Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
7 พ.ย. 2024 เวลา 05:45 • สุขภาพ
สูบบุหรี่เสี่ยงมะเร็งปอด 80 % เผยปัจจัยกระตุ้นถึงแม้ไม่สูบก็ป่วยได้
มะเร็งปอด หนึ่งในมะเร็งที่ลุกลามรุนแรง เจอได้ในเพศชายมากกว่าหญิง แน่นอนว่าการบุหรี่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักกระตุ้นโรค แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ควรคำนึง!
หลายคนมั่นใจว่าการไม่สูบบุหรี่ไม่มีทางเป็นมะเร็งปอดแน่นอน แต่รู้หรือไม่ ? สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดอาจไม่ใช่แค่การสูบบุหรี่เท่านั้น โดยทางการแพทย์ได้ระบุไว้ ว่า โรคมะเร็งปอดมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเป็นที่เชื่อกันในวงการแพทย์ปัจจุบันว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปอดนั้นมีอีกหลายสาเหตุด้วยกัน
มะเร็งปอด
3 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด
● การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานานๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในปอดสูง 80% ของผู้ที่เป็นมะเร็งในปอดจะมีประวัติการสูบบุหรี่ทั้งสิ้น และ 75%
ของผู้เป็นมะเร็งในปอดจะเป็นผู้สูบบุหรี่จัด ซึ่งเกณฑ์ที่ถือว่าสูบบุหรี่จัด ได้แก่ การสูบบุหรี่อย่างน้อยวันละ 20 มวน ติดต่อกันนาน 20 ปีขึ้นไป หรืออย่างน้อยวันละ 10 มวน สูบติดต่อกันนาน 30 ปีขึ้นไป
● ความสกปรกของอากาศ อากาศที่เป็นพิษ ซึ่งเกิดจากควันดำของท่อไอเสียรถยนต์ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เช่น แอสเบสตอส นิเกลและสารกัมมันตรังสี เป็นต้น จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง
● แผลเป็นในปอด อันเป็นผลมาจากการเป็นโรคเรื้อรังมานาน เช่น วัณโรคปอดซึ่งอาจเป็นจุดก่อให้เกิดมะเร็งได้
- อาการของโรคมะเร็งปอด
ระยะเริ่มแรกของโรค จะไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคมะเร็งในปอด แต่ควรสังเกตจากอาการเหล่านี้
● ไอเรื้อรัง จะมีลักษณะไอ้แห้งๆ อยู่นานกว่าปกติ บางครั้งมีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสายๆ ติดปนกับเสมหะออกมา
● น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย
● ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก การพบอาการดังกล่าวอาจไม่ทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันที ต่อเมื่อโรคลุกลามไปมากแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายก็จะลดน้อยลง ฉะนั้นเมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อจะทำการรักษาได้ทันการ
การรักษามะเร็งปอด แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาแบบใด จึงจะเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาถึงอายุ ภาวะความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรค ชนิดของชิ้นเนื้อ และการยอมรับของผู้ป่วยซึ่งสามารถรักษาได้
ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
● การผ่าตัด (Surgery)
จะทำเฉพาะในรายที่คาดว่ายังมีหวังตัดมะเร็งออกได้หมด และปอดที่เหลืออยู่ยังเพียงพอ รังสีรักษา หรือการฉายแสง (Radiation therapy) ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ผ่าตัดไม่ได้ และในรายที่ผ่าตัดแล้ว แต่ตัดมะเร็งออกไม่หมดหรือคาดว่ามะเร็งจะงอกขึ้นมาอีก
● เคมีบำบัด (Chemotherapy)
มีบทบาทสำคัญในการรักษามะเร็งปอด ในปัจจุบันนิยมใช้ยาหลายตัวสลับกันเป็นระยะ (cyclical treatment) เพราะได้ผลดีกว่าการใช้ยาตัวเดียว ผลการรักษามักจะดีในผู้ป่วยที่สภาพร่างกายสมบูรณ์และมีมะเร็งในร่างกายน้อย ยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง การรักษาแบบประคับประคอง สาเหตุบางอย่างอาจป้องกันได้ยาก แต่ที่แน่ๆ และทำด้วยตัวเองได้เลย คือการไม่สูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็งในปอดได้อย่าง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 1
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care/6076
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
มะเร็งปอด
มะเร็ง
สุขภาพ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย