8 พ.ย. เวลา 14:01 • การเมือง

“ถ้าวันหนึ่งทรัมป์โทรหาคุณแล้วบอกว่า มาร่วมกันเอาชนะจีนกันเถอะ”

เมื่อ “ปูติน” ถูกถามแบบนี้ เขาจะตอบยังไง
หนึ่งในหัวข้อที่ผู้เข้าร่วมการประชุมที่วัลไดเมื่อวานนี้ (7 พฤศจิกายน 2024) ให้ความสนใจกันมากเรื่องหนึ่งกับท่าทีของปูตินคือ “ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและจีน” ปูตินถูกยิงคำถามหลายข้อในหัวข้อนี้หลายครั้งหลายครา ซึ่งล้วนสรุปได้เป็นคำถามเดียวกันว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างมอสโกและปักกิ่งจะพัฒนาไปในทิศทางไหน ในเมื่อทรัมป์ชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯ” - อ้างอิง: [1]
4
เครดิตภาพ: Kristina Kormilitsyna / Rossiya Segodnya / kremlin.ru
หนึ่งในผู้เข้าร่วมการประชุมคือ ศาสตราจารย์หวาง เหวิน จากสถาบันฉงหยางเพื่อการศึกษาด้านการเงินแห่งมหาวิทยาลัยเหรินหมินของจีน ถามอย่างตรงไปตรงมากับปูตินว่า “ถ้าวันหนึ่งประธานาธิบดีทรัมป์โทรมาหาคุณและพูดว่า 'มาร่วมมือกันเอาชนะจีนกันเถอะ' คุณจะตอบเขา (ทรัมป์) ว่าอย่างไร”
ปูตินตอบกลับแบบยาวๆ เลยว่า
  • รัสเซียและจีนไม่ได้อยากเป็นอริกับใคร คำถามที่ถามมามันดู “ห่างไกลจากความเป็นจริง” จากที่ทรัมป์จะถามมาได้ การที่รัสเซียและสหรัฐฯ ร่วมมือกันต่อต้านจีน ซึ่งประเทศของเรา (รัสเซีย) ได้บรรลุถึงความไว้วางใจ ความร่วมมือ และมิตรภาพสูงสุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน (กับจีน) นั้นดู “เป็นไปไม่ได้อย่างยิ่ง”
2
  • หลังจากนั้นปูตินก็พูดถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากของทรัมป์ (ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ) โดยแทบไม่มีการหยุดพักพูดเลย เขาบอกประมาณว่าเนื่องจากในสหรัฐฯ ประธานาธิบดี “มีพันธะผูกพันบางประการ” กับ “กลุ่มคนที่สนับสนุนให้เขาก้าวขึ้นสู่อำนาจ”
  • “ผู้ที่มอบเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับ [คนที่จะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในอนาคต] ยังได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งทีมบริหารในรัฐบาลอนาคตด้วย และหากพวกเขามอบหมายให้ใคร พวกเขาก็มีโอกาสที่จะมีอิทธิพลต่อผู้คนที่พวกเขามอบหมายให้เข้าร่วมทีมนี้” ปูตินกล่าวเสริม “และตรงนี้มันสำคัญมากว่าผู้นำอเมริกันที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาจะต้องมีพันธะผูกพันได้ไม่เฉพาะกับกลุ่มอิทธิพลเหล่านี้ กับสิ่งที่เรียกว่ารัฐบาลเงาหรือ ดีฟสเตท แต่เขายังต้องเคารพเสียงของประชาชนอเมริกันที่เลือกเขาเข้ามาอีกด้วย…”
เครดิตภาพ: Shutterstock
  • การตีความจากคำตอบของปูติน
จากมิตรภาพของรัสเซียกับจีนไปจนถึงอิทธิพลของผู้สนับสนุนประธานาธิบดีสหรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ต่อแนวทางในอนาคตของเขา ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องบังเอิญ และคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบสามฝ่ายที่เชื่อมโยงกันเป็นสามเหลี่ยมระหว่าง อเมริกา-จีน-รัสเซีย
ไม่ได้จำกัดอยู่แค่คำพูดของทรัมป์ที่ว่า “ผมต้องการแยก [รัสเซียและจีน] ออกจากกัน” ซึ่งเขาเผลอพูดออกไปในระหว่างการสัมภาษณ์กับทักเกอร์ คาร์ลสัน ในการหาเสียงที่แอริโซนา ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา (อ้างอิง: [2]) ประเด็นเรื่องรัสเซียกับจีนนี้อยู่ที่การตัดสินใจของกลุ่มคนที่สนับสนุนทรัมป์ด้วย
ก่อนหน้านี้องค์กรด้านการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยมของสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญขึ้นอย่างมาก เช่น ในช่วงฤดูร้อนปีนี้มูลนิธิเฮอริเทจถูกจับตามองหลังออกแผนยุทธศาสตร์ของฝั่งรีพับลิกันจำนวน 900 หน้า ชื่อว่า “Project 2025” ซึ่งตามรายงานของ CNN มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 140 คนจากรัฐบาลของทรัมป์สมัยแรกเข้าร่วมสังคายนาแผนดังกล่าว ถึงแม้ทรัมป์จะปฏิเสธถึงความมีส่วนร่วมในแผนดังกล่าวในที่สาธารณะ แต่ก็มีส่วนน้อยที่เชื่อเขา - อ้างอิง: [3]
4
“Project 2025” มุ่งเป้าไปที่การปรับโครงสร้างบริหารงานภายในของสหรัฐอเมริกาในเชิงของการล้มกระดานฐานอิทธิพลเดิมที่อยู่เบื้องหลังสหรัฐฯ มาอย่างยาวนาน นั่นคือ “การถอนรากถอนโคนดีฟสเตท” และนั่นก็มีทฤษฎีสมคบคิดออกมาก่อนหน้าเลือกตั้งที่ว่า ทำไมทรัมป์ถึงถูกลอบยิง เป็นเพราะฝั่งรีพับลิกันไปแตะหรือกำลังล้ำเส้นอย่างหนักกับกลุ่มอิทธิพลเบื้องหลังสหรัฐฯ ดังกล่าว ทางเพจได้เคยลงบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ อ่านเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
1
แต่แน่นอนว่ายังมีประเด็นของนโยบายต่างประเทศในแผนนี้อีกด้วย ประเด็นหลักคือความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งถูกประกาศว่าเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่ง รัสเซียถูกกล่าวถึงหลายสิบครั้งในเอกสารนี้ในฐานะภัยคุกคามเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับจีนมากกว่า อย่างไรก็ตามเอกสารดังกล่าวมีคำใบ้ที่ชัดเจนว่าแผนยุทธศาสตร์ต่อสองประเทศที่เป็นศัตรูกับอเมริกา “รัสเซีย” กับ “จีน” ควรจะทำในแนวทางที่แตกต่างกัน
ดูเหมือนว่าแผนล้มอิทธิพลเดิมจะกลายเป็นการสร้างอิทธิพลกลุ่มใหม่ขึ้นมาเพื่อหวังอยู่เบื้องหลังการบริหารประเทศของสหรัฐอเมริกา
เรียบเรียงโดย Right Style
8th Nov 2024
  • เชิงอรรถ:
<เครดิตภาพปก: Illustrated by The New York Times; photographs by Nicolas Asfouri and Sergei Ilnitsky, via Getty Images>
โฆษณา