Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย
•
ติดตาม
6 พ.ย. เวลา 12:02 • ปรัชญา
"สังโยชน์" และ "มรรค 4"
สังโยชน์ มี 2 หมวด
[329]
สังโยชน์ 10 (หมวดที่ 1)
กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล
(Fetters; bondage)
1. สักกายทิฏฐิ
ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น
(Personality-view of individuality)
2. วิจิกิจฉา
ความสงสัย, ความลังเล, ความไม่แน่ใจ
(Doubt; uncertainty)
3. สีลัพพตปรามาส
ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร
(Adherence to rules and rituals)
4. กามราคะ
ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ
(Sensual lust)
5. ปฏิฆะ
ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง
(Repulsion; irritation)
6. รูปราคะ
ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ
(Greed for fine-material existence; attachment to realms of form)
7. อรูปราคะ
ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ
(Greed for immaterial existence; attachment to formless realms)
8. มานะ
ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
(Conceit; pride)
9. อุทธัจจะ
ความฟุ้งซ่าน
(Restlessness; distraction)
10. อวิชชา
ความไม่รู้จริง, ความหลง
(Ignorance)
สังโยชน์ 10 ในหมวดนี้ เป็นแนวพระสูตร หรือ สุตตันตนัย แต่ในบาลีแห่งพระสูตรนั้นๆ มีแปลกจากที่นี้เล็กน้อย คือ
ข้อ 4 กามราคะ เป็น กามฉันท์
ความพอใจในกาม
(Desire)
ข้อ 5 ปฏิฆะ เป็น พยาบาท
ความขัดเคือง, ความคิดร้าย
(Illwill)
มีใจความเหมือนกัน
ข้อ 1-5 จัดเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ
(Lower fetters)
ข้อ 6-10 จัดเป็น อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5
สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง
(Higher fetters)
*ลำดับการละสังโยชน์ 10 นี้ ให้ดู [164] มรรค 4
[330]
สังโยชน์ 10 (หมวดที่ 2)
ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์
(Fetters; bondage)
สังโยชน์ 10 ในหมวดที่สองนี้
เป็นแนวพระอภิธรรม หรือ อภิธรรมนัย ได้แสดงความหมายไว้เฉพาะข้อที่ต่างจากหมวดก่อน
1. กามราคะ
2. ปฏิฆะ
3. มานะ
4. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
(False views)
5. วิจิกิจฉา
6. สีลัพพตปรามาส
7. ภวราคะ ความติดใจปรารถนาในภพ
(Greed for existence)
8. อิสสา ความริษยา
[Envy; jealousy)
9. มัจฉริยะ ความตระหนี่
(Meanness; stinginess)
10. อวิชชา
(Ignorance)
*[164]
"มรรค 4" ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด
(The path)
1. โสดาปัตติมรรค
มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
(The path of stream-entry)
2. สกทาคามิมรรค
มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
(The path of once-returning)
3. อนาคามิมรรค
มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5
(The path of non-returning)
4. อรหัตตมรรค
มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10
(The path of Arahantship)
อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
"สังโยชน์"
https://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D1%A7%E2%C2%AA%B9%EC
"มรรค 4"
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=164
พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย