9 พ.ย. เวลา 12:41 • ข่าว

แพทย์สภาฟ้องสภาเภสัชฯ&สปสช. ปมโครงการ common illness

กลายเป็นดราม่าวงการเสื้อกาวน์ เมื่อแพทย์สภายื่นฟ้องสภาเภสัชกรรมและ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปมโครงการ common illness หรือกลุ่มผู้ป่วย 16 อาการ รับยาที่ร้านยาคุณภาพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
1
โดยล่าสุดสารปกครองชั้นต้นไม่รับคำร้อง ทางแพทย์สภาจึงส่งเรื่องอุธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุด โดยศาลปกครองสูงสุดมีมติรับคำฟ้อง และอยู่ระหว่างพิจารณา โดยไม่ได้มีคำสั่งให้ระงับโครงการ common illness
มีแพทย์ท่านหนึ่งออกมาให้ความเห็นทางแพลตฟอร์ม Facebook ว่า กระบวนการคิดก่อนสั่งยาของแพทย์ ต้องผ่านการเรียนหลักสูตรแพทย์"อย่างน้อย 6 ปี " ขึ้นไป และอาจถึง 11 ปี สำหรับผู้เชี่ยวชาญบางสาขาที่สำคัญต้องสอบผ่านการทดสอบความรู้ระดับชาติ และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาก่อน การอ่านคู่มือเพียงหนึ่งเล่มไม่สามารถทดแทนกระบวนการฝึกสอนที่ให้ได้มาซึ่งกรอบความคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัยโรคได้
แพทย์ที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องผ่านการฝึกจริง (ไม่ใช่การอ่าน) และ ต้องรับมือและแก้ปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนจากการสั่งยาของตนได้เองทั้งหมดนี้ใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี ตลอดหลักสูตร แพทยศาสตร์ ก่อนจะไปสั่งยาให้ผู้ป่วยทั่วประเทศได้ พร้อมทั้งบอกต่อไปว่า โรคร้ายแรงแทบทุกโรค ล้วนเริ่มต้นด้วยอาการเล็กน้อย แทบทั้งสิ้น การไม่พยายามวินิจฉัยแยกโรค โดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นการประกอบวิชาชีพที่นอกจากจะผิดจริยธรรมแล้ว ยังส่งผลอันตรายถึงคนไข้ ไม่มีประเทศได้ในโลกอนุญาตให้ทำแบบนี้
ในขณะเดียวกัน ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โพสต์ผ่าน Facebook ส่วนตัวจากกรณีดังกล่าวว่า เจตนารมณ์โครงการดังกล่าว หากแพทย์ร่วมมือเภสัชกร จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดี รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่าย ลดความแออัดใน รพ.ได้
ถึงหลายฝ่ายจะคาดว่าอาจเกิดความไม่พอใจในวงวิชาชีพเภสัชกรต่อกรณีดังกล่าว แต่กระแสที่ออกมากลับผิดคาด
แม้จะยังไม่มีครูบาอาจารย์ทางเภสัชฯท่านใดออกมาให้ความเห็นอย่างเป็นทางการ แต่ใน community เภสัชฯหลายแห่ง เริ่มเรียกร้องระบบใบสั่งยาแบบในต่างประเทศเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง อีกทั้งลดภาระงานของเภสัชฯ โดยหลายกลุ่มให้ความเห็นในทำนองคล้ายกันว่าระบบสาธารณสุขของไทยพัฒนาขึ้น และเราพร้อมแล้วที่จะใช้ระบบใบสั่งยา(คนไข้จะซื้อยาได้ ต้องได้ใบสั่งจากแพทย์ทุกกรณี)เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วย และลดความซ้อนทับของบทบาทระหว่างวิชาชีพ
โดยความกังวล ณ ขณะนี้ อยู่ที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพราะหากผลการพิจารณาคดีออกมาว่าโครงการ common illness ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะทำให้ยาและเวชภัณฑ์ที่จ่ายออกไปแล้วนะโครงการนี้ไม่ได้รับการชดเชย ซึ่งอาจทำให้เป็นเรื่องฟ้องร้องในภายหลังได้ อย่างไรก็ตามต้องรอศาลปกครองสูงสุดให้วินิจฉัยชี้ขาดในกรณีดังกล่าว
ในมุมมองของผมเอง ที่เคยทำงานทั้งโรงพยาบาล ร้านยา และสาธารณสุขจังหวัด มองว่าประเด็นนี้ละเอียดอ่อนและต้องการความชัดเจน ระบบใบสั่งยาเป็นสิ่งที่ไทยควรทำนานแล้ว เพราะนอกจากเรื่องของร้านยา ยังมีคลินิกพยาบาลและผดุงครรภ์ รวมถึงการจ่ายยาใน รพ.สต. ที่เป็นประเด็นเรื่องของวิชาชีพมานาน เพียงแต่ที่ผ่านมาเรามองประโยชน์ต่อคนไข้ และความพร้อมของระบบ การใช้ระบบใบสั่งแพทย์ จะทำให้ระบบยาของไทยสมบูรณ์มากขึ้น เกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ป่วยและภาพรวมของระบบสาธารณสุขอย่างแท้จริง
1
อ้างอิง
โฆษณา