8 พ.ย. เวลา 05:05 • ปรัชญา
ที่จริง "ใจ" ประจักษ์บางสิ่งบางอย่างอยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่แล้วจะประจักษ์ไปข้างนอก น้อยคนที่จะเข้ามาข้างใน ประจักษ์ "ใจ"
1
ขณะที่ "ใจ" ประจักษ์ไปข้างนอก กระบวนการหลายอย่างกลับเกิดขึ้นข้างใน แต่เราไม่เห็น เพราะไม่เคยเรียนรู้ที่จะศึกษา "ใจ"
1
จะเรียนรู้ศึกษา "ใจ" ได้อย่างไร?
เครื่องมือที่จะใช้ศึกษา "ใจ" ก็คือ "ใจ"
แต่เป็น "ใจ" คนละแบบ
"ใจ" แบบแรกมีธรรมชาติที่จะแสวงหาอารมณ์ และถูกอารมณ์ต่างๆย้อมไปตามปกติของคนทั่วไป มันเป็นของมันอย่างนั้น
"ใจ" อีกแบบจะเป็นผู้สังเกตการณ์ คอยดูว่า "ใจ"แบบแรกกำลังแสดงอะไร เกิดมาจากไหน และส่งผลต่อไปอย่างไร
1
เราจะมี "ใจ" ผู้สังเกตการณ์ได้อย่างไร
ผมเริ่มต้นจากหนังสือสองเล่มนี้ครับ
จะเริ่มอ่านตั้งแต่ต้น หรือจะข้ามไปอ่านหน้า 130 ของเล่มที่สอง "การระลึกรู้ทำ อย่างไร" ก็ได้ครับ
1
หลักที่ผมจับความมาจากคำสอนของครูบาอาจารย์ก็จะมีดังนี้
เริ่มต้นควรจะมีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง อาจจะเป็นลมหายใจ การบริกรรมหรือความเคลื่อนไหว อันนี้เอาไว้เป็นเครื่องสังเกต เพื่อว่าเมื่อหลงไปจะรู้ได้ว่า อ้าว จิตหลงไปคิดจนลืมพุทโธไปแล้ว
ตรงที่ "อ้าว" นี่แหละคือภาวะรู้ตัว
แรกๆอาจจะพยายามรู้สึกตัวไว้ แต่ไม่ต้องจริงจังมากไปจนเป็นการเพ่งจ้อง เพราะตอนที่เพ่งจ้อง สภาวะธรรมจริงๆมันจะไม่แสดงให้เห็น
การรู้สภาวะไม่ต้องตามไปดูให้ชัดๆ เพราะนั่นคือการหลงตามสภาวะออกไป แค่รู้ว่ามีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้น
เมื่อเกิดภาวะรู้ตัวขึ้นก็ไม่ต้องพยายามรักษาไว้ เพราะมันก็ไม่เที่ยงเช่นเดียวกับสภาวะอื่นๆ
ฝึกไปเรื่อยๆก็จะรู้สึกตัวได้บ่อยขึ้น การที่หลงไปบ่อยๆเป็นข้อดีเพราะแปลว่าคุณรู้สึกตัวได้บ่อยว่ามันหลงไป แต่การหลงนานๆไม่ค่อยดี ฝึกไปเรื่อยจนสติสามารถตั้งมั่นขึ้นมาได้ครับ
1
โดยสรุปของการเจริญสติคือ
"มีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฎ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง"
1
ทั้งหมดนี้เป็น "ความจำ" มาจากคำสอนของครูบาอาจารย์ครับ ผมก็เป็นผู้เดินทางคนหนึ่งเช่นกัน
โฆษณา