12 พ.ย. เวลา 08:46 • ธุรกิจ

All in on AI ชนะเกมธุรกิจ พิชิตด้วยเอไอ คนเก่งกับเอไอที่ฉลาด จะสร้างองค์กรแบบ AI-Driven ได้อย่างไร?

บทบรรณาธิการ: ณัฐกร เวียงอินทร์
📚 “All in on AI ชนะเกมธุรกิจ พิชิตด้วยเอไอ” เขียนโดย Thomas H. Davenport และ Nitin Mittal หนังสือเล่มนี้ เป็นมุมมองของการประสานกันระหว่าง ‘คนเก่ง‘ กับ ‘AI ที่ฉลาด’ จะสร้างองค์กรในรูปแบบ AI-Driven ได้อย่างไร?
“เป็นหนังสือที่ต้องรีบอ่านให้เร็วที่สุด” ในมุมที่ว่า แม้ว่าเราจะเอาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็น fundamental ของหนังสือมาใช้ได้ในรูปแบบ canvas แต่กรณีศึกษาในโลกจริงมันเปลี่ยนเร็วมากๆ ขนาดที่ว่า เพิ่งออกมาตอนต้นปี 2023 แต่หลังจาก Chat GPT และผองเพื่อน AI เข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น เลยทำให้องค์กรต่างๆ ตัดสินใจที่จะเดิมพันกับการเปลี่ยนผ่านองค์กรให้กลายเป็น AI-Driven Organization มากขึ้นเรื่อยๆ
ที่แนะนำว่าให้รีบอ่าน เพื่อจะได้เอาโครงสร้างของหนังสือมาเป็นกรอบการมองปรากฏการณ์ AI ในระดับการปรับใช้ในองค์กรที่วิ่งเร็วมากๆ
เล่มนี้เหมาะกับคนทำงานบริหารระดับ decision maker เพราะมันคือการนำเอา AI มาใช้กับองค์กรเต็มรูปแบบ ผ่านกรณีศึกษาองค์กรที่ใช้ที่ผลักดันการใช้ AI โดยองค์กรดังๆ ที่หยิบมาเป็นกรณีศึกษาในเล่ม เช่น Walmart Airbus Amezon Deloitte และ Disney
ส่วนตัวคิดว่า หัวใจหลักของหนังสือเล่มนี้ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับใช้ในระดับองค์กรว่าพร้อมจะเดิมพันกับอนาคตด้วย AI มีอยู่ 3 เรื่องใหญ่ด้วย นั่นคือ
✅ [ 1. เส้นทางสู่ “การขับเคลื่อนด้วย AI เต็มรูปแบบ” ]
เราสามารถประเมินความสามารถด้าน AI ด้วย Capability Maturity Model (CMM) คือโมเดลที่ใช้วัดระดับความสามารถขององค์กรในการใช้ AI โดยพิจารณาจาก
• การใช้งาน AI ในองค์กร
• ความหลากหลายของเทคโนโลยี AI ที่ใช้
• การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
• ความเชื่อมโยงระหว่าง AI กับการพัฒนากลยุทธ์ขององค์กร
แล้วจะรู้ว่าระดับความสามารถด้าน AI ขององค์กร (AI Maturity Levels) เราอยู่ในระดับไหน ตั้งแต่
✍️ 1. AI Fueled (ระดับ 5): คือใช้ AI อย่างเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพสูงสุด (ในหนังสือ ช่วงเวลาที่ตีพิมพ์ ยังไม่ค่อยมีองค์กรไหนมาถึงระดับนี้)
✍️ 2. Transformers (ระดับ 4): ใช้ AI อย่างจริงจังแต่ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ
✍️ 3. Pathseekers (ระดับ 3): เริ่มใช้ AI และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
✍️ 4. Starters (ระดับ 2): เพิ่งเริ่มทดลองใช้ AI
✍️ 5. Underachievers (ระดับ 1): ใช้ AI อย่างจำกัดและไม่มีประสิทธิภาพ
✍️ 6. ระดับ 0: ยังไม่มีการใช้ AI ในองค์กร
CMM และระดับความสามารถนี้ช่วยให้องค์กรเห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับการพัฒนา AI และสามารถวางแผนการปรับตัวได้อย่างมีทิศทาง
✅ [ 2. ต้นแบบเชิงกลยุทธ์ AI ที่สำคัญ (Strategy Archetype) ]
ในบริบทของการใช้งาน AI ในองค์กร สามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวทางเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่
✍️ 1. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่
• มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจหรือตลาดใหม่ รวมถึงโมเดลธุรกิจหรือระบบนิเวศใหม่ ๆ
• เป้าหมายเพื่อให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น
• ตัวอย่างเช่น: Loblaw (ด้านธุรกิจและตลาดใหม่), Toyota และ Morgan Stanley (ด้านผลิตภัณฑ์และบริการใหม่)
✍️ 2. การเปลี่ยนการดำเนินงาน
• เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร เพื่อให้กระบวนการมีความคล่องตัวและแม่นยำมากขึ้น
• ใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำ
• ตัวอย่างเช่น: Kroger Co. (ด้านการเปลี่ยนการดำเนินงาน)
✍️ 3. การเปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้า
• ใช้ AI เพื่อเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า โดยการวิเคราะห์และคาดการณ์พฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้น
• ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดและบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น
• ตัวอย่างเช่น: บริษัทในกลุ่มประกันและการเงิน เช่น FICO, Manulife, Progressive Insurance, Well
✅ [ 3. BECOMING AI FUELED: ก้าวสู่องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI ]
นี่คือ 4 แนวทางสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการขับเคลื่อนด้วย AI:
✍️ 1. เปลี่ยนจากเน้น “คน” สู่เน้น “คน และ AI”
ตัวอย่าง: Deloitte – นำ AI มาเสริมการทำงานของบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้าและการดำเนินงาน
✍️ 2. เปลี่ยนจากเน้น “ข้อมูล” สู่เน้น “AI”
ตัวอย่าง: CCC Intelligent Solutions – ใช้ AI ช่วยประมวลผลข้อมูลและให้คำแนะนำที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ตัดสินใจได้จากข้อมูลเชิงลึก
✍️ 3. พัฒนาจากเน้น “การวิเคราะห์” สู่เน้น “AI”
ตัวอย่าง: Capital One – ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อปรับกลยุทธ์และตอบโจทย์ลูกค้าแบบเฉพาะบุคคล
✍️ 4. สร้างความสามารถด้าน AI จากศูนย์
ตัวอย่าง: Well – เริ่มจากการพัฒนาความสามารถด้าน AI ในการดูแลสุขภาพเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการ
#FutureTrends #FutureTrendsetter
โฆษณา