8 พ.ย. เวลา 07:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ

รีวิว ETF ตอนที่ 9 MOAT ลงทุนผ่าน VanEck Morningstar Wide Moat ETF | by หนีดอย

💰 รีวิว ETF ก่อนหน้านี้ ผมได้รีวิว SMH ซึ่งเป็น ETF ที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็น ETF ที่ลงทุนในบริษัทชั้นนำที่อยู่ในอุตสาหกรรม Semiconductors โดยอ้างอิงดัชนี MVIS® US Listed Semiconductor 25 Index ซึ่งเป็นดัชนีที่ติดตามการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่มีมูลค่าตลาดเกิน 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป (หุ้น Large-cap) จำนวน 25 บริษัท หากใครสนใจสามารถตามอ่านกันได้ที่
💰รายละเอียด MOAT
กองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (MOAT) เป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์ในการติดตามดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus IndexSM ซึ่งคัดเลือกบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน (Economic Moat) และมีมูลค่าตลาดที่น่าสนใจ
💰แนวคิดของ "Moat" ในการลงทุน
คำว่า "Moat" หรือ "คูเมือง" ในบริบทการลงทุน หมายถึงความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนของบริษัท ซึ่งช่วยปกป้องบริษัทจากคู่แข่งและรักษาความสามารถในการทำกำไรในระยะยาว ปัจจัยที่สร้าง Moat อาจรวมถึงสิทธิบัตร แบรนด์ที่แข็งแกร่ง ต้นทุนการเปลี่ยนแปลงที่สูงของลูกค้า หรือเครือข่ายผู้ใช้ที่กว้างขวาง
-วันจัดตั้งกองทุน : 24 Apr 2012
-ค่าธรรมเนียมการจัดการรวม : 0.47%
-มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด : $16,010 ล้าน
-จำนวนหุ้นที่ถือ : 55 บริษัท
*ข้อมูล ณ วันที่ 6 Nov 2024
💰กลยุทธ์การลงทุนของ MOAT
กองทุน MOAT ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Management) โดยลงทุนในหุ้นของบริษัทที่อยู่ในดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus IndexSM ซึ่งดัชนีนี้จะคัดเลือกบริษัทที่มี Moat กว้าง (Wide moat) และมีมูลค่าตลาดที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Undervalued) การคัดเลือกหุ้นจะพิจารณาจากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทที่ถูกคัดเลือกมีความสามารถในการแข่งขันและมีศักยภาพในการเติบโต
💰Top 10 holdings ของ ETF กองนี้มีสัดส่วนรวมกันราวๆ 28.49% จากทั้งหมด 55 holdings จะเห็นว่าไม่มีหุ้นตัวใดมีสัดส่วนมากเป็นพิเศษ
ข้อมูล 6 Nov 2024
3 อันดับของ Sectors ใน MOAT คือ Industrials , Health care และ Infomation Technology
ข้อมูล 6 Nov 2024
จะเห็นว่า บริษัทแทบทั้งหมดใน ETF นี้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา มีแค่ 1.25% ที่อยู่ในเนเธอร์แลนด์
ข้อมูล 6 Nov 2024
ลักษณะ ETF จะประกอบด้วยบริษัทระหว่าง Mid-Large caps, Value stock เป็นหลัก
ข้อมูลจาก Morningstar
💰ผลตอบแทนย้อนหลังระดับ 1,3 เดือน | ตั้งแต่ต้นปี | ระดับ 1,3,5 จนถึง 10 ปีย้อนหลัง และตั้งแต่จัดตั้งกองทุน จะพบว่าทำผลงานได้ดีต่อเนื่อง อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 8.60% ต่อปี (สำหรับช่วง 3 ปีย้อนหลัง)
💰ข้อดีของการลงทุนใน MOAT
1.การคัดเลือกหุ้นคุณภาพ: กองทุนเน้นลงทุนในบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืน
2.การกระจายความเสี่ยง: กองทุนลงทุนในหุ้นของบริษัทหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง
3.ค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม: กองทุนมีอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการที่แข่งขันได้ เมื่อเทียบกับกองทุนอื่นที่มีลักษณะการลงทุนคล้ายคลึงกัน
4.ผลตอบแทนทำได้ดีในระยะยาวตั้งแต่จัดตั้งกองทุน
💰ข้อควรพิจารณาในแง่ความเสี่ยง
1.ความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น: แม้ว่ากองทุนจะคัดเลือกหุ้นที่มี Moat แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นและสภาวะเศรษฐกิจ
2.ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา: กองทุนนี้ลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาเกือบ 100%
3.ความเสี่ยงเรื่องราคาที่ปรับขึ้นไปสูงในช่วงที่ผ่านมา
💰สรุป
VanEck Morningstar Wide Moat ETF (MOAT) เป็นกองทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันและมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรพิจารณาความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
💭 ETF นี้เหมาะกับใคร
1. คนที่เชื่อและชอบการลงทุนในบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนของบริษัท ซึ่งช่วยปกป้องบริษัทจากคู่แข่งและรักษาความสามารถในการทำกำไรในระยะยาว
2. คนที่ต้องการแก้พอร์ทที่ติดลบจากหลายๆการลงทุน เช่นลงทุนในจีน ลงทุนในพลังงานสะอาด ฯลฯ
3. คนที่อยากได้กลุ่มหุ้นที่มีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่อง นอกจากกลุ่ม Technology มากระจายการลงทุทนในพอร์ท
4. คนที่ไม่ค่อยมีเวลาศึกษารายละเอียดเป็นหุ้นรายตัวมากนัก
💭 ช่องทางการลงทุน
1. เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในไทย แบบนี้สามารถซื้อขายได้ทั้งหุ้นต่างประเทศ และ ETFs ต่างประเทศ เช่น Dime, Innovest X, Liberator ตอนนี้บางโบรกเกอร์สามารถซื้อได้ฟรีค่าคอมมิชชั่น 1 ไม้ต่อเดือน เช่น Dime, Liberator ครับ
2. เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศ หลักการคล้ายๆโบรกเกอร์ของไทย แต่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายจะถูกกว่า ผมมีเขียนบทความเรื่องนี้ไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหุ้นต่างประเทศว่ามีตัวเลือกโบรคเกอร์อย่างไร
3. เปิดบัญชีซื้อขายเฉพาะ ETFs กับ Jitta Wealth โดย Jitta Wealth ไม่ใช่โบรคเกอร์ แต่ Jitta Wealth จะเป็น กองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในหุ้น บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่ได้ถูกจัดเป็นโบรกเกอร์ จึงไม่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์บริษัทหลักทรัพย์
สามารถตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ที่ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/companyprofile/Intermediaries/0000029621
4. ซื้อผ่านกองทุนไทย ที่ลงทุนในต่างประเทศ คือ
###กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า (AFMOAT-HA):
กองทุนนี้ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว และมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
###กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท ชนิดสะสมมูลค่า (AFMOAT-A):
กองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนเช่นเดียวกับ AFMOAT-HA แต่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
💭หากใครสนใจลงทุนใน Jitta Wealth คลิกได้เลยที่ Link : https://link.jittawealth.co/6votzlub7h
หรือคลิกที่รูปด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีลงทุน
โฆษณา