Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธรรมะสอนใจ
•
ติดตาม
8 พ.ย. เวลา 13:51 • ไลฟ์สไตล์
ขอนแก่น
พรหมวิหาร 4
วันนี้จะมาพูดถึงพรหมวิหารสี่
ตามความเข้าใจของคนในยุคปัจจุบัน
ตั้งชื่อเพจว่าธรรมะสอนใจนั้น
ก็คือเป็นธรรมะที่เอาไว้สอนสอนตัวเอง
ซึ่งหากเพื่อนเพื่อนหรือมีใครที่สนใจ
อยากจะเข้ามาดูเข้ามาชม
ก็ไม่ได้หวง
ก็อยากจะเอาไว้แบ่งปันกับทุกๆคนนั่นแหละ
พรหมวิหารสี่ เป็นหลักปฏิบัติ แรกแรกที่จะทำให้จิตใจของเรา
ความสงบ และเป็นไปในแนวทางของพุทธศาสนา
ก็คือเป็นหลักธรรมขั้นต้นต้น ที่คนทั่วไปควรจะมีนั่นแหละ
เมตตา
เมตตาคือความเห็นอกเห็นใจคนอื่น
สิ่งมีชีวิตอื่นๆคือความรู้สึกสงสาร รู้สึกเวทนา
รู้สึกอยากจะช่วยเหลือ นั่นคือความเมตตา
ถ้าเรามีความเมตตาให้กับคนอื่นๆให้กับเพื่อนมนุษย์
เราจะเป็นคนที่มีจิตใจที่ดี
กรุณา
เป็นการที่เรายื่นมือเข้าไปช่วย
เท่าที่ความสามารถของเราจะช่วยได้
อย่างเช่นการให้ทาน หรือการช่วยเหลือ
ทั้งคนและสัตว์ ก็เป็นการกรุณา
ซึ่งการกรุณานี้ก็จะเกิดขึ้นได้หลังจากที่เรามีเมตตาแล้ว
มันมาคู่กัน
เช่น ถ้าหากเพื่อนร่วมงานมาขอให้ช่วยเหลือ
ถ้าหากเป็นสิ่งที่เราทำได้ไม่ได้ผิดจริยธรรมไม่ได้ผิดศีลธรรม
เราก็ช่วยเหลือตามสมควร ตาม กำลังที่เราสามารถช่วยเหลือได้
ช่วยแล้วไม่เดือดร้อนตัวเอง ช่วยแล้วจิตใจเรายังเป็นสุข
เพียงเท่านั้นก็ถือว่าเป็นความกรุณาแล้ว
ถ้าหากช่วยเหลือแล้วเราไม่มีความสุข
หรือทำให้เราเดือดร้อนก็ไม่ควรช่วย
มุทิตา
ความยินดีกับผู้อื่น
เมื่อเรามีเมตตาและกรุณา
เราก็จะไม่ได้มีความอิจฉาริษยา
ลดทิฏฐิ แล้วเราจะยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น
ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
เช่นเมื่อเพื่อนร่วมงานได้ตำแหน่งใหม่ได้ขึ้นเงินเดือน
เราก็ยินดีเราก็แสดงความยินดีกับเพื่อนร่วมงาน
ด้วยความจริงใจ และถ้าเกิดว่ามันเป็นความจริงใจ
ที่ออกมาจากใจจริง นั่นคือมุทิตาจิต
หรือเห็นเพื่อนคนอื่นออกรถใหม่
ได้บ้านหลังใหม่ ก็ยินดีกับเขา
ยินดีจากในใจนะ ไม่ใช่แค่พูดออกไปแต่ลึกลึกและอิจฉาเขา
การมุทิตาจิต คือเราจะยินดีกับเขาจริงๆ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยที่ไม่ได้อิจฉาริษยาตามหลัง
ก็ต้องฝึกจิตฝึกใจให้ลดความอิจฉา
และมีมุทิตาจิตที่จริงๆต่อเพื่อนมนุษย์
จะทำให้จิตใจเราสูงขึ้น
อุเบกขา
คือการวางเฉย การปล่อยวาง
อาจจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดของพรหมวิหารสี่
แต่ทั้งนี้อุเบกขาคือการควบคุมอารมณ์
ให้ปล่อยวางให้เป็นกลาง
ไม่ได้มีความยินดี ยินร้าย
ตามความเข้าใจของเรา
อย่างเช่นการที่มีผู้ว่าร้ายเราให้ร้ายเรา
เราก็ทำนิ่งเฉยเสีย ก็เป็นอุเบกขา
เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหา
และไม่นำมาเป็นอารมณ์
ที่ทำให้ขุ่นมัว
หรือความเศร้าที่เกิดจากโลกมนุษย์
เราก็ทำจิตให้นิ่งทำอารมณ์ให้เป็นกลาง
มันก็จะเกิดเป็นอุเบกขา
ซึ่งในความเป็นจริง
ในการกระทำจริงก็อาจจะค่อนข้างยาก
แต่ก็จะเป็นวิธีที่ทำให้ เราสามารถ
จะดำรงชีวิตอยู่ ในทางสายกลาง
ได้อย่างดีที่สุด
แนวคิด
ปรัชญา
ไลฟ์สไตล์
บันทึก
1
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย