9 พ.ย. เวลา 05:44 • ความคิดเห็น

โอคาเกะ ซามาเดะ

ในชีวิตคนเรานั้น นานๆ จะมีวิธีคิดที่อาจจะเปลี่ยนเราหรือคนรอบข้างเราไปอย่างสิ้นเชิง แต่ละคนก็อาจจะไม่เหมือนกัน
1
วิธีคิดแบบ “อื่นอื่นอีกมากมาย” ของพี่จิก ประภาส ชลศรานนท์นั้นเป็นวิธีคิดที่เปลี่ยนชีวิตผมตั้งแต่วัยรุ่น และมีอิทธิพลทางความเชื่อและส่งผลต่อการกระทำต่างๆ รวมถึงเป็นวิธีคิดที่อยากจะส่งต่อให้ลูกสาวสองคนของผมอย่างมาก แต่วิธีคิดที่ดีนั้นพอฟังไปซักพักก็จะเริ่มจางๆ พอได้มีโอกาสฟังอีกทีก็เหมือนเตือนใจตัวเองให้ความคิดดีๆ นั้นแจ่มชัดขึ้นอีกครั้ง
ผมมีโอกาสได้ฟังอาจารย์เกตุ ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ หรือหลายคนรู้จักในนาม เกตุวดี marumura นักเขียนเรื่องราวของปรัชญาธุรกิจและชีวิตญี่ปุ่นที่อ่านง่ายและสนุกมากๆ อาจารย์เกตุเขียนหนังสือดีๆออกมาหลายเล่ม
อาจารย์เกตุปรัชญาแห่งคำขอบคุณที่ผมได้ฟังเมื่อสามปีก่อน ฟังอีกครั้งที่หลักสูตร aloha แล้วก็ได้เตือนตัวเอง ทำให้ภาพของคนรอบข้าง เหตุการณ์รอบตัวลอยเด่นขึ้นมาชัดขึ้นอีกครั้ง
อาจารย์เกตุใช้ชีวิตอยู่ญี่ปุ่นหลายปี เรียนภาษาญี่ปุ่นและศึกษาวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วยความสนใจ ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้น มีคำที่อาจารย์เกตุบอกว่าคนญี่ปุ่นพูดบ่อยที่สุดคือคำว่า “ขอบคุณ” โดยมีคำขอบคุณในภาษาญี่ปุ่นอยู่เป็นสิบคำในวาระต่างๆ
1
อาจารย์เกตุเปิดวีดีโอที่คนญี่ปุ่นขอบคุณทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน คู่แข่ง อาจารย์ นักเรียน อาหาร แม้กระทั่งสถานที่หรืออุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก หรือธรรมชาติรอบตัว เสมือนว่าเป็นดินแดนแห่งความรู้สึกขอบคุณต่อทุกอย่างจริงๆ (ถ้าไทยเป็น land of smile ญี่ปุ่นก็คือ land of gratitude)
2
คนญี่ปุ่นรู้สึก appreciate สิ่งต่างๆ รอบตัว การขอบคุณอาหารก่อนทานก็คือการขอบคุณคนทำอาหารที่สละเวลามาทำอาหารอร่อยๆให้ สัตว์หรือพืชที่สละตัวมาเป็นส่วนประกอบ การขอบคุณคู่แข่งในการแข่งขัน ขอบคุณอุปกรณ์ ก็เพราะคู่แข่งทำให้ได้เรียนรู้ อุปกรณ์ช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในวันนี้ ความรู้สึกขอบคุณเรื่องทั้งหลาย ทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนน้อมต่อเรื่องราวรอบตัวเสมอ
อาจารย์เกตุเล่าถึงคำขอบคุณคำหนึ่งในหลายๆคำที่พูดว่า “โอคาเกะ ซามะเดะ” ที่แปลเท่าที่แปลได้ในภาษาไทยว่า ขอบคุณร่มเงาของท่านที่ทำให้ฉันมีวันนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ แต่อาจารย์เกตุเล่าถึงเหตุการณ์หนึ่งว่าตอนที่ย้ายมาอยู่อพาร์ตเมนท์ในญี่ปุ่นใหม่ๆ อาจารย์เกตุเดินสวนกับคุณยายที่อยู่ติดกันโดยบังเอิญ คุณยายเจอหน้าแล้วโค้งให้อาจารย์เกตุอย่างสุภาพจริงใจแล้วพูดว่า โอคาเกะ ซามะเดะ ซึ่งอาจารย์เกตุก็งงว่าคุณยายทำไมถึงขอบคุณใหญ่โตแบบนั้น เลยไปถามครูสอนภาษา
คุณครูเลยเล่าว่าคุณยายรู้สึกขอบคุณจริงๆที่อาจารย์เกตุมาอยู่ที่ห้องนั้นแทนที่จะเป็นนักเลงอันธพาลหรือวัยรุ่นเสียงดัง ทำให้คุณยายได้มีชีวิตที่สงบตามที่คุณยายชอบ
4
อาจารย์เกตุถึงเริ่มเข้าใจความหมายของการ “รู้สึกขอบคุณ” ของคนญี่ปุ่นมากขึ้น
จากที่อาจารย์เกตุสอน แล้วลองมองมุมเรื่องความรู้สึกขอบคุณซึ่งปกติก็คงมีบ้างแต่ไม่ได้พยายามสังเกตอย่างชัดเจนนัก เลยรู้สึกว่าถ้าเรามีความรู้สึกขอบคุณกับคนรอบข้าง ธรรมชาติ หรือเรื่องราวใกล้ตัวอยู่เป็นประจำนั้น ที่เราจะได้จากความรู้สึกแบบนั้นแน่ๆคือความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรู้สึกตัวตนที่เล็กลง ซึ่งอาจารย์เกตุบอกว่าเป็นต้นทางของอิคิไก หรือชีวิตที่มีความหมาย
2
เพราะเมื่อเราอ่อนน้อมถ่อมตน เราก็จะสร้างความสุขให้คนอื่นได้ง่าย เป็นความสุขเล็กๆที่เราสะสมคุณค่าจนมี purpose ที่ทำเพื่อผู้อื่นได้
ผมเพิ่งฟังเรื่องการดูลักษณะนิสัยคนว่าคนๆนั้นเป็นคนดีหรือไม่ หรือแม้แต่มีคนบอกว่าถ้าจะเลือกคู่ชีวิตให้ดูว่าเวลาเขาเจอคนเสิรฟ แม่บ้าน หรือคนที่ต่ำทางสถานะกว่า เขาคนนั้นด่าบ๋อย ดูถูกแม่บ้านรึเปล่า เพราะจะแสดงถึงจิตใจส่วนลึกที่ไม่น่ารักไม่น่าคบเป็นแฟนมากๆ
1
แต่ถ้าใครมีความรู้สึกขอบคุณและ appreciate สิ่งที่ได้รับในใจ แน่นอนว่าเรื่องนี้ก็คงไม่เกิดอย่างแน่นอน และถ้าเขารู้สึกขอบคุณคนเสริฟได้ เขาก็น่าจะรู้สึกถึงคุณค่าของเราได้เช่นกัน
ในทางธุรกิจนั้น ถ้าผู้นำมีความรู้สึกขอบคุณอยู่ในใจ ไม่รู้สึกว่าข้ามาคนเดียว แต่มาเพราะทีมงานที่ช่วยกันแล้ว การแสดงออกถึงการรับฟังผู้น้อย การดูแลทุกคนให้เท่าเทียมกัน ความเมตตาก็จะเกิดขึ้นในการกระทำ รวมถึงการให้เกียรติ เสียสละตัวเองเพื่อส่วนรวม เห็นคุณค่าของงานและของเพื่อนร่วมงานก็จะทำให้ผู้นำได้รับการยอมรับอย่างจริงใจ
ในส่วนของพนักงานนั้น ถ้าเราได้รับมอบหมายงานไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม ถ้าเรารู้สึกขอบคุณเจ้านายที่ให้โอกาส ขอบคุณงานที่ทำให้เราได้เรียนรู้ ได้แสดงฝีมือ เราก็จะมีทัศนคติที่แข็งแกร่งและทำงานนั้นด้วยความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ เป็นการสร้างคุณค่าของตัวเอง และยิ่งถ้าเปรียบเทียบกับพนักงานอีกประเภทที่ได้รับงานก็ต้องคิดก่อนว่าอยู่ใน job description หรือไม่ หรือชักสีหน้าเพราะมองว่างานนั้นไม่น่าสนุก หรือเป็นงานที่น่าเบื่อ ความก้าวหน้าก็คงจะต่างกันอย่างมาก
1
หลังจากฟังอาจารย์เกตุและมองไปที่เหล่านักเรียน aloha ผมก็คิดถึงเรื่อง “ขอบคุณ” นี้ขึ้นมาอีกครั้ง ผมเพิ่งพานักเรียนไปทำกิจกรรมnที่อัมพวาโดยยึดมือถือระหว่างทำกิจกรรมเพื่อให้รู้สึกถึงสภาวะไม่มีมือถือและอยู่กับปัจจุบัน
โดยปกติเราก็ทำกันเต็มที่และมีความสุขเมื่อนักเรียนขอบคุณทีมงานว่าจัดได้ดี แต่พอฟังเรื่องนี้ มุมมองผมก็เปลี่ยนไป ผมเริ่มคิดขอบคุณนักเรียนที่เสียสละเวลาวันทำงานมากับเราโดยที่เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเจออะไร เริ่มขอบคุณที่เขาไว้ใจ บอกให้ทำอะไรก็ทำ เสียสละเวลานอน ยอมทำตามกฎที่อาจจะไม่เห็นด้วย ฯลฯ ความรู้สึกแบบนี้ยิ่งทำให้อยากทำทริปให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้ตัวเราเล็กลงมากและเริ่มเหมือนจะเริ่มเห็นคำว่า อิคิไก อยู่ลางๆ..
2
ความคิดแบบนี้ถ้าเผลอก็จะลืมได้ง่าย ฟังแล้วยังต้องขบคิดและฝึกอยู่เรื่อยๆ พอได้ฟังอีกก็เหมือนทำให้ได้คิดหนักๆเรื่องนี้อีกครั้ง ตอนนี้ก็เริ่มคิดขอบคุณสมาชิกครอบครัวทุกคนที่มี เริ่มค่อยๆคิดว่าควรจะขอบคุณใครอีกดี ซึ่งยิ่งคิดยิ่งรู้สึกถึงมุมมองนี้ที่มีผลต่อความคิดอย่างมาก
3
นอกจากอยากเขียนบทความนี้เพื่อชวนกันลองคิดถึงความรู้สึกขอบคุณคนรอบข้าง ครอบครัว พาร์ทเนอร์ ทีมงาน เพื่อนข้างบ้าน คู่แข่ง ธรรมชาติดีๆรอบตัว และนอกจากขอบคุณเรื่องราวต่างๆแล้ว
2
ผมก็ยังอยากจะขอบคุณผู้อ่านทุกคนที่เสียสละเวลามาอ่านบทความยาวๆ นี้เป็นเวลาหลายนาที ขอบคุณที่ช่วยแนะนำให้ความเห็นด้วยมุทิตาจิตที่มีความปรารถนาดีต่อผู้เขียน ขอบคุณที่เป็นกำลังใจและเข้ามาทักทายเวลาเจอหน้ากัน
ขอบคุณ facebook ที่สร้าง tool แสนมหัศจรรย์นี้ให้มีเพจนี้
ขอบคุณตัวละครและผู้เล่าเรื่องที่ผมเอามาเขียนในบทความทุกท่านที่เป็นเสมือนอาจารย์ครูพักลักจำของผม ทำให้ผมได้ฝึกทักษะและมีพลังในการเขียนอย่างที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้มาก่อน…
ทุกปีก็อยากจะเอาคำๆ นี้มาเขียนทุกครั้งเพื่อเตือนตัวเองและขอบคุณทุกคนจริงๆ และพอฟังอาจารย์เกตเมื่อสองวันก่อนก็เลยอยากแปะบทความนี้อีกครั้ง…
โอคาเกะ ซามาเดะ ขอบคุณทุกคนมากๆนะครับ…
โฆษณา