื่นๆ เพื่อผลตอบแทนที่สูง☝️
เป็นยังไงกันบ้างกับสามเหลี่ยมพีระมิดทางการเงิน พอจะจับแนวทางแล้วนำไปใช้กับแผนการเงินส่วนตัวของตัวเองได้รึเปล่า ถ้ายังดูแล้วรู้สึกยุ่งยากก็ไม่เป็นไร เพราะเราจะคุ้นเคยกับพวกการลงทุน ซึ่งก็คือ บันไดขั้นที่สาม ซะมากกว่า😂👀
นั่นไม่ได้แแปลว่าสิ่งที่เราทำมันผิด เพียงแต่แนวคิดนี้มันทำให้เราเห็นชัดขึ้นว่าการจะเริ่มวางแผนการเงินส่วนตัวแบบจริงจัง และควรที่จะนึกถึงอะไรก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อสุขภาพทางการเงินของเราที่ดีขึ้นในอนาคต💡📚
ทั้งนี้ ฝากทุกคนเป็นกำลังใจให้กับการเล่าเรื่องของพี่โข่งด้วยน้า เรื่องถัดไปจะเป็นเรื่องราวการเงินแบบไหน ไว้พบกันใหม่โอกาสหน้าน้า👋😁
.
#พี่โข่งWTL #Wealthelling #การเงิน #วางแผนการเงิน #เศรษฐกิจ #เศรษฐกิจโลก
วางแผนการเงิน
การเงิน
เศรษฐกิจ
1 บันทึก
3
2
1
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย