18 พ.ย. เวลา 05:30 • ธุรกิจ

รวม 3 วิธีสุดฮิตในการแปลงรูปภาพเป็นข้อความสำหรับธุรกิจ

อ่านบทความฉบับเต็มคลิก : https://bit.ly/3SEly5A
ในปัจจุบันวิธีการในแปลงรูปภาพเป็นข้อความนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี จากแต่เดิมหากธุรกิจต้องการกรอกข้อมูลที่ต้องการจากในเอกสารเข้าไปในระบบนั้นจะต้องใช้วิธีแบบแมนนวล หรือให้พนักงานเป็นคนพิมพ์กรอกเข้าไปเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าหากมีข้อมูลที่ต้องกรอกเข้าไปในระบบเป็นจำนวนมากทำให้ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก และมีโอกาสที่ข้อมูลอาจจะผิดพลาดได้เช่นกัน รวมถึงอาจต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากเพื่อให้การกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบทำได้สำเร็จ
แต่ด้วยความก้าวหน้า และการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้ขั้นตอนการแปลงรูปภาพเป็นข้อความทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนั้นก็คือเทคโนโลยี AI-OCR ซึ่งเป็นการนำ AI มาเพิ่มศักยภาพในการแปลง และประมวลผลข้อความที่อยู่ในรูปภาพให้เป็นข้อความที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ระบบ AI-OCR ดึงและประมวลผลออกมาได้ไปใช้งานในขั้นตอนต่อไปได้
ในบทความนี้ AIGEN จะพามารู้จักวิธีการแปลงรูปภาพเป็นข้อความที่ธุรกิจสามารถเลือกนำไปใช้งานได้
การแปลงรูปภาพเป็นข้อความคืออะไร
การแปลงรูปภาพเป็นข้อความ คือการนำเทคโนโลยี AI-OCR มาใช้ในการแปลงข้อความที่อยู่ในรูปภาพให้เป็นข้อความรูปแบบดิจิทัลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลจากในเอกสารไปใช้งานในขั้นตอนถัดไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น
โดยที่ซอฟต์แวร์ AI-OCR นั้นครอบคลุมการแปลงรูปภาพเป็นข้อความสำหรับธุรกิจตั้งแต่การทำ Image to text และ การแปลงไฟล์ข้อมูล PDF เป็นไฟล์ Excel หรือ JSON อีกทั้งธุรกิจยังสามารถปรับแต่ง หรือ Customize workflow ของการแปลงรูปภาพเป็นข้อความได้ตามความต้องการได้อีกด้วย
แนะนำ 3 วิธีการแปลงรูปภาพเป็นข้อความสำหรับธุรกิจ
1. การแปลงรูปภาพเป็นข้อความแบบแมนนวล หรือการใช้พนักงาน
หนึ่งในวิธีแบบดั้งเดิมที่ธุรกิจมักใช้ในการแปลงภาพเป็นข้อความ คือการใช้พนักงานในการพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการจากเอกสารเข้าไปในระบบของธุรกิจ หรือที่เรียกกันกว่าวิธีแบบแมนนวลเนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถทำได้โดยทันที โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม ซึ่งแน่นอนว่าหากธุรกิจไม่ได้ปริมาณเอกสารที่ต้องใช้งาน และข้อมูลที่ต้องกรอกเข้าไปในระบบมากนัก การใช้วิธีแบบแมนนวลก็ยังคงเป็นวิธีที่ตอบโจทย์กับธุรกิจได้
เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SME รวมไปถึงธุรกิจที่อาจจะไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลจากในเอกสารไปประมวลผล และไปใช้งานต่อในขั้นตอนถัดไปแบบเรียลไทม์
ในขณะเดียวกันวิธีการแปลงภาพเป็นข้อความแบบแมนนวลเองนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเองนั้นไม่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และต้องมีเวลาหยุดพัก รวมถึงมีโอกาสที่พนักงานอาจกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบผิดพลาดได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ต้องกลับมาแก้ไขข้อมูล และใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น รวมไปถึงหน่วยงานอื่นที่ต้องนำข้อมูลไปใช้งานต่ออาจได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และถูกต้องได้
2. การแปลงรูปภาพเป็นข้อความโดยใช้ซอฟต์แวร์ AI-OCR ร่วมกับพนักงาน
อีกหนึ่งรูปแบบของการแปลงภาพเป็นข้อความที่เริ่มได้รับความนิยมจากธุรกิจ คือการนำซอฟต์แวร์ AI-OCR มาใช้ร่วมกับการใช้พนักงาน หรือเรียกว่าเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ
โดยเปลี่ยนจากระบบการทำงานแบบแมนนวลที่ใช้พนักงานเป็นคนกรอกข้อมูลเข้าไปในโปรแกรมของธุรกิจมาเป็นนำซอฟต์แวร์ AI-OCR มาใช้ในการประมวลผล และดึงข้อมูลที่ต้องการจากเอกสารแทนการใช้คน ทำให้ขั้นตอนการดึง และกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น
รวมไปถึงลดความผิดพลาดของข้อมูลได้อีกด้วย และเปลี่ยนให้พนักงานมาเป็นคนตรวจสอบข้อมูลที่ระบบ AI-OCR ดึงออกมาได้แทน
แล้วอาจจะมีคำถามว่าในเมื่อมีการนำซอฟต์แวร์ AI-OCR เข้ามาใช้งานแล้ว ทำไมยังต้องมีการเพิ่มขั้นตอนของการมี Human loop หรือพนักงานเข้ามาตรวจสอบข้อมูลอยู่ ต้องบอกก่อนว่า AI เองนั้นก็ไม่ได้เพอร์เฟคเหมือนกับมนุษย์ ยังคงต้องมีการเรียนรู้จากข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมออยู่เช่นกัน เพื่อให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่าการนำซอฟต์แวร์ AI-OCR เข้ามาใช้งานกับขั้นตอนการแปลงรูปภาพเป็นข้อความนั้นจะช่วยประหยัดเวลาในการดึง และกรอกข้อมูลที่ต้องการจากเอกสารเข้าไปในระบบของธุรกิจได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้การทำงานสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากพนักงานไม่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลในทุก field เนื่องจากธุรกิจสามารถกำหนดระดับของ Confidential level ไว้ได้ว่าข้อมูลใน field ไหนที่ AI มั่นใจเกิน 90% ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้คนมารีวิว แต่หากเป็นข้อมูลที่ Confidential level ต่ำกว่า 70% ถึงจะให้คนเข้ามารีวิวอีกครั้ง เป็นต้น ซึ่งระดับของ Confidential level นั้นธุรกิจสามารถกำหนดได้เองตามความเหมาะสม
3. การแปลงรูปภาพเป็นข้อความด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ AI-OCR
อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยยกระดับขั้นตอนการทำ Data-entry หรือการแปลงภาพเป็นข้อความให้กับธุรกิจให้ทำได้แบบอัตโนมัติ คือการนำซอฟต์แวร์ AI-OCR เข้ามาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ โดยเป็นรูปแบบที่มีพนักงานเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 วิธีที่ได้กล่าวไปในข้างต้น หรือที่เรียกกันว่า Data-entry workflow automation
เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการนำข้อมูลที่ดึงได้จากเอกสารไปใช้ในขั้นตอนการทำงานถัดไปได้แบบเรียลไทม์ และต้องรองรับปริมาณการทำธุรกรรมที่มีจำนวนค่อนข้างเยอะ
ในขณะเดียวไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ AI-OCR ของเจ้าใดก็ตามทั้งของไทย และต่างประเทศเองนั้นต่างก็ไม่ได้มีความแม่นยำ 100% เนื่องจากโมเดล AI ยังต้องมีการเรียนรู้ และเทรนด้วยข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อให้สามารถทำงาน และรับมือกับข้อมูลที่อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อนได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกันกับมนุษย์ที่ยังคงต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอเช่นกัน
จึงทำให้การนำวิธีการแปลงรูปภาพเป็นข้อความด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ AI-OCR อย่างเต็มรูปแบบ หรือแบบอัตโนมัตินั้นเหมาะกับธุรกิจที่มีเอกสารที่ไม่ได้มีรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากนัก เช่น การดึงข้อมูลจากเอกสารทั่วไป
แต่ถ้าหากเป็นการดึงข้อมูลจากเอกสารที่มีเทมเพลตที่หลากหลาย และซับซ้อน เช่น ใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน เราแนะนำว่าการใช้ซอฟต์แวร์ AI-OCR ควบคู่กับการมี Human-loop จะตอบโจทย์กับขั้นตอนการทำงานได้ดีกว่า เพื่อทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ระบบ AI-OCR ดึงออกมาได้นั้น สามารถนำไปใช้งานต่อได้อย่างแม่นยำ
Think AI Think AIGEN
สนใจนำบริการ AI-OCR มาใช้เพื่อยกระดับการทำ Data-entry ของธุรกิจ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AIGEN ได้ที่
· Facebook : AI GEN : ไอเจ็น
· Line : @aigen
โฆษณา