Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมืองไทยไดอารี่ by Supawan
•
ติดตาม
12 พ.ย. เวลา 03:06 • ท่องเที่ยว
ปลาหลีฮื้อข้ามประตูมังกร ถึงวิกฤติปลาหมอคางดำ .. BABY 2024 ในพระที่นั่งศิวโมกพิมาน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เข้าร่วมเป็น 1 ใน 11 สถานที่จัดแสดงของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 หรือ BAB 2024 ภายใต้แนวคิด “รักษา กายา” (Nurture Gaia) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2567 – 25 กุมภาพันธ์ 2568
นิทรรศการนี้ เพื่อสะท้อนความคิดเรื่องธรรมชาติ ผู้หญิง นิเวศวิทยา การเมือง และอำนาจเหนือธรรมชาติ ภายใน พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน .. ศิลปะร่วมสมัยทั้งในรูปแบบศิลปะจัดวาง ประติมากรรม สื่อผสม จิตรกรรม วิดีโออาร์ต จาก 8 ศิลปินร่วมกับโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 89 ชิ้นจากคลังกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงได้รับการจัดแสดงที่นี่
ประติมากรรมและภาพวาดของศิลปินระดับตำนานหลายท่านถูกจัดแสดง .. ตาบทความนี้จะกล่าวถึงผลงานที่ถูกจัดแสดงเป็นบางส่วนเท่านั้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร .. เดิมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า ที่ประทับของพระมหาอุปราชตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ด้านหลังพระทวารคู่กลางของพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ปรากฏจิตรกรรมปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูมังกร ..
บางส่วนของด้านในบานประตูกลาง ของพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เขียนรูป “ปลาหลีกระโดดข้ามประตูมังกร” ตัวหนังสือบนซุ้มมประตูจีน (ในวงรีสีแดง) เขียนอักษรจีนตัวเต็มว่า 門禹 -ประตูอวี่ แทน 門龍 -ประตูมังกร (ภาพจาก เพจพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติRef
:
https://www.silpa-mag.com/culture/article_141040
ตำนานปลาหลีฮื้อกระโดดผ่านประตูมังกร
ปลาหลีฮื้อ 鲤鱼 (เป็นการออกสำเนียงในภาษาแต้จิ๋ว) หรือ หลี่อวิ๋ อยู่ในตระกูลปลาคราฟที่พวกเรารู้จักกันดี
สำนวนปลาหลีฮื้อกระโดดผ่านประตูมังกร 鲤鱼跳龙门 (หลี่อวิ๋เที่ยวหลงเหมิน) เป็นคำกล่าวของที่ชาวจีนรู้จักกันดี ตำนานเรื่องนี้ เล่าขานกันมาว่า ...
