"เส้นใยชีวภาพ" อาจเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมมากกกว่าพลาสติก

งานวิจัยล่าสุดชี้ เส้นใยชีวภาพ ที่ถูกนำมาใช้ทดแทนพลาสติกในวงกว้างเพื่อหวังลดปัญหาสิ่งแวดล้อม อาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อธรรมชาติที่ร้ายแรงกว่าเดิม
ที่ผ่านมา "พลาสติก" ถูกมองเป็นตัวร้ายในวิกฤติสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดนัก นั่นทำให้ทางเลือกใหม่อย่าง "เส้นใยชีวภาพ" คือสิ่งที่กำลังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและควาามยั่งยืนกันมากขึ้น
ในขณะที่ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยชีวภาพ เริ่มถูกผลิตเป็นสินค้าและจัดจำหน่ายสู่ท้องตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ แต่แทบจะไม่มีการวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อธรรมชาติและระบบนิเวศเลย
งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยพลีมัและมหาวิทยาลัยบาธของอังกฤษ พบว่า เส้นใยชีวภาพเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สำคัญที่สุดในโลก และกลายเป็นภัยคุกคามต่อธรรมชาติที่เลวร้ายยิ่งกว่าพลาสติก
นักวิจัยเริ่มจากการทดสอบผลกระทบของเส้นใยโพลีเอสเตอร์ทั่วไป และเส้นใยชีวภาพ 2 ชนิด ได้แก่ วิสโคสและไลโอเซลล์ ที่จะส่งผลต่อ 'ไส้เดือน' หนึ่งในสายพันธุ์สัตว์ที่มีความสำคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินทั่วโลก
พวกเขาพบว่า มีไส้เดือนร้อยละ 30 ตัว ที่จะตายภายใน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัสกับเส้นใยโพลีเอสเตอร์ แต่มีไส้เดือนมากกว่าร้อยละ 60 ตัว ที่จะตายหลังสัมผัสกับเส้นใยชีวภาพ และพวกที่รอดชีวิตก็ยังมีโอกาสในการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับไส้เดือนที่สัมผัสเส้นใยโพลีเอสเตอร์ด้วย
นักวิจัยกล่าวว่าการศึกษาครั้งนี้ เน้นย้ำให้เห็นถึงคววามซับซ้อนของธรรมชาติ และความพยายามของทั่วโลกในการลดภัยคุกคามจากมลพิษไมโครพลาสติก แต่สิ่งสำคัญคือการทดสอบวัสดุชนิดใหม่ให้ละเอียดรอบคอบก่อนที่จะปล่อยออกสู่ตลาดจริงๆ
ขณะที่ในปี 2022 มีการผลิตเส้นใยชีวภาพที่ย่อยสลายได้มากกว่า 320,000 ตัน และข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่าเส้นใยดังกล่าวจะยังตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม พวกเขายังขาดหลักฐานที่จะแสดงให้เห็นว่าเส้นใยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในวงกว้างอย่างไรบ้าง
#เทรนวันนี้ #วันมอร์ลิงค์ #onemorelink #บริการรับกำจัดกากอุตสาหกรรม #กากอุตสาหกรรม
#สิ่งแวดล้อม #ข่าววันนี้ #ความรู้ทั่วไป #CEORAPATSORN #ประเทศไทย #เทรนด์โลก
โฆษณา