11 พ.ย. เวลา 01:23 • ธุรกิจ

ตัวอย่างเหตุการณ์การเคลื่อนไหวในตลาด Forex

เกี่ยวกับค่าเงินปอนด์อังกฤษในวันที่ 16 ก.ย. 1992 วันนั้นถูกขานนามว่า "Black Wednesday" เป็นวันที่ค่าเงินปอนด์ร่วงลงอย่างแรงที่สุด สังเกตได้ชัดเจนในคู่สกุลเงิน GBP/DEM (ปอนด์อังกฤษ vs. มาร์กเยอรมัน) และคู่สกุลงิน GBP/USD (ปอนด์อังกฤษ vs. ดอลล่าร์สหรัฐฯ)
เงินปอนด์อังกฤษอ่อนค่าอย่างหนัก เมื่อเทียบกับดอลล่าร์ในช่วง พ.ย.-ธ.ค.1992 ราวๆ 25% จาก 2.01-1.51(GBP/USD)
เหตุผลหลักๆ ของ"วิกฤติเงินปอนด์"ครั้งนี้เกิดจากการที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมเป็นสมาชิกระบบการเงินของยุโรป ที่ได้มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนระหว่างกัน (Fixed Rate)
หลังจากการเลือกตั้งในรัฐสภาที่ผ่านมาไม่นาน , เกิดการลดลงของผลผลิตจากระบบอุตสาหกรรม , ธนาคารชาติของอังกฤษพยายามที่จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความเท่าเทียมกันกับเงินมาร์กเยอรมัน อีกทั้งนักลงทุนก็ยังจะชะลอเงินลงทุนด้วย
ในขณะเดียวกัน มีการโน้มเอียงของค่าเงินมาร์กที่ดูจะน่าสนใจมากกว่าค่าเงินปอนด์ ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ทำให้นักเก็งกำไรทุ่มขายเงินปอนด์เพื่อซื้อเงินมาร์กและเงินดอลล่าร์ ผลที่ตามมาของวิกฤติการทางการเงินของสกุลเงินปอนด์คือ
อัตราดอกเบี้ยของอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 10%-15% ทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องยอมรับในเรื่องการลดค่าเงินปอนด์ และแยกออกจากระบบการเงินของยุโรป ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เงินปอนด์ได้กลับมาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวอีกครั้งหนึ่ง
อีกหนึ่งเรื่องของคู่สกุลเงินที่น่าสนใจคือ ดอลล่าร์เยน(USD/JPY) คู่สกุลเงินนี้ได้ถูกจัดอันดับนิยมการเทรดเป็นอันดับที่สาม รองจากคู่ยูโรดอลล่าร์ (EUR/USD)และคู่ปอนด์ดอลล่าร์ (GBP/USD) ซึ่งจะมีการเทรดกันอย่างมากในช่วงที่ตลาดเอเชียเปิด การเคลื่อนไหวของคู่นี้มักจะเป็นแบบราบเรียบไม่หวือหวา คู่ดอลล่าร์เยนมักมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในตลาดการเงิน
เริ่มต้นมาจากช่วงกลางของทศวรรษที่ 80 เยนเริ่มเข้ามาเป็นคู่แข่งขันกับดอลล่าร์ ในช่วงต้นของยุค 90 จากเศรษฐกิจที่เคยพัฒนาจนเฟื่องฟู เริ่มเปลี่ยนเป็นสงบนิ่งไม่ท้าทายเหมือนที่เคยเป็น ภาวะการเลิกจ้างงานเริ่มมีมากขึ้น รายได้และค่าจ้างถูกเลื่อนการจ่ายออกไปทำให้มีผลกระทบกับมาตรฐานการครองชีพของคนญี่ปุ่นอีกด้วย
และเมื่อถึงช่วงต้นของปี 1991 สาเหตุดังกล่าวทำให้องค์กรทางการเงินหลายแห่งของญี่ปุ่นเกิดการล้มละลาย จากผลที่เกิดขึ้นทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นทรุดลงหนัก เริ่มมีการประกาศลดค่าเงินเยน หลังจากนั้นการล้มละลายเป็นรอบที่สองของบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ เริ่มเกิดขึ้น
ในปี1995 คู่เงินดอลล่าร์เยนได้สร้างประวัติศาสตร์ที่จุดต่ำสุด -79.8 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้เอเชียเริ่มวิกฤติในปี 1997-1998 เงินเยนอ่อนค่าลงอยู่ราว ๆ 115-150 เยน เมื่อเทียบต่อหนึ่งดอลล่าร์
วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลกส่งผลต่อมนุษย์ในทุกหย่อมหญ้า อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดฟอเร็กซ์ก็ไม่ได้ถูกยกเว้นเช่นกัน แม้ว่าผู้เล่นในตลาดฟอเร็กซ์ ได้แก่ธนาคารชาติ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ นายหน้าค้าหลักทรัพย์รายใหญ่และรายย่อย กองทุนบำเหน็จบำนาญ บริษัทประกันฯ และบริษัทข้ามชาติ เหล่านี้ล้วนตกอยู่ในสถานการณ์แห่งความยากลำบากด้วยกันทั้งหมด ถึงแม้เหตุการณ์จะเป็นเช่นนั้น แต่ตลาดฟอเร็กซ์ก็ยังคงดำเนินต่อไปด้วยรูปแบบที่มันเป็นอย่างสมบูรณ์ มันมีเสถียรภาพ มีกำไรเกิดขึ้นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
วิกฤติการณ์ทางการเงินในปี 2007 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อมูลค่าของสกุลเงินต่าง ๆ ทั่วโลก ในระหว่างนี้เงินเยนมีความเข้มแข็งมากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลล่าร์ หรือยูโร เงินเยนได้รับการพิสูจน์โดยเทรดเดอร์ว่าเป็นสกุลเงินที่น่าเชื่อถือ
#forexวิทยา
เปิดบัญชีเทรด:
ลงทะเบียนอบรม หลักสูตรพื้นฐานการเทรด Forex
เทรด Forex เป็นใน 3 ชั่วโมง - ฟรี
ติดตามความรู้เพิ่มเติม:
Group Line "Forex วิทยา" : https://line.me/ti/g/qKL8pQcxoP
YouTube "Forex วิทยา" : https://www.youtube.com/@forex7731
X "Forex วิทยา" : https://x.com/WizardForex
TikTok "Forex วิทยา" : https://www.tiktok.com/@wizard_fx999?is_from_webapp=1...
ติดต่อ Forex วิทยา :
Id line: forexwizard
โฆษณา