นานมาแล้ว ปลาหลีฮื้ออยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำหวงเหอ (เหลือง) ได้ยินมาว่า ทัศนียภาพของประตูมังกรนั้นงดงามนัก ด้วยความใคร่อยากรู้ จึงพากันว่ายทวนน้ำจากเมิ่งจิน 孟津 ผ่านแม่น้ำลั่วเหอ และ อีเหอ จนมาถึงประตูมังกร (禹门口) ซึ่งสูงชันมาก ไม่อาจว่ายข้ามไปได้ ปลาหลีฮื้อส่วนใหญ่ก็ว่ายออกันอยู่บริเวณหน้าประตูมังกร ครุ่นคิดไม่ออกว่า จะข้ามประตูมังกรนี้ไปได้อย่างไร กระทั่งมีปลาหลีฮื้อสีแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่ง กล่าวกับพรรคพวกด้วยความมุ่งมั่นว่า
“เราต้องมุ่งมั่นฟันฝ่าไปได้สิ อย่าได้ท้อถอย
ข้าจะเริ่มกระโดดก่อน คอยดูนะ”
ในขณะที่ปลาหลีฮื้อตัวอื่นไม่กล้า ปลาหลีฮื้อสีแดงตัวนี้ ก็กระโดดผ่านประตูมังกรอันสูงชันขึ้นไปได้
ในเวลาที่ปลาทั้งหลายรู้สึกหมดหวัง จะพากันว่ายน้ำกลับเมิ่งจินถิ่นฐานเดิม ก็มีเสียงดังกังวานลงมาจากประตูมังกรว่า
“พวกเราไม่ต้องกลัว ข้าคือปลาหลีฮื้อสีแดง ข้าสามารถกระโดดข้ามประตูมังกรได้ บัดนี้ ข้าได้กลายเป็นมังกรแล้ว พวกเราจงอย่าได้ละความพยายาม ผู้ใดที่กล้าฟันผ่าจะสามารถเป็นมังกรแบบข้าได้”
บรรดาปลาหลีฮื้อ เมื่อได้ยินอย่างนั้น ก็บังเกิดความฮึกเหิม พากันกระโดดหมายข้ามประตูมังกรอันสูงชัน หลายตัวกระโดดไม่พ้น หล่นลงมาหัวกระแทกหินจนเป็นแผล จนเป็นสาเหตุให้ปลาหลีฮื้อบางตัวมีปานดำที่หัว มาจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้น ชาวจีนจึงนับถือปลาหลีฮื้อเป็นสัตว์มงคล เป็นสัญลักษณ์ของความเพียรพยายาม ที่สามารถว่ายทวนน้ำ กระโดดผ่านประตูมังกร ก็จะกลายเป็นมังกรทะยานขึ้นฟากฟ้า เป็นคติสอนใจบุตรหลานว่า หากมีความเพียรพยายามแล้ว ไม่ว่าอะไร ก็สามารถเป็นไปได้
นอกจากนี้ คนจีนยังนิยมให้ปลาหลีฮื้อ (เป็นรูปภาพวาด หรือ รูปแกะสลัก) แทนคำอวยพร ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต มีเหลือกินเหลือใช้ไม่ขาดมือ รวมทั้ง ยังนำมาแกะสลักบนผนัง ประดับกระเบื้องเคลือบ ติดบนหลังคา หรือ วาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ และยังมีคติความเชื่อเพื่อป้องกันอัคคีภัยสถานที่ได้อีกด้วย
Credit : เทพเจ้าจีน’S Post (FB)
ภายในตู้กระจกขนาดใหญ่จัดแสดงประติมากรรมรูปปลา 2 ตัวอยู่คนละฝั่งแต่หันหน้าเข้าหากัน
จัดร่วมกับศิลปวัตถุต่างๆ เช่น ประติมากรรมดินเผารูปปลา ตุ๊กตาเสียกบาล ประติมากรรมรูปพระแม่โพสพและแม่ซื้อ
ส่วนด้านหลังเป็นภาพจำลองของจิตรกรรมฝาผนังเทพชุมนุมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
คือการจัดแสดงชุด “สีทันดรสันดาป” โดย นักรบ มูลมานัส
ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงาน .. คุณนักรบ กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการนำเกร็ดประวัติศาสตร์และศิลปวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาตีความเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยเอาว้าว่า ..
