Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Praram 9 Hospital
•
ติดตาม
11 พ.ย. เวลา 03:47 • สุขภาพ
โรงพยาบาลพระรามเก้า
นอนกรน…เสี่ยงหัวใจหยุดเต้น
อ้วน นอนกรนและโรคหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร
โรคนอนกรน (Sleep apnea) จะหมายถึง การพบมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ตอนที่หยุดหายใจเป็นพัก ๆ ระหว่างนอนหลับเท่านั้น และการที่นอนกรนก็ไม่จำเป็นต้องเกิดภาวะผิดปกตินี้ นอกจากนี้การเกิดภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ ก็ไม่จำเป็นต้องพบในคนที่อ้วนเท่านั้นในคนที่ผอมก็อาจเกิดความผิดปกตินี้ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ชัดเจน
โดยใช้เครื่องมือพิเศษตรวจ (Sleep Study) ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจจึงพบได้ เนื่องจากการหยุดหายใจระหว่างหลับและเนื่องจากโรคอ้วนเอง (ทั้งๆ ที่ไม่มีภาวะนอนกรนร่วมด้วย)
โรคนอนกรน หรือ Sleep apnea นี้จะพบว่าระหว่างที่นอนหลับแล้วมีการหยุดหายใจออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง คาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น ความดันของทั้งหลอดเลือดแดงในปอดและร่างกายจะสูงขึ้น หัวใจจะบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง
ในระยะแรกจะพบเฉพาะกลางคืนช่วงที่หยุดหายใจถ้าเป็นไปนาน ๆ ความผิดปกตินี้จะพบในเวลากลางวันด้วย คนไข้จะนอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน ทำให้ง่วงนอนและหลับมากในเวลากลางวัน ความผิดปกติจะพบว่าหัวใจเต้นช้าลงมาก บางครั้งหัวใจจะหยุดเต้นอาจนานถึง 2-13 วินาที ซึ่งอาจทำให้อาการเป็นลมหมดสติได้ อาจพบภาวะ heart block ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Prematureatrial contraction, Premature ventricular contraction. Atrial fibrillation,Ventricular Tachycardia) ซึ่งบางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ส่วนความผิดปกติในหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอ้วนนั้น ประกอบด้วย
1. กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ การบีบตัวลดลง การทำงานของหัวใจล้มเหลว
2. ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจหนา การบีบตัวผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
3. โรคอ้วนทำให้ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
4. ทำให้การหายใจลดลง (Hypoventilation) โดยไม่มีภาวะการหยุดหายใจร่วมด้วย เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ภาวะเป็นกรดในเลือด ถ้าสามารถลดน้ำหนักได้ ภาวะนี้จะดีขึ้นหรือหายไปได้
แนวทางการรักษา
1. ปรับสุขภาพอนามัยการนอนหลับ นอนพักผ่อนเป็นเวลาทุกวัน ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอนหลับ
2. ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย
3. หลีกเลี่ยงในท่านอนหงาย
4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ บุหรี่ และยานอนหลับหรือยาที่กดประสาทส่วนกลาง
5. ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขณะนอนหลับ CPAP (Continuous Posititve Airway Pressure) ซึ่งเครื่องจะอัดอากาศที่เหมาะสม ทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น
6. Oral applicances เป็นเครื่องมือทางทันตกรรม ที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น
7. การผ่าตัด มีอยู่หลายวิธีตามตำแหน่งที่มีภาวะอุดตัน
●
ช่องจมูกและหลังโพรงจมูก เช่น ผ่าตัดริดสีดวงจมูก ผ่าตัดผนังจมูกให้ตรง ลดขนาดของเยื่อบุจมูกบวมด้วยเครื่องซอมโนพลาสตี้ (Radiofrequency Volumetric Tissue Reduction)
●
ผ่าตัดทอนซิลและตกแต่งบริเวณลิ้นไก่เพดานอ่อน Uvulopalatopharyngoplarty (UPPP)
●
ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรมาทางด้านหน้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น Maxillo-Mandibular Advancment (MM)
บทความโดย : นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์
สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า
#Praram9Hospital
#HealthcareYouCanTrust
ความรู้รอบตัว
ไลฟ์สไตล์
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย