16 พ.ย. เวลา 03:00 • การตลาด

“โฆษณารณรงค์ปิดมือถือ” ไอเดียสุดครีเอทีฟ 4 เรื่องใหม่ “สสส.” จับมือ “เมเจอร์”

ดึงจุดเด่นพื้นที่โรงหนังชวนปิดมือถือเพื่อส่วนรวม
ภารกิจหลักหนึ่งของ สสส. คือการสื่อสารสร้างความตระหนักให้คนในสังคมเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพ สุขภาวะที่ดี ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ รวมถึงการเตรียมสังคมให้พร้อมเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี เมื่อคนในสังคมไทยมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง ก็จะสามารถไปช่วยพัฒนาประเทศได้
โดยเป้าหมายการสื่อสารชุดนี้ คือ การสานประเด็นรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาวะ ร่วมกับรณรงค์ให้คนปิดมือถือไปพร้อมๆ กัน ความท้าทาย คือ สื่อสารอย่างไรให้ให้เข้ากับพื้นที่สื่อ ในโรงภาพยนตร์ ช่วงปิดมือถือ ที่มีความยาว 30 วินาที ถือเป็นแคมเปญที่สนุก และท้าทาย
แคมเปญนี้จึงถูกคิดและทำออกมาเป็นรูปแบบที่เชื่อมโยงกันระหว่างโจทย์การรณรงค์ให้คนปิดมือถือในโรงภาพยนตร์กับโครงการรณรงค์ต่างๆ ของ สสส. รวมจำนวน 4 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า อันตรายจากการอยู่ท่าเดิมนาน ที่อาจก่อเกิดเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม
เรื่องที่ 1 “อันตรายจากกล่องช็อกโกแลต” “The Dangers of Chocolate Box” ความยาว 30 วินาที
“กล่องช็อกโกแลต” บนมือกลายเป็นกล่องอันตรายให้คนรอบข้างได้อย่างไร
“ดูมือถือในโรงภาพยนตร์” ก็อันตรายต่อคนรอบข้างไม่ต่างกัน
ภาพยนตร์เรื่องนี้เชื่อมโยงการรณรงค์การงดสูบบุหรี่ ประเภทมวนในที่สาธารณะกับการรณรงค์ปิดมือถือในโรงภาพยนตร์ไว้ด้วยกัน บนแนวความคิดที่ว่า “สูบบุหรี่รบกวนคนรอบข้างไม่ต่างกับการเล่นมือถือในโรงภาพยนตร์”
เรื่องเริ่มขึ้นที่ชายคนหนึ่งที่กำลังนั่งรอรถเมล์ร่วมกับคนอื่นๆ ก่อนที่จะเปิดกล่องช็อกโกแลต แต่แทนที่จะเจอช็อกโกแลตแสนอร่อยกลับเจอกับบุหรี่มวน ชายหนุ่ม ลุก เดิน ไปจุดบุหรี่สูบ กลุ่มควันบุหรี่ตีเป็นวงกลมกว้างลอยแผ่กระจายออกไปรบกวน และสร้างอันตรายต่อคนรอบข้าง
เช่นเดียวกับในโรงภาพยนตร์ ชายหนุ่มคนเดิมเล่นมือถือในโรงภาพยนตร์แสงจากมือถือก็สว่างเป็นวงกว้างกระจายไปรบกวนตาและไปรบกวนการดูภาพยนตร์ของคนรอบข้างอยู่ดี
ดังนั้นเราทุกคนควรเคารพทุกคนด้วยการไม่รบกวน ไม่ทำลายคนอื่นด้วยการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และ เล่นมือถือขณะชมภาพยนตร์
ปิดมือก่อนชมภาพยนตร์ทุกครั้งนะคะ
เรื่องที่ 2 “พรางตัว” “The Camouflage” ความยาว 30 วินาที
“แอบสูบ พอต บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมาย”
“แอบเล่นมือถือในโรงภาพยนตร์”
สำหรับประเทศไทยแล้ว การสูบบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย หลายๆ คนก็เลยแอบสูบแม้ในที่สาธารณะและคิดว่าไม่กวนใครเพราะเข้าใจว่าควันบุหรี่ไม่เหม็นเหมือนบุหรี่ก้นกรอง
ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเชื่อมโยงการรณรงค์การงดสูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะกับการรณรงค์ปิดมือถือในโรงภาพยนตร์ บนแนวความคิดที่ว่า “แอบสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วคิดว่าไม่กวนใคร เหมือนกับแอบเล่นมือถือในโรงภาพยนตร์เพราะคิดว่าไม่กวนใคร”
โดยเล่าเรื่องราวผ่านชายหนุ่มคนหนึ่งที่ยืนสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ตรงทางเดินสาธารณะ เมื่อเห็นคนที่เดินผ่านไปผ่านมามองไปที่เค้า ชายหนุ่มก็พยายามพรางตัวเพื่อแอบให้กลืนไปกับแนวกำแพงต้นไม้ไม่ให้ใครเห็นว่าเค้าสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ แต่ควันบุหรี่ไฟฟ้าก็ยังลอยออกมาไปกระทบคนที่เดินผ่านไปผ่านมา
เช่นเดียวกับในโรงภาพยนตร์ ชายหนุ่มคนนี้พยายามพรางตัวเองกับเก้าอี้โรงภาพยนตร์ แสงจากมือถือก็ยังรบกวนคนอื่นอยู่ดี
ดังนั้นเราทุกคนควรเคารพทุกคนด้วยการไม่รบกวน ไม่ทำลายคนอื่นด้วยการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ และ เล่นมือถือขณะชมภาพยนตร์
ปิดมือก่อนชมภาพยนตร์ทุกครั้งนะคะ
เรื่อง 3 อียิปต์โบราณ “The Egyptian Coffin” ความยาว 30 วินาที
“โลงศพโบราณกำลังล็อกบางสิ่งที่น่ากลัวอยู่ภายใน”
“การที่อยู่ท่าเดิมนานๆ ก็เหมือนการล็อกเรา และสร้างปัญหากวนใจให้เราได้”
ออฟฟิศซินโตรมยังเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตของคนไทยโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศทั่วไปที่มักจะทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ซึ่งด้วยการขยับร่างกายที่ไม่ยาก และไม่นานก็สามารถพาเราหลุดพ้นจากการพันธนาการของคนในยุคปัจจุบันที่เรียกว่า อาการออฟฟิศซินโดรม
ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเชื่อมโยงการรณรงค์การเชิญชวนให้คนลุกออกจากการอยู่ท่าเดิมนานๆ ควบคู่ไปกับการรณรงค์ปิดมือในโรงภาพยนตร์ ด้วยแนวความคิดที่ว่า ขยับสักนิด พิชิตออฟฟิศซินโดรม “เพราะการขยับร่างกายง่ายๆ ก็สามารถทำให้คุณสบายหลุดจากพันธนาการของออฟฟิศซินโดรม เหมือนกับการแค่เลื่อนนิ้วไปปิดมือถือ ก็สามารถทำให้ทุกคนดูหนังได้อย่างสบายไม่โดนรบกวนจากแสงมือถือ”
โดยเล่าเรื่องผ่านหญิงสาวพนักงานออฟฟิศคนหนึ่งที่นั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานจนร่างกายดูแข็งเหมือนเป็นมัมมี่เพราะมีสาเหตุมาจากอาการออฟฟิศซินโดรม สิ่งที่เธอควรจะทำเพื่อแก้ไขก็เพียงแค่ขยับร่างกายเหยียดแขนเพียงนิดเดียว
ซึ่งในโรงภาพยนตร์ก็เช่นกัน ทุกคนสามารถขยับแค่เพียงนิดเดียวเพื่อเอื้อมไปปิดมือถือไม่ให้แสงจากมือถือไปรบกวนคนอื่นได้ง่ายๆ
ปิดมือก่อนชมภาพยนตร์ทุกครั้งนะคะ
เรื่องที่ 4 เก้าอี้หลอน “The Haunted Chair” ความยาว 30 วินาที
“เก้าอี้ของคุณกำลังหลอกหลอนคุณอยู่หรือไม่”
“การที่อยู่ท่าเดิมนานๆ ก็เหมือนการล็อกเรา และสร้างปัญหากวนใจให้เราได้”
หลายๆ คนไม่รู้ตัวว่าอาการปวดบ่าไหล่นั้นเกิดจากออฟฟิศซินโดรมซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตของคนไทยโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศทั่วไปที่มักจะทำงานหนักและอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเชื่อมโยงการรณรงค์การออกกำลังกายด้วยการขยับร่างกายสักนิด แค่ง่ายๆ เพื่อพิชิตอาการออฟฟิศซินโดรมควบคู่ไปกับการรณรงค์ปิดมือในโรงภาพยนตร์ ด้วยแนวความคิดที่ว่า ขยับสักนิด พิชิตออฟฟิศซินโดรม
“เพราะการขยับร่างกายง่ายๆ ก็สามารถทำให้คุณสบายหลุดจากพันธนาการของออฟฟิศซินโดรม เหมือนกับการแค่เลื่อนนิ้วไปปิดมือถือ ก็สามารถทำให้ทุกคนดูหนังได้อย่างสบายไม่โดนรบกวนจากแสงมือถือ”
โดยเล่าเรื่องผ่านชายหนุ่มพนักงานออฟฟิศคนหนึ่งที่นั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานจนปวดบ่าไหล่ แต่ด้วยบรรยากาศทำให้เข้าใจผิดว่ามีผีมาขี่คอ ซึ่งจริงๆ แล้วเขาสามารถแก้ปัญหาอาการปวดบ่าได้ง่ายมาก แค่เพียงขยับร่างกายด้วยท่ายืดแขนขึ้น
แต่ถ้าอยู่ในโรงภาพยนตร์ ทุกคนควรจะก้มมาปิดมือถือเพื่อไม่ให้แสงจากมือถือไปรบกวนคนอื่นได้
ปิดมือก่อนชมภาพยนตร์ทุกครั้ง!
โฆษณา