Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย
•
ติดตาม
8 พ.ย. เวลา 10:58 • ปรัชญา
อัตตา
ผลการค้นหาคำว่า “ อัตตา ”
แสดงผลการค้น 13 คำตอบ
1.เจตภูต
สภาพเป็นผู้คิดอ่าน
ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย
เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า
*"อาตมัน" หรือ "อัตตา"
ของลัทธิพราหมณ์ และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา
2.ชีโว
ผู้เป็น, ดวงชีพ ตรงกับคำว่า อาตมัน, อัตตา ของลัทธิพราหมณ์
3.ปรมาตมัน
อาตมันสูงสุด (บรมอาตมัน),
อัตตาสูงสุด (บรมอัตตา)
เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์)
ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง
เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น
สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป
ปรมาตมันนี้ก็คือ พรหม, พรหมัน นั่นเอง
4.ภวทิฏฐิ
ความเห็นเนื่องด้วยภพ
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ
5.สัสสตทิฏฐิ
ความเห็นว่าเที่ยง
คือความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป
*เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ ที่ก็เป็นมิจฉาอีกอย่างหนึ่ง
6.อธิปเตยยะ, อธิปไตย
ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง คือ
-อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
-โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
-ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
7.อนัตตลักษณะ
ลักษณะที่เป็นอนัตตา
ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ
7.1 เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
7.2 เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
7.3 ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
7.4 เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
7.5 โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
8.อนัตตา
ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน
9.อัตตวาทุปาทาน
การถือมั่นวาทะว่าตน
คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา
ถ้าอย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก
10.อัตตา
ตัวตน, อาตมัน
ปุถุชนย่อมยึดมั่น มองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่า อัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
11.อัตตาธิปไตย
ความถือตนเป็นใหญ่
จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะ, เกียรติศักดิ์ศรี, หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ
พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน
12.อัตตานุทิฏฐิ
ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน
13.อาตมัน ตัวตน, คำสันสกฤต ตรงกับบาลีคือ อัตตา
อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
อัตตา
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D1%B5%B5%D2&detail=on
พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย