Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Story BOWL
•
ติดตาม
13 พ.ย. เวลา 03:00 • การศึกษา
💫เทคนิคการสร้างความซับซ้อนให้ Story 👁️🗨️
หลายครั้งที่เราอยากจะให้เรื่องราวของเรามีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น คนอ่าน คนดู หยุดอ่านหยุดดูไม่ได้ ซึ่งบางครั้งการเพิ่มความซับซ้อนไม่จำเป็นจะต้องเป็นการคิดเรื่องที่ยากมากจนเกินไป หรือหักมุมจนคนคาดไม่ถึง แต่เทคนิคบางอย่างที่เราใส่เข้าไป ก็อาจทำให้เรื่องของเราอ่านแล้วไม่น่าเบื่อ มีความลุ้นตลอดเวลาได้เช่นกัน วันนี้ Story BOWL มี 4 เทคนิคมาแนะนำให้เพื่อน ๆ ลองเลือกไปใช้ดูกันค่ะ
1️⃣ วางตัวละครให้มีมิติด้วย Motivation และ Dramatic need
ตัวละครเป็นหนึ่งสิ่งที่ทำให้เรื่องราวเกิดความซับซ้อนมีมิติมากขึ้น ในตอนแรกคนอ่าน คนดู จะได้รู้จักตัวตนของเขาผ่านรูปลักษณ์และการกระทำ หลังจากนั้นจะค่อย ๆ รู้จักผ่านความรู้สึกนึกคิดและปูมหลัง การวางแรงจูงใจ (Motivation) ให้เขาหรือความปรารถนาสูงสุด (Dramatic need) ของเขา
จะทำให้ในตอนเฉลยหลังเหตุการณ์นั้น ๆ เราได้รู้เหตุผลที่คาดไม่ถึงได้ เช่น เจ้านายที่ลูกน้องรักเพราะเป็นคนใจดี แท้จริงแล้วเขาสร้างภาพว่าเป็นคนแบบนี้เพราะต้องการสร้างความไว้ใจเพื่อแอบทำความผิดต่อบริษัท หรือโจรลักทรัพย์ที่อุกอาจ ที่มีเบื้องหลังว่าถูกขู่จากมาเฟียที่กำลังจับครอบครัวของเขาเป็นตัวประกัน เมื่อเราวางปมความต้องการหรือแรงจูงใจเข้าไปในตัวละครให้เกิดมิติ เมื่อเราเล่าเรื่องและค่อย ๆ เปิดเผยข้อมูล เรื่องเราก็จะดูน่าติดตามมากขึ้น แม้เราจะเล่าเรื่องเรียงลำดับ 1 2 3 ก็ตาม
2️⃣ วาง Timeline ให้กับเรื่อง
ในขั้นตอนการวางโครงเรื่อง (Plot) นอกเหนือจากการวางการเล่า 3 Acts ว่าเราจะเล่าต้น กลาง จบ อย่างไรแล้ว แนะนำให้ทุกคนลองวางไทม์ไลน์ของเรื่องตั้งแต่อดีต-ปัจจุบันไว้ด้วย เพื่อที่เราจะได้หาจุดในการแทรก Back Story (ปูมหลัง) เข้าไปในช่วงเวลาที่เหมาะสม จุดที่เกี่ยวข้อง หรือใส่ซีนที่เล่าเพิ่มเพื่อเพิ่มความอิน ความลึกของเรื่อง หรือซัปพอร์ตเหตุผลบางอย่างให้กับเรื่องของเราได้ ลงไป
3️⃣ วางพลอตหลัก พลอตรอง สร้างให้เชื่อมโยงกัน
“พลอตหลัก” จะถูกเขียนลงไปในการวางโครงเรื่อง (Plot) 3 Acts โดยบางครั้งเราจะเสริม “พลอตรอง” ลงไประหว่างพลอตหลัก ซึ่งพลอตรองจะต้องอยู่ในช่วง Act ที่ 2 ที่เป็นช่วง Mission และ Obstacle โดยที่พลอตรองนั้นจะต้องจบลงก่อนจะไปสู่ Act ที่ 3
หลักการคิด “พลอตรอง” นั้น ปกติเราจะคิดให้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพลอตหลัก เช่น เสริมพลอตหลัก ขยี้พลอตหลัก และกลายเป็นเกี่ยงโยงกันในที่สุด นั่นก็เพื่อขมวดทุกสิ่งให้มาพีคในตอนจุดหักกลางเรื่อง (Turning Point) และจุดพีคของเรื่อง (Climax) ดังนั้น การรู้จักดีไซน์พลอตรองลงไปให้ขยี้พลอตหลักก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะทำให้เรื่องของเราดูซับซ้อนน่าติดตามนั่นเอง
4️⃣ จับสลับเหตุการณ์การเล่าให้ค่อย ๆ เฉลยปม
การเล่าลำดับเรื่องแบบ 1 2 3 แม้จะทำให้เรื่องสนุกได้จากเทคนิคข้อที่ 1 แต่กับบางเรื่องเราอาจต้องการลีลาการเล่าที่น่าสนใจกว่านั้น หากลองจับสลับก้อนเหตุการณ์ที่จะเล่า หรือนำไทม์ไลน์มาเล่าแบบไม่เรียงลำดับเวลาดูก็เพิ่มความแปลกใหม่ให้เรื่องแล้ว เช่น
เล่าในช่วง Turning Point ก่อนเลยแต่ยังไม่ต้องเฉลยมากเกินไป แค่ทำให้คนสงสัยว่านี่มันเกิดอะไรขึ้น แล้วตัดกลับไปที่จุดเริ่มต้นก็ได้ หรือจะเล่าแบบหลอกให้คนเข้าใจว่าสิ่งนี้เกิดก่อน แต่แท้จริงแล้ว ไทม์ไลน์มันสลับกันต่างหาก โดยความเข้าใจผิดนี้ เราจงใจสร้างให้เกิดเพื่อหักมุมกับคนดูก็ได้เช่นกัน หรือกับภาพยนตร์บางเรื่องก็เลือกที่จะเล่าถอยหลังจากจุดจบไปจุดเริ่มต้น ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องลองดูว่าเรื่องของเราเหมาะที่จะนำเทคนิคแบบไหนมาใช้เพื่อเพิ่มความซับซ้อน น่าติดตามกับคนอ่าน คนดูค่ะ
นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างการเล่าเพื่อให้ทุกคนได้นำไปลองใช้ให้เหมาะกับเรื่องของตัวเอง แต่การที่เรื่องของเราจะสนุกหรือไม่นั้น ยังประกอบจากปัจจัยอีกหลายสิ่ง ไม่แน่ว่าเทคนิคการเล่าที่แนะนำนี้ก็อาจจะเป็นอีก 1 องค์ประกอบที่หากลองนำไปใช้ดูอาจจะเกิดความเปลี่ยนแปลงกับนิยายหรือบทที่เรากำลังเขียนอยู่ก็ได้ค่ะ
หากเพื่อน ๆ สนใจพัฒนางานเขียน เข้ามาสอบถามแอดมินที่
m.me/storybowlsociety
หรือทดลองใช้เครื่องมือตัวช่วยนักเขียนได้ที่นี่
storybowltools.co
นิยาย
นักเขียน
ภาพยนตร์
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย