Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
11 พ.ย. เวลา 14:16 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สมองทำงานกับภาพลวงตาอย่างไร?
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นภาพทำนองที่ว่าให้จ้องดูดีๆ แล้วจะเหมือนภาพขยับ หรือภาพที่เป็นสีเดียวกัน แต่เรามองเห็นเป็นคนละสี ภาพเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และสมองเรามีกลไกการประมวลภาพเหล่านี้อย่างไร จึงทำให้เราเข้าใจเช่นนั้น
ภาพเหล่านี้เรียกว่า Optical illusion เป็นภาพที่ทำให้ตาเราแปรความและประมวลผลผิดเพี้ยนไป สาเหตุเกิดจากกลไกการมองเห็นของคนเรา โดยหากสังเกตุให้ดี ภาพลวงตาทั้งหลายมักเป็นการสลับสีระหว่างสีเข้มมากๆ กับสีอ่อนมากๆ หรือมักจะเป็น ขาว กับ ดำ
ทั้งนี้เป็นเพราะว่า Photoreceptors หรือตัวรับแสงที่มีอยู่ในตา เมื่อได้รับแสงที่สะท้อนจากวัตถุที่มีการสลับสีในลักษณะดังกล่าว ทำให้เกิดการยับยั้งสัญญาณซึ่งกันละกัน โดยสัญญาณของการกระตุ้นเซลล์รับแสงสีอ่อน จะยับยั้งตัวรับแสงสีเข้ม
ทำให้สัญญาณที่ถูกส่งไปที่สมองเกิดความผิดปกติ ปรากฎการณ์ดังกล่าวเรียกว่า
"Lateral inhibition"
สมองส่วน Primary visual cortex ที่อยู่ส่วนหลังของสมอง เมื่อได้รับสัญญาณจากตัวรับในลูกตา จึงพยายามปรับความเข้มของแสงสีที่เข้ามา ทำให้เราดูเหมือนภาพที่เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ทั้งที่จริงๆแล้วเป็นภาพนิ่ง หรือบางภาพที่เห็นเป็นคนละสี แต่ที่จริงแล้วเป็นสีเดียวกันนั่งเอง
สีของไวน์ในและนอกแก้วเป็นสีเดียวกัน
อ้างอิง
pmc.ncbi.nlm.nih.gov
Retinal Lateral Inhibition Provides the Biological Basis of Long-Range Spatial Induction - PMC
Retinal lateral inhibition is one of the conventional efficient coding mechanisms in the visual system that is produced by interneurons that pool signals over a neighborhood of presynaptic feedforward cells and send inhibitory signals back to them.…
ความรู้รอบตัว
สุขภาพ
ความรู้
1 บันทึก
6
6
1
1
6
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย