13 พ.ย. 2024 เวลา 01:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ขั้นตอนการออกแบบระบบปรับอากาศ

การออกแบบระบบปรับอากาศ (𝗛𝗩𝗔𝗖-𝗛𝗲𝗮𝘁𝗶𝗻𝗴, 𝗩𝗲𝗻𝘁𝗶𝗹𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗮𝗻𝗱 𝗔𝗶𝗿 𝗖𝗼𝗻𝗱𝗶𝘁𝗶𝗼𝗻𝗶𝗻𝗴) เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และมีขั้นตอนหลายขั้นตอนเพื่อให้มั่นใจว่าระบบจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยทั่วไปแล้ว ขั้นตอนการออกแบบระบบปรับอากาศมีดังนี้
1.วิเคราะห์ความต้องการ
- ประเมินพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งระบบปรับอากาศ รวมถึงลักษณะของการใช้งาน เช่น ที่อยู่อาศัย อาคารเชิงพาณิชย์ โรงงาน
- ตรวจสอบขนาดพื้นที่ กิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่ ความร้อนจากอุปกรณ์ และแหล่งความร้อนอื่นๆ
- วิเคราะห์งบประมาณในการลงทุน และงบประมาณในการดำเนินการอาคาร (Operating cost)
2. คำนวนโหลดความร้อน (Heat Load Calculation)
- คำนวนปริมาณความร้อนที่ต้องถูกกำจัดออกจากพื้นที่เพื่อรักษาอุณหภูมิที่ต้องการ
- พิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น การรับแสงแดด ความร้อนที่เกิดจากคน อุปกรณ์ไฟฟ้า การระบายความร้อนจากเครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง
3. การเลือกอุปกรณ์
- เลือกประเภทของระบบปรับอากาศ เช่น ระบบแยกส่วน ระบบรวมศูนย์ ระบบน้ำหล่อเย็น ฯลฯ
- เลือกขนาดและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เช่น คอมเพรสเซอร์ คอยล์เย็น พัดลม
การเลือกชนิดของการออกแบบระบบปรับอากาศที่เหมาะสม ในขั้นตอนของ Schematic design เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญมาก ที่ต้องนำข้อมูลจาก 2 ขั้นตอนแรกเพื่อนำมาประเมิน โดยมีปัจจัยอย่าง ประสิทธิภาพ/ความสามารถ ค่าใช้จ่าย เสียง ความสั่นสะเทือน ความเข้ากันได้ของระบบโครงสร้างอาคาร รวมถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมีความซับซ้อนอย่างมาก จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เพื่อการออกแบบระบบปรับอากาศที่ดีที่สุด
4. การออกแบบระบบท่อและการระบายอากาศ
- ออกแบบการวางท่อและช่องระบายอากาศ เพื่อการกระจายความเย็นหรือความร้อนอย่างทั่วถึง เช่นการกำหนดปริมมาณลมจ่ายในพื้นที่ต่างๆ, การกำหนดขนาดและตำแหน่งหัวจ่ายลมเย็น, แนวท่อลมและขนาดท่อลม เป็นต้น
- คำนวนการไหลของอากาศและความดันในท่อเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การระบบอากาศมีผลต่อความสบายของผู้อยู่อาศัยโดยตรง ถ้ามีปริมาณการระบายอากาศสูง ผู้อยู่อาศัยจะมีความสบายมากขึ้น แต่อัตราการระบายอากาศต่ำ ทำให้ภาระการทำความเย็นลดลง ใช้หลังงานน้อยลง วิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่าง 2 ข้อนี้ไว้ในการกำหนดอัตราการระบายอากาศที่เหมาะสมในการใช้งาน
โดยมาตรฐาน 𝗔𝗦𝗛𝗥𝗔𝗘𝟭𝟵𝟴𝟵 𝗔𝗡𝗦𝗜/𝗔𝗦𝗛𝗥𝗔𝗘 𝗦𝘁𝗮𝗻𝗱𝗮𝗿𝗱 𝟲𝟮-𝟭𝟵𝟴 ได้กำหนดมาตรฐานอัตราการระบายอากาศที่นิยมใช้ในการออกแบบ เช่น ห้องพักในโรงแรม,ห้องผ่าตัด อยู่ที่ 30 ลูกบาศ์กฟุต/คน, ร้านอาหาร 20 ลูกบาศ์กฟุต/คน เป็นต้น
5. การออกแบบระบบควบคุม
- ออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่
- เลือกระบบควบคุมพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น เทอร์โมสแตท ตัวควบคุมอัตโนมัติ หรือ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ที่สามารถปรับเปลี่ยน และดูการแจ้งเตือนความผิดปกติได้ตลอดเวลาผ่านระบบ IoT
6. ตรวจสอบและทดสอบ
- ตรวจสอบและทดสอบระบบหลังจากการติดตั้งเพื่อให้ระบบทำงานได้ตามที่ออกแบบ
- แก้ไขปัญหาที่พบระหว่างการทดสอบ และปรับปรุงระบบตามความต้องการก่อนใช้งานจริง
7. การบำรุงรักษา
- กำหนดแผนการบำรุงรักษาและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
ที่กล่าวมาเป็นกระบวนการออกแบบโดยรวมและเพียงแค่พื้นฐานเท่านั้น แต่ละขั้นตอนโดยเฉพาะการออกแบบจำเป็นต้องมีการประสานงานร่วมกันกับ สถาปนิก, วิศวกรโครงสร้าง, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เช่นการคำนวนภาระการทำความเย็น
นอกจากต้องมีข้อมูลด้านภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียก, ความร้อนจากดวงอาทิยต์ แล้วนั้น ยังต้องทำงานร่วมกับสถาปนิกเพื่อรับทราบข้อมูลแบบสถาปัตยกรรม อย่างวัสดุผนังและหลังคา, รูปด้านของอาคาร, แบบผังพื้น อีกด้วย
การออกแบบระบบปรับอากาศทีดีต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งาน อาคาร ประสิทธิภาพของระบบ และความสามารถในการประหยัดพลังงาน และที่สำคัญผู้ออกแบบควรติดตามตรวจสอบการใช้งานหลังจากใช้งานจริงระยะหนึ่ง ว่าระบบปรับอากาศที่ออกแบบไว้ สามารถทำงานได้ตามความต้องการหรือไม่ และมีการใช้พลังงานตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนำไปปรับปรุง คาดการ์ณ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดีครับ
𝗔𝗖𝗧 𝗔𝗱𝘃𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗖𝗼𝗼𝗹 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 ผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบ ติดตั้งและซ่อมบำรุง เครื่องชิลเลอร์ (Chiller), ระบบปรับอากาศในอาคาร (Air Conditioner) Cooling Tower, และระบบหล่อเย็นด้วยน้ำแบบครบวงจร รวมถึงการออกแบบระบบประหยัดพลังงาน ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ทุกอุตสาหกรรม ทั้งในและต่างประเทศ
ติดต่อเรา :
Line id : @advancecool หรือคลิก https://lin.ee/Uv6td2a
#ออกแบบระบบปรับอากาศ #ติดตั้งระบบปรับอากาศ #Chiller #ชิลเลอร์ #เปลี่ยนชิลเลอร์ #ระบบหล่อเย็น #ACT
โฆษณา