13 พ.ย. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม

"เศวตรศรีแม่สอด" ดอกไม้หายากแห่งขุนเขาหินปูน ค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ไทย-เดนมาร์ก

เศวตรศรีแม่สอด 𝑃𝑎𝑟𝑎𝑏𝑜𝑒𝑎 𝑖𝑛𝑐𝑢𝑑𝑖𝑐𝑎𝑟𝑝𝑎 B. L. Burtt (Gesneriaceae) พรรณไม้หายากจากเขาหินปูนแม่สอด ช่อดอกแน่น สีขาวถึงสีชมพูอมแดงทั้งช่อ ด้วยลักษณะที่เด่น การตีพิมพ์ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1984 Brian Laurence Burtt ผู้ซึ่งรับผิดชอบการศึกษาพืชวงศ์ชาฤๅษีของไทยในขณะนั้น ได้บรรยายจากตัวอย่างที่มีเฉพาะผลเท่านั้น
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ขึ้นตามเขาหินปูน ลำต้นสูงได้ถึง 25 ซม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามชิดกัน ใบขนาดใหญ่ รูปไข่กลับ ก้านใบมีครีบตามยาว ช่อดอกออกที่ปลายยอด เป็นช่อแน่นมองในภาพรวมเป็นสีขาว ใบประดับสีขาวอมม่วงจาง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวบริสุทธิ์ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย (endemic)
ตัวอย่างต้นแบบ Smitinand & Seidenfaden 11629 เก็บเมื่อปี ค.ศ. 1972 โดย ศ. ดร.เต็ม สมิตินันทน์ แห่งหอพรรณไม้ และ ดร.กุนนาร์ ไซเดนฟาเดน อดีตเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยท่านได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2506 ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ เดนมาร์ก (https://cca.chula.ac.th/protocol/images/book/pdf/book-pranam-nam.pdf)
ที่มา : ทีมสำรวจพรรณไม้อุ้มผาง
เอกสารอ้างอิง:
Xu, Z., Burtt, B. L., Skog, L. E. & Middleton, D. J. 2008. A Revision of 𝘗𝘢𝘳𝘢𝘣𝘰𝘦𝘢 (Gesneriaceae). Edinburgh Journal of Botany 65(2): 161–347.
#เศวตรศรีแม่สอด #พืชถิ่นเดียวของไทย #กรมอุทยานแห่งชาติ #หอพรรณไม้ #สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
โฆษณา