“ภาพวาดปลาหลีฮื้อที่มีความมุ่งมั่นจะกระโดดข้ามประตูมังกรเพื่อทะยานเป็นมังกร ทำให้คิดในอีกมุมที่เราไม่ค่อยคิดคือปลาหลีฮื้อที่ไม่สามารถกระโดดข้ามได้แล้วไม่ได้ไปต่อจะเป็นอย่างไร ตำแหน่งวังหน้า (ในสมัยรัตนโกสินทร์) มี 6 พระองค์แต่มีวังหน้าเพียงพระองค์เดียวที่มีฐานะเทียบเท่ากษัตริย์”
จิตรกรรมปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูมังกร .. เป็นงานศิลปะชิ้นสำคัญที่เขียนด้วยเทคนิคลายกำมะลอคือใช้ทั้งทองคำและสีในการวาดและคาดว่าเขียนโดยช่างจีนในไทย ซึ่งสร้างในสมัย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าในรัชกาลที่ 3)
.. โดยเป็นภาพปลาหลีฮื้อ หรือ ปลาไน ที่กำลังว่ายทวนกระแสน้ำในแม่น้ำฮวงโห จนไปถึงประตูมังกรและพยายามกระโดดข้ามประตู ถ้าข้ามพ้นประตูสำเร็จจะทำให้ปลาหลีฮื้อกลายเป็น ปลามังกร และเมื่อว่ายสูงขึ้นไปก็กลายเป็นมังกรน้อย จากนั้นทะยานเป็นมังกรห้าเล็บซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ์
สำหรับตำแหน่งวังหน้าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีทั้งสิ้น 6 พระองค์ .. แต่วังหน้าที่ได้รับการสถาปนาให้มีพระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินและเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คือ “พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” พระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยถือเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 2 หรือ The Second King ในรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี
คุณนักรบ กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ต่อไปว่า ..
“ผมได้อ่านเรื่อง ‘พระราชวิจารณ์’ ของรัชกาลที่ 5 ที่พระองค์ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับพระนิพนธ์เรื่อง ‘นิพานวังน่า’ (หรือ นิพพานวังหน้า) ของพระองค์เจ้ากำพุชฉัตร พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ที่บรรยายความโศกเศร้าเมื่อพระราชบิดาได้จากไปแล้วและมีกล่าวถึงว่าแม้แต่ปลาในวังหน้าก็ยังเสียใจ โดย ร.5 ได้ระบุว่าในวังหน้านั้นมีสระและปลาเยอะมาก”
นักรบจึงได้นำ “ปลา” ที่ปรากฎในพระนิพนธ์เกี่ยวกับวังหน้าและในจิตรกรรมชิ้นสำคัญของพื้นที่ประวัติศาสตร์มาเชื่อมโยงกับเรื่องราวไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกในไตรภูมิพระร่วง และลิลิตนารายณ์สิบปางซึ่งหนึ่งในนั้นคือปาง มัตสยาวตาร ที่พระนารายณ์ทรงอวตารเป็นปลาเพื่อกอบกู้โลกจากน้ำท่วม
.. รวมถึงวิกฤตปลาหมอคางคำที่ทำลายระบบนิเวศธรรมชาติในปัจจุบัน มาร้อยเรียงในอีกหนึ่งตู้กระจกขนาดใหญ่โดยภายในตู้จัดแสดงประติมากรรมปลา 2 ตัวที่ติดกลไกให้เหงือกขยับได้แบบรวยริน
ประกอบกับวิดีโอฉายภาพของ เชฟป้อม- ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล ขณะเตรียมปลาหมอคางคำ 7 ตัวจนกระทั่งทอดในกระทะน้ำมันจนเสร็จ
“ผมนึกถึงในไตรภูมิพระร่วงที่กล่าวถึงปลาใหญ่ยักษ์ 7 ตัว ในช่วงที่คนเริ่มเสื่อมศีลธรรมจนเกิดเหตุการณ์ประหลาดคือมีพระอาทิตย์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็น 7 ดวง ทำให้แม้กระทั่งน้ำในมหานทีสีทันดรก็ยังแห้งขอด
.. และปลายักษ์ทั้ง 7 ก็ตายไปด้วยทำให้น้ำมันในตัวปลาไหลออกมาท่วมโลกจนเกิดไฟบรรลัยกัลป์ทำให้โลกแตก และเชื่อมโยงไปถึงลิลิตนารายณ์สิบปางที่ในปางหนึ่งพระนารายณ์อวตารเป็นปลาเพื่อกำจัดภัยพิบัติและก่อให้เกิดโลกใหม่” นักรบกล่าว
Ref :
https://www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/bab-2024-national-museum/
บันทึก
2
1
1
2
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย